จันทรคติ : การนับวันโดยถือเอาการเดินของพระจันทร์เป็นหลัก เช่น ๑ ค่ำ ๒ ค่ำ และเดือนอ้าย เดือนยี่ เดือน ๓ เป็นต้น คู่กับ สุริยคติ
กัตติกา : 1.ดาวลูกไก่ 2.เดือน ๑๒ ตามจันทรคติ ตกในราวปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน
ดิถี : วันตามจันทรคติ ใช้ว่า ค่ำหนึ่ง ๒ ค่ำ เป็นต้น
เดือน : ดวงจันทร์, ส่วนของปี คือปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนบ้าง ๑๓ เดือนบ้าง (อย่างจันทรคติ); การที่นับเวลาเป็นเดือนและเรียกเวลาที่นับนั้นว่าเดือนก็เพราะกำหนดเอาข้างขึ้นข้างแรมของเดือน คือดวงจันทร์เป็นหลักมาตั้งแต่ตั้งเดิม ดูชื่อเดือนที่ มาตรา
ปักษ์ : ปีก, ฝ่าย, ข้าง, กึ่งของเดือนทางจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาวหมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (ฝ่ายดำ หมายเอาเดือดมือ); ชุณหปักษ์ และกัณหปักษ์ก็เรียก
อธิกมาส : เดือนที่เพิ่มขึ้นตามจันทรคติ (คือในปีนั้นมีเดือน ๘ สองหน รวมเป็น ๑๓ เดือน)
อธิกวาร : วันที่เพิ่มขึ้นในปีจันทรคติ (คือในปีนั้น เติมให้เดือนเจ็ดเป็นเดือนเต็ม มี ๓๐ วัน)
อมาวสี : ดิถีเป็นที่อยู่ร่วมแห่งพระอาทิตย์และพระจันทร์, วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ คือวันสิ้นเดือนทางจันทรคติ (แรม ๑๕ หรือ ๑๔ ค่ำ)
อาสาฬหะ : เดือน ๘ ทางจันทรคติ
กาฬปกฺข : (ปุ.) ข้างดำ, ฝ่ายดำ, ข้างแรม (ส่วนของเดือนทางจันทรคติ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ ถึงสิ้นเดือน), กาฬปักข์, กาฬปักษ์. กาฬผลก
ติถิ : (ปุ. อิต.) วัน (วันทางจันทรคติ), ดิถี.วิ. ตโนตีติ ติถิ. ตนุ วิตฺถาเร, ถิ, นุโลโป, อสฺสิ ( แปลง อ เป็น อิ). อถวา, ตายตีติ ติถิ. ตา ปาลเน, อิถิ. เป็น ติถี ติตฺถี ก็มี. ส. ติถิ ติถี.
ทุติยติถิ : (ปุ. นปุ.) ดิถีที่สอง,วันที่สอง,ดิถีที่สองหรือวันที่สองทางจันทรคตินั้นได้แก่วันขึ้นสองค่ำหรือวันแรมสองค่ำของเดือน.
นวมี : อิต. ดิถีที่เก้าของเดือนทางจันทรคติ
ปนฺนรสิก : ค. ซึ่งมีในวันที่ ๑๕ (ทางจันทรคติ)
ปุพฺพกตฺติก : (ปุ.) ปุพพกัตติกะ ชื่อเดือนที่ ๑๑ ทางจันทรคติ, เดือน ๑๑. วิ. จึอสฺสยุชมาโส ปุพฺพกตฺติโก, ปุพฺโพ จ โสกตฺติโก เจติ ปุพฺพกตฺติโก
ผคฺคุณ : ป. เดือนผัคคุณ, เดือนที่ ๔ ทางจันทรคติ (ราวเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม)
อธิกวาร : (ปุ.) วันเกิน, วันที่เพิ่มเข้ามา, อธิกวารคือวันที่เพิ่มเข้ามาทางจันทรคติอีก ๑ วันท้ายเดือน ๗ ปีนั้นเดือน ๗ จึงมี๓๐ วัน.
อมาวสี อมาวาสี : (อิต.) ดิถีมีพระอาทิตย์และ พระจันทร์อยู่ร่วมกัน, ดิถีดับ, วันดับคือวัน สิ้นเดือนทางจันทรคติ. วิ. อมา สห วสนฺติ รวิจนฺทา ยสฺสํ สา อมาวสี. อมาปุพฺโพ, วสฺ นิวาเส, ณี. ศัพท์ต้นไม่มีทีฆะ.
อมาวสี, อมาวาสี : อิต. วันสิ้นเดือนทางจันทรคติ, วันเดือนดับ