ถ้า : สัน. คําแสดงความคาดหมาย คาดคะเน หรือข้อแม้, ผิ, แม้, หาก. ถ้าว่า, ถ้าหากว่า สัน. ผิว่า, แม้ว่า, หากว่า.
เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
โมง ๑ : น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.
ถา : ก. ถลา, โผลง; ลับ, ถูให้คม. (ไทยเดิม ถา ว่า โกน).
พาย : น. เครื่องมือสําหรับพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน ทำด้วยไม้ มีด้ามกลมยาว ประมาณ ๒ ศอก สำหรับจับด้านที่ใช้พุ้ยน้ำมีลักษณะแบน, ถ้า ลอกลวดเป็นคิ้วตลอดกลางใบพาย เรียกว่า พายคิ้ว, ถ้าด้ามสั้น ใบป้อม เพื่อให้จับได้ถนัด เรียกว่า พายทุย, เรียกไม้แบน ๆ ที่มี รูปคล้ายพาย เช่น พายกวนขนม. ก. เอาพายพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ถ้า, more results...
ติณวัตถารกวินัย : ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก
ปริกถา : คำพูดหว่านล้อม, การพูดให้รู้โดยปริยาย, การพูดอ้อมไปอ้อมมาเพื่อให้เขาถวายปัจจัย ๔ เป็นการกระทำที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ ถ้าทำปริกถาเพื่อให้เขาถวายจีวรและบิณฑบาต ชื่อว่ามีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ แต่ท่านว่าทำปริกถาในเรื่องเสนาสนะได้อยู่ เช่น พูดว่า “เสนาสนะของสงฆ์คับแคบ” อย่างไรก็ตาม ถ้าถือธุดงค์ไม่พึงทำปริกถา อย่างหนึ่งอย่างใดเลย
อุโบสถ : 1) การสวดปาฏิโมกข์ของพระสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เป็นเครื่องซักซ้อมตรวจสอบความบริสุทธิ์ทางวินัยของภิกษุทั้งหลาย และทั้งเป็นเครื่องแสดงความพร้อมเพรียงของสงฆ์ด้วย อุโบสถมีชื่อเรียกย่อยออกไปหลายอย่าง การทำอุโบสถจะมีการสวดปาฏิโมกข์ได้ต่อเมื่อมีภิกษุครบองค์สงฆ์จตุรวรรค คือ ๔ รูป ขึ้นไป ถ้าสงฆ์ครบองค์กำหนดเช่นนี้ทำอุโบสถ เรียกว่า สังฆอุโบสถ แต่ถ้ามีภิกษุอยู่เพียง ๒ หรือ ๓ รูป เป็นเพียงคณะท่านให้บอกความบริสุทธิ์แก่กันและกันแทนการสวดปาฏิโมกข์ เรียกอุโบสถนี้ว่า คณอุโบสถ หรือ ปาริสุทธิอุโบสถ ถ้ามีภิกษุอยู่ในวัดรูปเดียว ท่านให้ทำเพียงอธิษฐานคือตั้งใจกำหนดจิตว่าวันนี้เป็นอุโบสถของเรา (อชฺช เม อุโปสโถ) อุโบสถที่ทำอย่างนี้ เรียกว่า ปุคคลอุโบสถ หรือ อธิษฐานอุโบสถ; อุโบสถที่ทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า จาตุทสิก ทำในวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ เรียกว่า ปัณณรสิก ทำในวันสามัคคี เรียกว่า สามัคคีอุโบสถ 2) การอยู่จำ, การรักษาศีล ๘ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติอย่างอื่นที่สมควรมีฟังพระธรรมเทศนาเป็นต้นของคฤหัสถ์ ในวันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญและวันจันทร์ดับ 3) วันอุโบสถสำหรับพระสงฆ์ คือ วันจันทร์เพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) และวันจันทร์ดับ (แรม ๑๕ ค่ำ หรือ ๑๔ ค่ำ เมื่อเดือนขาด), สำหรับคฤหัสถ์ คือ วันพระ ได้แก วันขึ้นและวันแรม ๘ ค่ำ วันจันทร์เพ็ญ และวันจันทร์ดับ 4) สถานที่สงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกตามศัพท์ว่า อุโปสถาคารหรืออุโปสถัคคะ, ไทยมักตัดเรียกว่าโบสถ์
กรรม : การกระทำ หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม (แต่ถ้ารู้อยู่ว่าบ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม) การกระทำที่ดีเรียกว่า กรรมดี ที่ชั่ว เรียกว่า กรรมชั่ว - 1.Karma; Kamma; a volitional action; action; deed; good and bad volition. 2.work; job; activity; transaction.
