ชาต, ชาตะ : [ชาตะ] ก. เกิด. (ป.).
ชาตา : น. เวลาเกิดของคน หรือเวลาสร้างสิ่งสำคัญเช่นบ้านเมือง เป็นต้นที่โหรคำนวณไว้, ชะตา ก็ว่า.
กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
อติชาตบุตร : น. บุตรที่มีคุณสมบัติสูงกว่าบิดามารดา, อภิชาตบุตร ก็ว่า. (ส. อติชาตปุตฺร; ป. อติชาตปุตฺต).
อนุชาตบุตร : น. บุตรที่มีคุณสมบัติเสมอด้วยบิดามารดา. (ส. อนุชาตปุตฺร; ป. อนุชาตปุตฺต).
อภิชาตบุตร : น. บุตรที่มีคุณสมบัติสูงกว่าบิดามารดา, อติชาตบุตร ก็ว่า. (ส. อภิชาตปุตฺร; ป. อภิชาตปุตฺต).
ชะตา : น. ลักษณะหรืออัธยาศัยบางอย่างที่ทําให้รู้สึกชอบหรือ ไม่ชอบในทันทีทันใด เช่น ถูกชะตากัน ไม่ถูกชะตากัน, ลักษณะที่บังเกิดสําแดงเหตุดีและร้าย เช่น ชะตาดีชะตาร้าย; แบบรูปราศีที่บอกดาวพระเคราะห์เดินถึงราศีนั้น ๆ ในเวลา เกิดของคนหรือเวลาสร้างสิ่งสําคัญเช่นบ้านเมืองเป็นต้นที่ โหรคํานวณไว้ โดยแบ่งเป็น ๑๒ ราศีเรียกว่า ดวงชะตา หรือ ดวง, ชาตา ก็ว่า.
สัญชาต : [ชาตะ, ชาดตะ] ว. เกิดเอง เช่น สัญชาตสระ ว่า สระที่เกิดเอง. (ป.). สัญชาตญาณ [ชาดตะ] น. ความรู้ที่มีมาแต่กําเนิดของคนและสัตว์ ทําให้มีความรู้สึกและกระทําได้เองโดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน เช่น สัญชาตญาณในการป้องกันตัว สัญชาตญาณในการรวมหมู่, สัญชาตเวค ก็ว่า. (อ. instinct).
ราชโยค : น. ดวงชาตาเวลาเกิดของคนที่ชี้ว่าจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
อรรธจักร : [อัดทะจัก] น. เรียกดวงชาตาของคนที่พระเคราะห์ไป ร่วมกันอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง.