ชอม ๑ : ก. ชม.
ชอม ๒ : ก. จ่อม, จม.
ชอุ่ม : [ชะ] ว. ชุ่ม, สดชื่น, เช่น เขียวชอุ่ม;ชุ่มด้วยละอองนํ้า จนเห็นเป็นมืดคลุ้มหรือมืดมัว เช่น ท้องฟ้าชอุ่ม.
เชื่อม ๑ : ก. ทําของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยว ให้ละลายแล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย, เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือ เคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม; ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความ ว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.
เชื่อม ๒ : ก. ทําให้ติดเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น เชื่อมเหล็ก, ทําให้ ประสานกัน เช่น เชื่อมสัมพันธไมตรี.
เชื่อม ๓ : ว. มีอาการเงื่องเหงามึนซึมคล้ายเป็นไข้ เช่น เชื่อมซึม.
แช่อิ่ม : ว. ที่แช่นํ้าตาลเชื่อมจนอิ่มตัว เช่น ผลไม้แช่อิ่ม เปลือกส้มโอแช่อิ่ม.
ชรอุ่ม : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชอุ่ม, มืดคลุ้ม, มืดมัว, เช่น อากาศชร อุ่มอับ ทิศบังด้วยธุลี. (สุมทรโฆษ).
บรรสาน : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ประสาน) ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิทกัน, เชื่อม, รัด, ผูกไว้.
สมาน ๒ : [สะหฺมาน] ก. ทําให้ติดกัน, ทําให้สนิท, เช่น ยาสมานแผล การสมาน เนื้อไม้; เชื่อม, ผูกพัน, เช่น สมานไมตรี.