ตระบัด ๒ : [ตฺระ-] (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น บ่อยู่ในสัตย์ ตระบัดอาธรรม์. (เสือโค), กระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้, ยืมหรือกู้เอาทรัพย์เขาไปแล้วโกงเอาเสีย, ยักยอก, ใช้อย่าง สะบัด ก็มี.
ตระบัด ๑ : [ตฺระ-] ว. ประเดี๋ยว, บัดใจ, ทันใด, กระบัด ก็ใช้. ก. พลันไป.
ตระบัดสัตย์ : ก. ไม่รักษาคํามั่นสัญญา.
กระบัด ๑ : (กลอน) ว. บัดใจ, ทันใด, เช่น อาวุธกับศรก็ตกกระบัดเหอรหาย. (สมุทรโฆษ), ตระบัด ก็ใช้.
กระบัด ๒ : (โบ) ก. ฉ้อโกง เช่น กระบัดสิน, ตระบัด ประบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
ประบัด : (โบ) ก. ฉ้อโกง, กระบัด ตระบัด หรือ สะบัด ก็ใช้.
สะบัด : ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้ สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็น ไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อ ลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่ง เช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้ว เกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดย ปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัดโกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.
ประมง : น. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทําประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดํานํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดํานํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).