ที่นั่ง : (ราชา) น. อาคารที่ประทับซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหา สมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาสพิมาน (บางปะอิน), ที่ ประทับสําหรับประทับบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระที่นั่งภัทรบิฐ, ยานที่ ประทับในการเสด็จพระราชดําเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน, ยานหรือพาหนะที่ พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีทรงหรือประทับ เช่น รถพระที่นั่ง ม้าพระที่นั่ง; ก้น, ที่นั่งทับ, ใช้ว่า พระที่นั่ง.
คลวง ๑ : [คฺลวง] น. เรือน, ที่นั่ง, ตําหนัก.
ปีฐะ, ปีฐกะ : [-ถะกะ] น. ตั่ง, ที่นั่ง, เก้าอี้, ม้า. (ป., ส.).
กมลาสน์ : [กะมะลาด] (แบบ) น. ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือ พระพรหม. (ป., ส. กมล = บัว + อาสน = ที่นั่ง).
ชานชาลา : น. บริเวณสถานีรถไฟหรือสถานีขนส่งที่ผู้โดยสาร มารอขึ้นรถ; ที่โล่งหน้าสถานที่สําคัญ ๆ บางแห่ง เช่น ชานชาลาหน้าพระ ที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท.
ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
บรรยงก์ : [บัน-] น. ที่นั่ง. (ส. ปรฺยงฺก).
อาสน ๒, อาสน์, อาสนะ : [อาดสะนะ, อาด] น. ที่นั่ง, เครื่องปูรองนั่ง, (ใช้เฉพาะ พระภิกษุสามเณร). (ป., ส.).
นิฑฺฒ : นป. รัง, รังนก; สถานที่, ที่พักผ่อน, ที่นั่ง; เก้าอี้
นิสีทน : นป. การนั่ง, ที่นั่ง
ปีฐ : นป. ตั่ง, ที่นั่ง, แคร่, ร้าน, ที่วางของขาย
ภวน : (นปุ.) ความมี, ความเป็น, ความมีอยู่, ความเป็นอยู่, ที่เป็นที่เกิด, ห้อง, ที่นั่ง, ที่อยู่, บ้าน, เรือน, บ้านเรือน, ภพ. ภู สตฺตายํ, ยุ.
เสยฺยาสน : (นปุ.) ที่นอนและที่นั่ง, ที่นอน ที่นั่ง. ไทยใช้เป็นกิริยาว่า นอน เช่น พระไสยาสน์ คือพระนอน.
อาสิต : ๑. นป. ที่นั่ง; เมือง;
๒. กิต. ผูกพันแล้ว, รึงรัดแล้ว
ปมาท : (ปุ.) ความมัวเมา, ความเลินเล่อ, ความลืมตน, ความเผลอ, ความไม่เอาใจใส่, ความลืมสติ, ความประมาท. วิ. ปมชฺชนํ ปมาโท. ปปุพฺโพ, มทฺ อุมฺมาเท, โณ. ไทย ใช้ ประมาท เป็นกิริยาในความว่าขาด ความรอบคอบ, ขาดความระมัดระวังเพราะ ทนงตัว และดูหมิ่น ใช้เป็นนามว่า ความเลินเล่อ, การขาดความระมัดระวัง.