ทองคำเปลว : น. ทองคําที่ตีแผ่ให้บางที่สุด ตัดใส่แผ่นกระดาษ ใช้สําหรับปิดบนสิ่งที่ลงรักเช่นพระพุทธรูป.
เปลว : [เปฺลว] น. เรียกไฟที่ลุกแลบออกมาหรือพวยพุ่งขึ้นว่า เปลวไฟ, เรียกควันที่พลุ่ง ๆ ขึ้นไปว่า เปลวควัน, เรียกช่องอยู่เหนือถํ้าที่แลบ ทะลุขึ้นไปเบื้องบนว่า ช่องเปลว หรือ เปลวปล่อง, เรียกสิ่งที่เป็น แผ่นบางอันมีลักษณะคล้ายเปลวไฟ เช่น ทองคําเปลว, เรียกมัน ของสัตว์ที่ไม่ได้ติดอยู่กับหนัง ว่า มันเปลว, คู่กับ มันแข็ง; ชื่อลาย จําพวกหนึ่งมีปลายสะบัดอ่อนไหวคล้ายเปลวไฟ เช่น กระหนกเปลว.
ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
ไขว่ : [ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมา อย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับ แผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่นว่า ๑ ไขว่.
ทองเอก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง เคี่ยวน้ำกะทิกับน้ำตาลจนเหนียว ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่ไข่แดง แป้งสาลี ตั้งไฟกวนจนแป้งร่อน อัด ใส่พิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ แต่งหน้าด้วยทองคำเปลวแผ่นเล็ก ๆ.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ทองคำเปลว, more results...
กีสาโคตมี : พระเถรีสำคัญองค์หนึ่ง เดิมเป็นธิดาคนยากจนในพระนครสาวัตถี แต่ได้เป็นลูกสะใภ้ของเศรษฐีในพระนครนั้น นางมีบุตรชายคนหนึ่ง อยู่มาไม่นานบุตรชายตาย นางมีความเสียใจมาก อุ้มบุตรที่ตายแล้วไปในที่ต่างๆ เพื่อหายาแก้ให้ฟื้น จนได้ไปพบพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงสอนด้วยอุบายและทรงประทานโอวาท นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชในสำนักนางภิกษุณี วันหนึ่งนั่งพิจารณาเปลวประทีปที่ตามอยู่ในพระอุโบสถ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทรงทรงจีวรเศร้าหมอง
ทองอาบ : ของอาบด้วยทอง, ของชุบทอง, ของแช่ทองคำให้จับผิว
ประทีป : ตะเกียง, โคม, ไฟมีเปลวสว่าง
ภัททา กัจจานา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งโกสิยวงศ์ พระนามเดิมว่า ยโสธรา หรือ พิมพา เป็นพระมารดาของพระราหุลพุทธชิโนรส ได้นามว่า ภัททากัจจานา เพราะทรงมีฉวีวรรณดุจทองคำเนื้อเกลี้ยง บวชเป็นภิกษุณี ในพระพุทธศาสนาเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ไม่ช้าก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางบรรลุมหาภิญญา เรียกภัททกัจจานา ก็มี
มหากัจจายนะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในกัจจายนโคตรที่พระนครอุชเชนี เป็นบุตรปุโรหิตของพระราชาแห่งแคว้นอวันตี เรียนจบไตรเพทแล้ว ต่อมาได้เป็นปุโรหิตแทนบิดา พระเจ้าจัณฑปัชโชตตรัสสั่งให้หาทางนำพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่กรุงอุชเชนี กัจจายนปุโรหิตจึงเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาแล้วบรรลุอรหัตตผล อุปสมบทแล้ว แสดงความประสงค์ที่จะอัญเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าสู่แคว้นอวันตี พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้ท่านเดินทางไปเอง ท่านเดินทางไปยังกรุงอุชเชนี ประกาศธรรม ยังพระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองทั้งหมดให้เลื่อมใสในพระศาสนาแล้ว จึงกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา ต่อมาได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางขยายความคำย่อให้พิสดาร มีเรื่องเล่าเป็นเกร็ดว่าท่านมีรูปร่างสวยงาม ผิวพรรณดังทองคำ บุตรเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อโสเรยยะเห็นแล้วเกิดมีอกุศลจิตต่อท่านว่าให้ได้อย่างท่านเป็นภรรยาตนหรือให้ภรรยาตนมีผิวพรรณงามอย่างท่าน เพราะอกุศลจิตนั้น เพศของโสเรยยะกลายเป็นหญิงไป นางสาวโสเรยยะแต่งงานมีครอบครัว มีบุตรแล้ว ต่อมาได้พบและขอขมาต่อท่านเพศก็กลับเป็นชายตามเดิม โสเรยยะขอบวชในสำนักของท่าน และได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
อาโปธาตุ :
ธาตุที่มีลักษณะเป็นเอิบอาบ ดูดซึม, แปลสามัญว่า ธาตุน้ำ, ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ข้อความนี้ เป็นการกล่าวถึงอาโปธาตุในลักาณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้และพอให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางอภิธรรม อาโปธาตุเป็นสภาวะที่สัมผัสด้วยกายไม่ได้มีในรูปธรรมทั่วไป แม้แต่ในกระดาษหนังสือ ในก้อนหิน ก้อนเหล็ก และแผ่นพลาสติก ดู ธาตุ
อุบลวรรณา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ได้ชื่อว่าอุบลวรรณาเพราะมีผิวพรรณดังดอกนิลุบล (อุบลเขียว) มีความงามมาก จึงเป็นที่ปรารถนาของพระราชาในชมพูทวีป หลายพระองค์ ต่างส่งคนมาติดต่อท่านเศรษฐีเกิดความลำบากใจ จึงคิดจะให้ธิดาบวชพอเป็นอุบายแต่นางเองพอใจในบรรพชาอยู่แล้ว จึงบวชเป็นภิกษุณีด้วยศรัทธาอย่างจริงจัง คราวหนึ่งอยู่เวรจุดประทีปในพระอุโบสถ นางเพ่งดูเปลวประทีปถือเอาเป็นนิมิตเจริญฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ และเป็นอัครสาวิกาฝ่ายซ้าย