ตอม : ก. กิริยาที่แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นแมลงวันเป็นต้นมาเกาะหรือจับหรือบินวนเวียน อยู่ใกล้ ๆ, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผู้ชาย ตอมผู้หญิง.
ต่อม : น. เม็ดตุ่มที่ขึ้นตามตัว; (สรีร) อวัยวะของคนและสัตว์ ทําหน้าที่สร้างและหลั่งสาร ที่มีประโยชน์และมีโทษต่อร่างกาย มี ๒ ชนิด คือ ต่อมไร้ท่อ และ ต่อมมีท่อ.
ฉู่ : ว. โฉ่, ฟุ้ง, (ใช้แก่กลิ่นเหม็น); เสียงแมลงวันซึ่งตอมสิ่งของอยู่มาก ๆ.
ปีฬกะ : [-ละกะ] น. ฝี, ต่อม, ไฝ. (ป. ปีฬกา; ส. ปีฑกา).
รุม ๑ : ก. อาการที่คนหลายคนหรือสัตว์หลายตัวรวมกันเข้ามาทําอย่างใดอย่างหนึ่ง แก่ผู้หนึ่งหรือสิ่งหนึ่งอย่างไม่มีระเบียบ เช่น รุมตี รุมด่า แมลงวันรุมตอม เมล็ดทุเรียน, ประดังห้อมล้อมเข้ามา เช่น กลุ้มรุม รุมกันเข้าไปซื้อของ, ประดังกันเข้ามา เช่น โดนโรครุมเสียแย่; กรุ่นอยู่ภายในเพราะพิษไข้ เป็นต้น เช่น เป็นไข้ร้อนรุมอยู่หลายวัน.
หวี่ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Drosophilidae ตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร มักมีสีนํ้าตาลอมแดง ตาสีแดง มีปีกใสคู่เดียว มักตอมผลไม้ หรือผักเน่าเปื่อย ที่พบมากที่สุดเป็นชนิด Drosophila melanogaster นิยมใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ของสัตว์. ว. มีเสียงอย่างเสียงแมลงหวี่กระพือปีก.
ค่าตัว : น. ราคาที่กําหนดขึ้นเพื่อซื้อขายทาสในสมัยโบราณ, ต่อมา หมายถึงราคาที่กําหนดขึ้นตามความสําคัญหรือความสามารถของบุคคล.
เงินแดง : (โบ) น. เงินปลอม แต่เดิมใช้เงินหุ้มทองแดงไว้ข้างใน ต่อมา หมายถึงเงินปลอมที่มีทองแดงผสมปนมากเกินส่วน, โดยปริยายหมายถึง คนที่ใช้งานใช้การไม่ได้.
ปีฬก : พุพอง, ฝี, ต่อม
กุณฑธานะ : พระเถระผู้เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลิทธิพราหมณ์ ต่อมา เมื่อสูงอายุแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า เกิดความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา ก็มีรูปหญิงคนหนึ่งติดตามตัวตลอดเวลาจนกระทั่งได้บรรลุพระอรหัต รูปนั้นจึงหายไป ท่านได้รับยกย่อง จากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในการถือเอาสลากเป็นปฐม
โพธิ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
โพธิพฤกษ์ : ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา; ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ; หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน; ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัย ร.๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น; ต่อมา ในสมัย ร.๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร
สงฆ์ : หมู่, ชุมนุม ๑.หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ใน โสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒), ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์ ๒.ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง
สุภัททะ วุฒบรรพชิต : “พระสุภัททะผู้บวชเมื่อแก่” ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งการปรารภที่จะทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ก่อนบวช เป็นช่างตัดผมในเมืองอาตุมา มีบุตรชาย ๒ คน เมื่อบวชแล้วคราวหนึ่งได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์หมู่ใหญ่จะเสด็จมายังเมืองอาตุมา จึงให้บุตรทั้ง ๒ เอาเครื่องมือตัดผมออกไปเที่ยวขอตัดผมตามบ้านเรือนทุกแห่ง แลกเอาเครื่องปรุงยาคูมาได้มากมาย แล้วบัญชาการให้ผู้คนจัดเตรียมข้าวยาคูไว้เป็นอันมาก เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึง ก็นำเอาข้าวยาคูนั้นเข้าไปถวาย พระพุทธเจ้าตรัสถาม ทรงทราบความว่าพระสุภัททะได้ข้าวนั้นมาอย่างไรแล้ว ไม่ทรงรับและทรงติเตียน แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ คือ บรรพชิตไม่พึงชักชวนคนทำในสิ่งที่เป็นอกัปปิยะ และภิกษุผู้เคยเป็นช่างกัลบกไม่พึงเก็บรักษาเครื่องตัดโกนผมไว้ประจำตัว จากการที่ได้ถูกติเตียนและเสียของเสียหน้าเสียใจ ในเหตุการณ์ครั้งนั้น พระสุภัททะก็ได้ผูกอาฆาตไว้ ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๗ วัน พระสุภัททะร่วมอยู่ในคณะของพระมหากัสสปเถระ ซึ่งกำลังเดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา ระหว่างทางนั้น คณะได้ทราบข่าวพุทธปรินิพพานจากอาชีวกผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นราคะ (คือพระปุถชน โสดาบัน และสกทาคามี) พากันร้องไห้คร่ำครวญเป็นอันมาก ในขณะนั้นเอง พระสุภัททะวุฒบรรพชิต ก็ร้องห้ามขึ้นว่า “อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไห้ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว พระมหาสมณะนั้นคอยเบียดเบียนพวกเราว่าสิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ บัดนี้พวกเราปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น” พระมหากัสสปเถระได้ฟังแล้วเกิดธรรมสังเวช ดำริว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน ก็ยังเกิดเสี้ยนหนามขึ้นแล้วในพระศาสนา หากต่อไปคนชั่วได้พวกพ้องมีกำลังเติบกล้าขึ้น ก็จะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอย ดังนั้น หลังจากเสร็จงานถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว ท่านจึงได้ยกถ้อยคำของสุภัททะวุฒบรรพชิต นี้ขึ้นเป็นข้อปรารภ ชักชวนพระเถระทั้งหลายร่วมกันทำสังคายนาครั้งแรก