กุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือก.กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต ๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามข.วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ๕.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ ๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อค.มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘.อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙.อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
มโนกรรม :
การกระทำทางใจ ทางชั่ว เช่น คิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของเขา ทางดี เช่น คิดช่วยเหลือผู้อื่น ดู กุศลกรรมบถ, อกุศลกรรมบถ
มโนทุจริต : ความประพฤติชั่วด้วยใจ, ความทุจริตทางใจมี ๓ อย่าง ๑.อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาของเขา ๒.พยาบาท “ความขัดเคืองคิดร้าย ๓.มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม (ข้อ ๓ ในทุจริต ๓)
เมถุนสังโยค : อาการพัวพันเมถุน, ความประพฤติที่ยังเกี่ยวเนื่องกับเมถุน มี ๗ ข้อ โดยใจความคือ สมณะบางเหล่าไม่เสพเมถุน แต่ยังยินดีในเมถุนสังโยค คือ ชอบการลูบไล้และการนวดของหญิง, ชอบซิกซี้ เล่นหัวสัพยอกกับหญิง, ชอบจ้องดูตากับหญิง, ชอบฟังเสียงหัวเราะขับร้องของหญิง, ชอบนึกถึงการเก่าที่เคยหัวเราะพูดเล่นกับหญิง, เห็นชาวบ้านเขาบำรุงบำเรอกันด้วยกามคุณแล้วปลื้มใจ, หรือแม้แต่ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้งความปรารถนาที่จะเป็นเทพเจ้า
อกุศลกรรมบถ : ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ ก) กรรม ๓ ได้แก่ ๑) ปาณาติบาต การทำลายชีวิต ๒) อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓) กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ข) วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔) มุสาวาท พูดเท็จ ๕) ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗) สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ ค) มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘) อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙) พยาบาท คิดร้ายเขา ๑๐) มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เทียบ กุศลกรรมบถ
อนภิชฌา : ไม่โลภอยากได้ของเขา, ไม่คิดจ้องจะเอาของเขา (ข้อ ๘ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)
อนิมิสเจดีย์ :
สถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จยืนจ้องดูต้นพระศรีมหาโพธิด้วยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน อยู่ทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ดู วิมุตติสุข
อภิชฌา : โลภอยากได้ของเขา, ความคิด เพ่งเล็งจ้องจะเอาของคนอื่น (ข้อ ๘ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)
อภิชฌาวิสมโลภ : ละโมบไม่สม่ำเสมอ, ความโลภอย่างแรงกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรไม่ควร (ข้อ ๑ ในอุปกิเลส ๑๖)
อุปกิเลส : โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก มี ๑๖ อย่าง คือ ๑) อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร ๒) โทสะ คิดประทุษร้าย ๓) โกธะ โกรธ ๔) อุปนาหะ ผูกโกรธไว้ ๕) มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ๖) ปลาสะ ตีเสมอ ๗) อิสสา ริษยา ๘) มัจฉริยะ ตระหนี่ ๙) มายา เจ้าเล่ห์ ๑๐) สาเถยยะ โอ้อวด ๑๑) ถัมภะ หัวดื้อ ๑๒) สารัมภะ แข่งดี ๑๓) มานะ ถือตัว ๑๔) อติมานะ ดูหมั่นท่าน ๑๕) มทะ มัวเมา ๑๖) ปมาทะ เลินเล่อหรือละเลย
ปฏิโยโลเกติ : ก. มอง, จ้อง, สังเกต
ปวิโลเกติ : ก. เหลียวดู, จ้องดู, มองไปข้างหน้า
อนุเปกฺขติ : ก. เพ่งดู, จ้องดู, พิจารณา, ไตร่ตรอง
อาโลกน : (นปุ.) การเห็น, การดู, การจ้องดู, ความตรึกตรอง, ความเห็น. ยุปัจ.
อาโลเกติ : ก. แลไปข้างหน้า, จ้องดู, เพ่งดู
อเวรี : ค. ไม่มีเวร, ไม่มีความจองร้าย
อาฆาฏอาฆาต : (วิ.) โกรธขึ้ง, ขึ้งเคียด, จำนงภัย, ปองร้าย, จองเวร, เบียดเบียน, พยาบาท
อุปนาห : (ปุ.) การผูกเวร, การจองเวร, การผูกโกรธ, ความผูกเวร, ฯลฯ. วิ. ปุนปฺปุนํ อุปคนฺตฺวา. นยฺหติ จิตฺตนฺติ อุปนาโห. อุปปุพฺโพ, นหฺ พนฺธเน, โณ.
อุปนาหี : ค. ผู้จองร้าย, ผู้ผูกพยาบาท