กรรม ๑๒ : กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่ ๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ ๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ๓.อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่ ๕.ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ๗.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า ๘.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่ ๙.ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน ๑๐.พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา ๑๑.อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น ๑๒.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล
Budhism Thai-Thai Dict : ถ้า, more results...
อฑฺฒ อทฺธ : (นปุ.) กึ่ง, ครึ่ง, ซีก, ส่วน, ภาค. เมื่อหมายเอาส่วนที่ไม่เท่ากันเป็น ปุ. ถ้า หมายเอาส่วนที่เท่ากันเป็น นปุ. วิ. อสติ เขเปติ สมุทายนฺติ อฑฺโฒ. อสุเขปเน, โต. แปลง ต เป็น ฑฺฒ ลบที่สุดธาตุ คำหลัง ดู อทฺธ ข้างหน้า. ส. อรฺทฺธ อรฺธ.
ถริ : (วิ.) มั่น, คง, มั่นคง, ตั้งมั่น, ยั่งยืน, แข็ง, แข็งแรง, คงที่. ฐา ถา วา คตินิวุตติยํ, อิโร. ถ้าตั้ง ฐา ธาตุ ก็แปลงเป็น ถา.
เถต : (วิ.) มั่น, คง, มั่นคง, แข็งแรง, แน่นอน, เป็นหลักฐาน. ฐา ถา วา คตินิวุตฺติยํ, โต. แปลง อา เป็น เอ ถ้าตั้ง ฐา พึงแปลง เป็น ถา.
ปถ : (ปุ.) ทาง, หนทาง, ถนน, คลอง, แถว, แนว, ถิ่น. วิ. ปถติ เอตฺถาติ ปโถ. ปถติ อเน นาติ วา ปโถ. อุปฺปนฺนกิจฺจากิจฺเจหิชเนหิ ปถียตีติ วา ปโถ. ปถฺ คติยํ, อ. ถ้ามาคู่กับ อุปถ อุปฺปถ ทางผิด แปล ปถ ว่า ทางถูก.
อตฺต อตฺร : (ปุ.) กาย, ร่างกาย, ตน, ตู(ตัว), ตัว, ตัวเอง, ตัวตน (ร่างกายและใจ). วิ. ทุกฺขํ อตติสตตํ คจฺฉตีติ อตฺตา (ถึงทุกข์เสมอ).อาหิโตอหํมาโน เอตฺถาติวา อตฺตา (เป็นที่ตั้งของมานะ).สุขทุกฺขํ อทติ ภกฺขติ อนุภาวตีติวาอตฺตา(เสวยสุขทุกข์).ชาติชรามรณาทีหิอาทียเต ภกฺขียเตติวา อตฺตา (อันชาติชราและมรณะเป็นต้น เคี้ยวกิน).ภววภวํธาวนฺโตชาติชรามรณาทิเภทํ อเนกวิหิตํสํสารทุกขํอตติสตตํคจฺฉติปาปุณาติอธิคจฺฉตีติวาอตฺตา.อตฺหรืออทฺธาตุตปัจ.ถ้าตั้งอทฺ ธาตุ แปลงทเป็น ต หรือ แปลง ต เป็น ตฺต ลบ ทฺศัพท์หลัง แปลง ต เป็น ตฺรลบที่สุดธาตุอตฺตศัพท์นี้ตามหลักบาลีไวยากรณ์เป็นเอก.อย่างเดียว ถ้าจะใช้เป็นพหุ. ต้องแปลซั้าสองหน หรือเขียนควบสองหนเช่น อตฺตโนอตฺตโนแต่คัมภีร์รูปสิทธิเป็นต้น แจกเป็นพหุ. ได้.แปลว่า จิตใจ สภาวะ และ กุสลธัมได้อีกอุ. อตฺตา หิกิรทุทฺทโมได้ยินว่าจิตแล(ใจแล) เป็นสภาพรักษาได้ยาก.แปลว่า หัวใจ อุ.ตถตฺตมีหัวใจเป็นอย่างนั้นมีพระทัยเป็นอย่างนั้น. แปลว่าปรมัตตะ หรือปรมาตมันตามที่ชาวอินเดียโบราณถือว่าเป็นสิ่งไม่ตาย รูปฯ๖๓๖ ลง มนฺ ปัจ. ลบ น.แปลง ม เป็น ต สูตรที่ ๖๕๖ ลง ต ตฺรณฺ ปัจ.ที่ลง ตฺรณฺปัจ.ลบที่สุดธาตุ แล้วลบณฺสฺอาตฺมนฺอาตฺมา.
ETipitaka Pali-Thai Dict : ถ้า, more results...