ยิ่ง : ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
ภิยโยภาพ : น. ภิญโญภาพ, ความยิ่ง, ความยิ่งขึ้นไป.
ครัน : [คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปในทํานองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
ภิญโญภาพ : น. ความยิ่ง, ความยิ่งขึ้นไป.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ความยิ่ง, more results...
มหากรุณา : ความกรุณายิ่งใหญ่, กรุณามาก
มหาสุบิน : ความฝันอันยิ่งใหญ่, ความฝันครั้งสำคัญ หมายถึงความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน) ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่าทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖) ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฎก
มุทิตา : ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี, เห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข ก็แช่มชื่นเบิกบานใจด้วย เห็นเขาประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ก็พลอยยินดีบันเทิงใจ พร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุน ไม่กีดกันริษยา; ธรรมตรงข้ามคือ อิสสา (ข้อ ๓ ในพรหมวิหาร ๔)
ศีล : ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่สะอาดปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา
อภิญญา : ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง, ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ ๑) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ ๒) ทิพพโสต หูทิพย์ ๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ๔) ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ ๕) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ ๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป, ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา
Budhism Thai-Thai Dict : ความยิ่ง, more results...
ยส : (ปุ.) ชื่อเสียง, ความยิ่ง, ความเด่น, ความยกย่อง, ความยกย่องนับถือ, เกียรติ, ยศ. วิ. ยชติ เอเตนาติ ยโส. ยชฺ เทวปูชายํ, อ, ชสฺสโส. สพฺพตฺถ ยาตีติ วา ยโส. ยา คมเน, โส, รสฺโส.
อติเรกลาภคฺคยสคฺคปฺปตฺต : (วิ.) ผู้ถึงแล้ว ซึ่งความเป็นแห่งบุคคลผู้มีลาภอันเลิศและความเป็นแห่งบุคคลผู้มียศอันเลิศยิ่ง(แปล อดิเรกว่า ยิ่ง) มี วิ.ตามลำดับดังนี้.ฉ ตุล. ลาโภ อคฺโค ยสฺสโสลาภคฺโค(ชโนฉ ตัป. ลาภคฺคสฺส ภาโว ลาภคฺคภาโว.ฉ ตุล. ยโส อคฺโค ยสฺส โส ยสคฺโค(ชโน)ฉ ตัป. ยสคฺคสฺส ภาโว ยสคฺคภาโว อ. ทวัน ลาภคฺคภาโว จยสคฺคภาโวจลาภคฺคยสคฺคา.อุป.อัพ. เอกสฺมาอุตฺตรํอติเรกํ.วิเสสนบุพ.กัม. อติเรกา จ เต ลาภคฺคยสฺสคฺคา จาติ อติเรกลาภคฺคยสคฺคา.ทุ. ตัป.อติเรกลาภคฺคยสคฺเคปตฺโตอติเรกลาภคฺคยสคฺคปฺปตฺโต(ชโน).ถ้าจะถือว่า พหุพ. เป็นสมาสคุณไม่ยอมเปลี่ยนก็ต้องวิ.วิเสสนบุพ.กัมอีกสองสมาส หลัง ฉงตุล.ทั้งสองว่าลาภคฺโคปุคฺคโล (ชโน ก็ได้) ลาภคฺคปุคฺคโลฉ.ตัป. ก็เป็น ลาภคฺคปุคฺคลสฺ ภาโว ลาภคฺคภาโว.ศัพท์ ยสคฺค ก็นัยเดียวกัน. หรือจะแปลว่า ผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นแห่งบุคคลผู้เลิศด้วยลาภและความเป็นแห่งบุคคลผู้ยิ่งด้วยยศยิ่งกว่าหนึ่ง ก็ได้ตั้ง วิ. ตามแปล.
ปรมตฺถ : (ปุ.) ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างยิ่ง, ความอย่างยิ่ง, ฯลฯ, อรรถอย่าง ยิ่ง, ปรมัตถ์ คือพระอภิธรรม.
อุตฺตริ : (วิ.) ยิ่ง, ยอดเยี่ยม, ชั้นเยี่ยม, แปลก, มากขึ้น, อุตริ. คำ อุตริ ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยออกเสียงว่า อุดตะหริ ใช้ใน ความหมายว่า แปลกออกไป นอกแบบ นอกทาง.
กามคฺค : นป. ความกำหนัดยิ่ง, ความยินดียิ่ง
ETipitaka Pali-Thai Dict : ความยิ่ง, more results...