ดาบส : [-บด] น. ผู้บําเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี. (ป., ส. ตาปส), เพศหญิงใช้ว่า ดาบสินี. (ป. ตาปสินี), ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรง ไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
ดาบสองคม : (สํา) ว. มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้.
ดาวบส : [ดาวบด] (แบบ) น. ดาบส เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
กฤษฎีกา : [กฺริดสะ-] น. แผลงมาจาก กติกา เช่น ก็รับพระกฤษฎีกากําหนด แห่งพระดาบสว่าสาธุแล. (ม. คําหลวง วนปเวสน์); (กฎ) บทกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น เพื่อใช้ในการ บริหาร เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา; ชื่อคณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการร่างกฎหมายและกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ รวมเรียกว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา; (กฎ; โบ) พระราชโองการที่มี ลักษณะเป็นกฎหมาย.
ดำแลง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก แถลง) ว. ดัดแปลง; กล่าว, ชี้แจง; จําแลง เช่น ก็ดําแลงเพศเป็นดาบส. (ม. คําหลวง ชูชก).
บ่าย : น. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบส เบือน บ่ายจําแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ปริวัตร : [ปะริวัด] (แบบ) ก. ปริวรรต เช่น จะเชื้อเชิญพระดาบสให้ปริวัตร เป็นบรมกษัตริย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ).
ดาบส : ผู้บำเพ็ญตบะ, ผู้เผากิเลส
กบิลดาบส : ดาบสที่อยู่ในดงไม้สักกะ ประเทศหิมพานต์ พระราชบุตรและพระราชบุตรีของพระเจ้าโอกกากราชพากันไปสร้างพระนครใหม่ในที่อยู่ของกบิลดาบส จึงขนานนามพระนครที่สร้างใหม่ว่า กบิลพัสดุ์ แปลว่า ที่หรือที่ดินของกบิลดาบส
อสิตดาบส : ดาบสผู้คุ้นเคย และเป็นที่นับถือของศากยราชสกุล อาศัยอยู่ข้างเขาหิมพานต์ ได้ทราบข่าวว่าพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติใหม่ จึงเข้าไปเยี่ยม ได้เห็นพระราชโอรสนั้นมีลักษณะต้องด้วยตำรับมหาปุริสลักษณะ จึงกราบลงที่พระบาททั้ง ๒ ของพระราชโอรสแล้วกล่าวคำทำนายว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกทรงผนวช จักได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาเอกในโลก; มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า กาฬเทวิลดาบส
อุททกดาบส : อาจารย์ผู้สอนสมาบัติที่พระมหาบุรุษเสด็จไปศึกษาอยู่ด้วยคราวหนึ่ง ก่อนที่จะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา, ท่านผู้นี้ได้สมาบัติ ถึงขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ; เรียกเต็มว่า อุททกดาบส รามบุตร
บรรพชิต : ผู้บวช, นักบวช เช่น ภิกษุสมณะ ดาบส ฤษี เป็นต้น แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภิกษุและสามเณร (และภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี) มักใช้คู่กับ คฤหัสถ์ (ในภาษาไทยปัจจุบัน ให้ใช้หมายเฉพาะนักบวชในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในฝ่ายเถรวาท หรือฝ่ายมหายาน)
กบิลพัสดุ์ : เมืองหลวงของแคว้นสักกะหรือศากยะ ที่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะเดิมเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส บัดนี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล
กาฬเทวิลดาบส :
เป็นอีกชื่อหนึ่งของอสิตดาบส ดู อสิตดาบส
นาลกะ : 1.หลานชายของอสิตดาบส ออกบวชตามคำแนะนำของลุง และไปบำเพ็ญสมณธรรมรอการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอยู่ในป่าหิมพานต์ ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มาทูลถามเรื่องโมไนยปฏิปทา และกลับไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าหิมพานต์ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ดำรงอายุอยู่อีก ๗ เดือน ก็ปรินิพพานในป่าหิมพานต์นั้นเอง; ท่านจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวกด้วย 2.ชื่อหมู่บ้านอันเป็นที่เกิดของพระสารีบุตรไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ บางทีเรียกนาลันทคาม
ตาปส : (ปุ.) บรรพชิตผู้มีธรรมเครื่องยัง กิเลสให้เร่าร้อน ( ย่างกิเลสให้แห้ง ). ตปฺ สนฺตาเป, โณ. ลง สฺ และ อ อาคม หรือ ลง สกฺ ปัจ. ทีฆะ ลบ กฺ ส. ตาปส.
ตาปสตรุ : (ปุ.) ต้นสำโรง, เพราะดาบสเอา ผลมาสุมเอาน้ำมันใช้ประโยชน์ จึงชื่อว่า ตาปสตรุ ต้นไม้เป็นประโยชน์แก่ดาบส ต้นจำปา ก็แปล.
ตาปสี, ตาปสินี : อิต. ดาบสหรือนักพรตหญิง, ตาปสินี
อาฬาร อาฬารตาปส : (ปุ.) อาฬารดาบส ชื่อดาบสหัวหน้าสำนัก ซึ่งพระมหาบุรุษ เสด็จเข้าไปศึกษาลัทธิตอนผนวชใหม่ ๆ.
ขาริกาช, ขาริวิธ : ป., นป. สาแหรก, เครื่องหาบบริขารของพวกดาบส
ชฏา : (อิต.) ผมเกล้า, ผมที่เกล้า, เกล้าผม, มวยผม (ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น), ผม เกล้าของดาบส, เทริด ชื่อเครื่องประดับ ศรีษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า, เชิง คือตีน ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่ง บางอย่าง ชายหรือปลายของบางสิ่ง บางอย่าง, ความยุ่ง, ความรุงรัง, ความรก, ชัฏ ( ป่ารก ป่าทึบ เชิง ), ชฎา ชื่อเครื่อง สวมศรีษะ คล้ายมงกุฎ. ชฏฺ ชฏเน สงฺฆาเต วา, อ. ส. ชฎา.
ตาปสินี : (อิต.) หญิงดาบส, ดาบสหญิง..
อุทฺทก : (ปุ.) อุททกดาบส ชื่อดาบสซึ่ง พระมหาบุรุษ เสด็จเข้าไปศึกษาลัทธิตอน ผนวชใหม่ ๆ และทรงได้อรูปฌานที่ ๔ จากสำนักนี้.