Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชาดก , then ชาดก, ชาตก .

Eng-Thai Lexitron Dict : ชาดก, 1 found, display 1-1
  1. fable : (N) ; นิทาน ; Related:เรื่องเล่าที่ให้คติสอนใจและมักมีตัวละครเป็นสัตว์, ตำนาน, นิทานสอนใจ, ชาดก ; Syn:traditional short story

Thai-Eng Lexitron Dict : ชาดก, 6 found, display 1-6
  1. ชาดก : (N) ; Jataka ; Related:tales of the lord Buddha's former births, stories of the former incarnations of the Lord Buddha ; Def:เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในชาติก่อนๆ ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้ ; Samp:พระเวสสันดรชาดกเป็นชาดกซึ่งพุทธศาสนิกชนรู้จักกันเป็นอย่างดี
  2. มหาชาติ : (N) ; story of Gautama Buddha as Vessantara ; Related:story of the last great incarnation of the Buddha ; Syn:เวสสันดรชาดก ; Samp:ท่านฝึกเทศน์มหาชาติจนสามารถเทศน์ได้หลายกัณฑ์ ; Unit:กัณฑ์
  3. ทศชาติ : (N) ; ten incarnations of the Buddha ; Syn:สิบชาติ ; Def:ชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ 10 ชาติ ; Samp:เรื่องที่นำมาแสดงในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติหรือทศชาติ
  4. เทศน์ : (V) ; give a sermon ; Related:preach, deliver a sermon ; Syn:เทศนา, แสดงธรรม ; Samp:พระสงฆ์กำลังเทศน์เรื่องพระรามชาดกให้ชาวบ้านฟัง
  5. แปลยกศัพท์ : (V) ; translate Pali into Thai ; Def:ยกคำบาลีขึ้นมาแปลเป็นไทยไปทีละคำ ; Samp:กรมพระปรมาแปลยกศัพท์ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
  6. แปลร้อย : (V) ; translate Pali into Thai ; Def:แปลเอาความจากคำบาลีเป็นภาษาไทยโดยยกศัพท์บาลีมาคั่นไว้เป็นตอนๆ ; Samp:บางครั้งผู้แต่งต้องแปลร้อยนิทานชาดกเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจคำบาลี

