โกรธ : [โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า ''ทรงพระโกรธ'' ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธ ดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).
ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
โทส-, โทสะ, โทโส : น. ความโกรธ, ความฉุนเฉียว. (ป.; ส. โทษ).
ทศพล : น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. ทศพิธราชธรรม น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรมประจําพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน - การให้ ๒. ศีล - การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ - ความซื่อตรง ๕. มัททวะ - ความอ่อนโยน ๖. ตบะ - การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ - ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ - ความ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ความโกรธ, more results...
โกธะ : ความโกรธ, เคือง, ขุ่นเคือง
เจตสิก : ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๒ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕
มละ : มลทิน, เครื่องทำให้มัวหมอง เปรอะเปื้อน, กิเลสดุจสนิมใจ มี ๙ อย่าง คือ ๑.โกธะ ความโกรธ ๒.มักขะ ความลบหลู่คุณท่าน ๓.อิสสา ความริษยา ๔.มัจฉริยะ ความตระหนี่ ๕.มายา มารยา ๖.สาเถยยะ ความโอ้อวดหลอกเขา ๗.มุสาวาท การพูดเท็จ ๘.ปาปิจฉา ความปรารถนาลามก ๙.มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด
โมโห : โกรธ, ขุ่นเคือง; ตามรูปศัพท์เป็นคำภาษาบาลี ควรแปลว่า ความหลง แต่ที่ใช้กันมาในภาษาไทย ความหมายเพี้ยนไปเป็นอย่างข้างต้น
โอวาท : คำกล่าวสอน, คำแนะนำ, คำตักเตือน; โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓ คือ ๑) เว้นจากทุจริต คือประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ (= ไม่ทำความชั่วทั้งปวง) ๒) ประกอบกายสุจริต คือประพฤติชอบด้วยกายวาจาใจ (= ทำแต่ความดี) ๓) ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น (= ทำจิตของตนให้สะอาดบริสุทธิ์) โอวาท ๓ นี้ รวมอยู่ใน โอวาทปาฏิโมกข์
Budhism Thai-Thai Dict : ความโกรธ, more results...
โกธ : (ปุ.) ความกำเริบ, ความเคือง, ความโกรธ, ความโกรธขึ้ง, ความขึ้งเคียด, ความดุร้าย, ความโหดเหี้ยม, ความจำนงภัย. วิ. กุชฺฌนํ โกโธ. คนผู้โกรธ, คนโกรธ. กุชฺฌตีติ โกโธ. กุธฺ โกเป, โณ.
ปฏิฆ : ป., นป. ปฏิฆะ, ความขัดเคือง, ความขึ้งเคียด, ความขัดใจ, ความกระทบใจ, ความโกรธ
นาฏยรส : ป. รสแห่งนาฏยะมี ๙ อย่างคือ
(๑) สิงฺคาร ความรัก
(๒) กรุณา ความเอ็นดู
(๓) วีร ความพากเพียรอาจหาญ
(๔) อพฺภูต ความอัศจรรย์
(๕) หสฺส ความร่าเริง
(๖) ภย ความกลัว
(๗) สนฺต ความสงบ
(๘) สิภจฺฉ ความเห็นแจ้ง
(๙) รุทฺธ ความโกรธ
โรสนา : อิต. ความโกรธ
กุชฺฌน : (นปุ.) ความโกรธ. กุธฺธาตุ ย ปัจ. ประจำหมวดธาตุ ย ปัจ. นามกิตก์ แปลง ธฺย เป็น ชฺฌ ยุ เป็น อน.
ETipitaka Pali-Thai Dict : ความโกรธ, more results...