ฎีกา : 1.ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลาย ในภายหลัง แต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเติมอรรถกถา 2.หนังสือนิมนต์พระสงฆ์ 3.ใบบอกบุญเรี่ยไร
อนุฎีกา : ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายแต่งแก้หรืออธิบายเพิ่มเดิมฎีกา
ปณามคาถา : คาถาน้อมไหว้, คาถาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เรียกกนง่ายๆ ว่า คาถาไหว้ครู ซึ่งตามปกติ พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ภาษาบาลี เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ถือเป็นธรรมเนียมที่จะเรียบเรียงไว้เป็นเบื้องต้น ก่อนขึ้นเนื้อความของคัมภีร์นั้นๆ ประกอบด้วยคำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบอกความมุ่งหมายในการแต่ง คำอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อาราธนาให้แต่ง และข้อควรทราบอื่นๆ เป็นอย่างคำนำ หรือคำปรารภ
ญาติ : พี่น้องที่ยังนับรู้กันได้, ผู้ร่วมสายโลหิตกันทางบิดาหรือมารดา, ในฎีกาวินัย ท่านกับ ๗ ชั้น ทั้งข้างบนและข้างล่าง แต่ตามปกติจะไม่พบมากหลายชั้นอย่างนั้น ปัจจุบันท่านให้นับญาติ ๗ ชั้น หรือ ๗ ชั่วคน คือ นับทางมารดาก็ดี ทางบิดาก็ดี ชั้นตนเองเป็น ๑ ข้างบน ๓ (ถึงทวด) ข้างล่าง ๓ (ถึงเหลน), เขยและสะใภ้ ไม่นับเป็นญาติ
ปรมัตถมัญชุสา : ชื่อคัมภีร์ฎีกาที่พระธรรมบาลรจนาขึ้น เพื่ออธิบายความในคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์; นิยมเรียกว่า มหาฎีกา
มังคลัตถทีปนี : ชื่อคัมภีร์อธิบายมงคล ๓๘ ประการ ในมงคลสูตร พระสิริมังคลาจารย์แห่งลานนาไทย รจนาขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๐๖๗ โดยรวบรวมคำอธิบายจากอรรถกถาฎีกา อนุฎีกาต่างๆ เป็นอันมาก พร้อมทั้งคำบรรยายของท่านเอง
วิมติวิโนทนี : ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายพระวินัย แต่งโดยพระกัสสปเถระ ชาวแคว้นโจฬะ ในอินเดียตอนใต้
สารัตถทีปนี : ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายความในสมันตปาสาทิกา ซึ่งเป็นอรรถกถาแห่งพระวินัยปิฎก พระสารีบุตรเถระแห่งเกาะลังกา เป็นผู้รจนาในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ (พ.ศ.๑๖๙๖-๑๗๒๙)
อภิธัมมัตถวิภาวินี : ชื่อคัมภีร์ฎีกาอธิบายความในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ พระสุมังคละผู้เป็นศิษย์ของพระอาจารย์สารีบุตร ซึ่งเป็นปราชญ์ในรัชกาลของพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ (พ) ศ) ๑๖๙๖-๑๗๒๙) รจนาขึ้นในลังกาทวีป
กาฬาวก : (ปุ.) กาฬาวกะ ชื่อตระกูลช้าง ตระกูลที่ ๑ ใน ๑๐ ตระกุล วิ. กลมฺพเต สทฺทายเตติ กาฬาวโก. ณฺวุ, มฺโลโป. ฎีกา อภิฯ อีก ๙ ตระกุล คือ คงฺเคยฺย ปณฺฑร ตมฺพ ปิงฺคล มงฺคล เหม อุโปสถ ฉทฺทนฺต, คนฺธ. ทั้ง ๑๐ ตระกูลนี้ ทางพม่าและฏีกา อภิฯ เป็น นปุ.
ฏีกา : (อิต.) วาจาเป็นเครื่องกำหนด, ฎีกา ชื่อ ของหนังสือที่อาจารย์แต่งแก้อรรถกถา บางทีแก้ทั้งบาลีด้วยจัดเป็นคัมภีร์ชั้นที่ สาม ชื่อของหนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์ ชื่อของคำร้องทุกข์ที่ถวายพระเจ้า แผ่นดิน ชื่อของคำคัดค้านที่ยื่นต่อศาล สูงสุด ชื่อของศาลสำหรับตัดสินความชั้น สูงสุด. ฏิกฺ คติยํ, อ, อิตฺถิยํ อา.
กกุธ : (ปุ.) ไม้รกฟ้าขาว, ไม้กุ่ม. วิ. กํ วาตํ กุฏติ นิวาเรตีติ กกุโธ. เอกักขรโกสฎีกา. อภิฯ และ เวสฯ เป็น กกฺ ธาตุ อุธ ปัจ. แปลว่า ไม้รังไก่ ก็มี.
กงฺคุ : (อิต.) ข้าวฟ่าง, ประยงค์ ชื่อไม้พุ่มชนิด หนึ่ง ใบมีกลิ่นหอม. วิ. โสภณสีสตฺตา คมนียภาวํ คจฺฉตีติ กงฺคุ. คมฺ คติยํ, อุ. แปลง ค เป็น ก มฺ เป็น คฺ นิคคหิตอาคม. โมคคัลลายนพฤติ วิ. กามียตีติ กงฺคุ กมุ อิจฺฉายํ, อุ. เอกักขรโกสฎีกาวิ. เกน คุณาติ สททํ กโรตีติ กงฺคุ. ก ปุพฺโพ, คุ สทฺเท, อุ. ส. กงฺคุ, กงฺคุนี.
กฏุ กฏก : (วิ.) เผ็ด, เผ็ดร้อน, หยาบ, หยาบคาย, ดุ, ดุร้าย, ผิด, ไม่ควร, ไม่ สมควร. กฏฺ คติยํ, อุ. ศัพท์ หลัง ก สกัด แต่อภิฯ และฎีกาอภิฯ ลง ณฺวุ ปัจ แปลง ณวุ เป็น อก แล้ว ฏฺ อาศัย อ แปลง อ ที่ ฏ เป็น อุ. ส. กฏุ. กฏุ
ETipitaka Pali-Thai Dict : ฎีกา, more results...