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชาดก, more than 5 found, display 1-5
  1. ชาดก : [ชาดก] น. เรื่องพระพุทธเจ้าที่มีมาในชาติก่อน ๆ ตามที่ กล่าวไว้ในคัมภีร์ชื่อนี้, ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาส่วน ๑ ใน ๙ ส่วนที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์. (ป. ชาตก).
  2. นิบาตชาดก : น. คัมภีร์ที่รวบรวมชาดกต่าง ๆ ในพระไตรปิฎกไว้ด้วยกัน โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดต่าง ๆ เช่น เอกกนิบาตชาดก ทุกนิบาตชาดก.
  3. นวังคสัตถุศาสน์ : [นะวังคะสัดถุสาด] น. คําสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้ามีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. (ป.).
  4. กระพอก ๑ : น. กล่องสานมีฝาครอบสําหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสําหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอก จานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).
  5. กัณฑ์ : [กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคําเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคําเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : ชาดก, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : ชาดก, 7 found, display 1-7
  1. นวังคสัตถุศาสน์ : คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ๑.สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) ๒.เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด) ๓.เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น).๕.อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร) ๖.อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร) ๗.ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) ๘.อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ) ๙.เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น); เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์ ดู ไตรปิฎก
  2. คาถาพัน : คาถาหนึ่งพัน เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกบทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งแต่งเป็นคาถาล้วนๆ ๑ พันบท; การเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วนๆ อย่างนี้เรียกว่า เทศน์คาถาพัน
  3. บุพเพสันนิวาส : การเคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อน เช่น เคยเป็นพ่อแม่ลูกพี่น้องเพื่อผัวเมียกันในภพอดีต (ดู ชาดกที่๖๘ และ ๒๓๗ เป็นต้น)
  4. ปรมัตถโชติกา : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ ธรรมบทสุตตนิบาต และชาดก แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์รจนาหรือเป็นหัวหน้าในการจัดเรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
  5. พละ : กำลัง 1.พละ ๕ คือธรรมอันเป็นกำลัง ซึ่งเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่อริยมรรค จัดอยู่ในจำพวกโพธิปักขิยธรรม มี ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา; ดู อินทรีย์๕2.พละ ๔ คือธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่ต้องหวาดหวั่นกลัวภัยต่างๆ ได้แก่ ๑.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๒.วิริยพละ กำลังความเพียร ๓.อนวัชชพละ กำลังคือการกระทำที่ไม่มีโทษ (กำลังความสุจริตและการกระทำแต่กิจกรรมที่ดีงาม) ๔.สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือช่วยเหลือเกื้อกูลอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดี ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม 3.พละ ๕ หรือ ขัตติยพละ ๕ ได้แก่กำลังของพระมหากษัตริย์ หรือกำลังที่ทำให้มีความพร้อมสำหรับความเป็นกษัตริย์ ๕ ประการ ดังแสดงในคัมภีร์ชาดกคือ ๑.พาหาพละ หรือ กายพละ กำลังแขนหรือกำลังกาย คือแข็งแรงสุขภาพดี สามารถในการใช้แขนใช้มือใช้อาวุธ มีอุปกรณ์พรั่งพร้อม ๒.โภคพละ กำลังโภคสมบัติ ๓.อมัจจพละ กำลังข้าราชการที่ปรึกษาและผู้บริหารที่สามารถ ๔.อภิชัจจพละ กำลังความมีชาติสูง ต้องด้วยความนิยมเชิดชูของมหาชนและได้รับการศึกษาอบรมมาดี ๕.ปัญญาพละ กำลังปัญญา ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่สุด
  6. มหาวิโลกนะ : “การตรวจดูอันยิ่งใหญ่”, ขอตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ หมายถึง สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาตรวจดู ก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี๕อย่าง (นิยมเรียกว่า ปัญจมหาวิโลกนะ) คือ ๑.กาล คืออายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง ๑๐๐ ถึง ๑ แสนปี (ไม่สั้นกว่าร้อยปี ไม่ยาวเกินแสนปี) ๒.ทีปะ คือทวีป จะอุบัติแต่ในชมพูทวีป ๓.เทสะ คือประเทศ หมายถึงดินแดนจะอุบัติในมัธยมประเทศ และทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์เป็นที่พึงบังเกิด ๔.กุละ คือ ตระกูล จะอุบัติเฉพาะในขัตติยสกุลหรือในพราหมณสกุล และทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมมติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา ๕.ชเนตติอายุปริจเฉท คือมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์ ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)
  7. มุจจลินท์ : 1.ต้นจิก, ไม้จิก ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ พระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไม่นี้ ๗ วัน (สัปดาห์ ที่ ๓ ตามพระวินัย, สัปดาห์ที่ ๖ ตามคัมภีร์ชาดก) 2.ชื่อพระยานาคที่เข้ามาเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะที่ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) เสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจลินท์) ฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน พระยามุจจลินทนาคราชจึงแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้องกันฝนและลมมิให้ถูกต้องพระกาย นี่เป็นมูลเหตุของการสร้างพระพุทธรูปนาคปรก

ETipitaka Pali-Thai Dict : ชาดก, more than 5 found, display 1-5
  1. ชาตก : (นปุ.) ชาตกะ ชื่อองค์ที่ ๗ ของ นวัง – คสัตถุสาสน์ แสดงเรื่องที่เกิดแล้วในชาต ก่อนๆ ชาตปุพฺโพ, เก สทฺเท, อ.
  2. ชนฺตุ : (ปุ.) สัตว์, สัตว์เกิด. วิ. ชายตีติ ชนฺตุ. ชนียเต กมฺมกิเลเสหีติ วา ชนฺตุ. ชายติ วา กมฺมกิเลเสหีติ ชนฺตุ. อรรถกถากุลาวก ชาดก ว่า ชนฺตูติ สตฺโต แปลว่า บุคคล คนดังคำในมหาฎีกามหาสุตตโสมชาดก ว่า ชนฺตูติ ปุคฺคโล.
  3. ทสชาติ : (อิต.) ชาติสิบ, ทศชาติ ชื่อคัมภีร์ ชาดก กล่าวด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้งยัง เป็นพระโพธิสัตว์ ตอนก่อนตรัสรู้ มี ๑๐ ชาติ
  4. นวงฺคสตฺถุสาสน : (นปุ.) คำสั่งสอนของ พระศาสดามีองค์เก้า, นวังคสัตถุศาสน์. องค์ ทั้ง ๙ นั้น คือ สุตตะ๑ เคยยะ ๑ เวยยากรณะ คาถา ๑ อุทาน ๑ อิติวุตตกะ ๑ ชาดก อัพภูตธรรม ๑ เทวัลละ ๑.
  5. ขทิรงฺคชาตก : (นปุ.) ชาดกอันบัณฑิตกำหนด แล้วด้วยถ่านแห่งไม้ตะเคียน.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : ชาดก, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ชาดก, not found

(0.1445 sec)