ทุกข-, ทุกข์ : [ทุกขะ-, ทุก] น. ความยากลําบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ. (ป.; ส. ทุะข).
ทุกขารมณ์ :
ดู ทุกข-, ทุกข์.
ทุกขนิโรธ : [ทุกขะนิโรด] น. ความดับทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจ ข้อที่ ๓. (ป.).
ทุกขลาภ : [ทุกขะลาบ] น. การที่ต้องรับทุกข์เสียก่อนจึงมีลาภ, ลาภที่ได้มาด้วยความทุกข์ยาก, ลาภที่ได้มาแล้วมีทุกข์ติดตามมาด้วย.
ทุกขเวทนา : [ทุกขะเวทะนา] น. ความรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ, ความรู้สึกเจ็บปวดทรมาน. (ป.).
ทุกขสมุทัย : [ทุกขะสะหฺมุไท] น. เหตุให้เกิดทุกข์, เป็นชื่อของอริยสัจ ข้อที่ ๒. (ป.).
กระอืด : ก. ร้องไห้ร่ำไร, ร่ำไห้, เช่น เกรงอาตม์กระอืดโอย. (สรรพสิทธิ์), จำนองกระอืดโอย ทุกขทรวงละลวงกาม. (อนิรุทธ์).
ทุ ๑ : ว. คําอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลําบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทําได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. (ดู ทุร ประกอบ). (ป., ส. เดิม เป็น ทุสฺ), ทุ นี้เมื่ออยู่หน้าคําอื่นตามหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีและ สันสกฤต กําหนดให้เติมตัวสะกดลงตัวหนึ่งเพื่อให้เท่าของเดิม เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + จริต เป็น ทุจจริต, ตัวสะกดนั้นดูพยัญชนะ คําหลังเป็นเกณฑ์ ถ้าพยัญชนะวรรคคําหลังเป็นอักษรสูงหรืออักษร กลางก็ใช้พยัญชนะที่ ๑ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + กร เป็น ทุกกร, ทุ + ข เป็น ทุกข, ถ้าเป็นพยัญชนะวรรคคำหลังเป็นอักษรต่ำ ก็ใช้พยัญชนะที่ ๓ แห่งวรรคนั้นสะกด เช่น ทุ + คติ เป็น ทุคคติ, ทุ + ภาษิต เป็น ทุพภาษิต, อีกอย่างหนึ่งว่า ถ้าพยัญชนะคําหลังเป็น อักษรตํ่า ก็ใช้เติม ร แทนตัวสะกดได้ทุกวรรค เช่น ทุรชน ทุรพล ทุรภิกษ์ ทุรยศ ทุรลักษณ์, หรือเอาสระ อุ ออกเสียก็มี เช่น ทรชน ทรพล ทรพิษ ทรยศ ทรลักษณ์, ในวิธีหลังนี้บางมติว่า เอา อุ เป็น ร (ใช้ไปถึงคํา ทรกรรม ด้วย) และเมื่ออยู่หน้าสระก็เติม ร เช่น ทุ + อาจาร เป็น ทุราจาร, ทุ + อาธวา เป็น ทุราธวา.
โพงพาง : น. เครื่องมือดักปลาชนิดหนึ่ง เป็นถุงตาข่ายรูปยาวรี ใช้ผูกกับเสา ใหญ่ ๒ ต้นที่ปักขวางลํานํ้า สําหรับจับปลากุ้งทุกขนาด.
ทกฺข : (วิ.) มีฝีมือ, ขยัน, ขันแข็ง, แข็งแรง, ฉลาด, สามารถ, เร็ว, ว่องไว, คล่องแคล่ว, ชำนาญ, เหมาะ, สันทัด. วิ. ทกฺขติ กุสลธมฺเม อญฺญสฺมิญฺจ กิจฺจากิจฺเจ อทนฺธตาย สีฆํ คจฺฉตีติ ทกฺโข. ทกฺขฺ วุฑฺฒิหึสาคติสีเฆสุ, อ. ทลฺ ทิตฺติยํ วา, โข, ลสฺส โก. ส. ทกฺษ.
ทุกฺข : (วิ.) ยาก, ลำบาก, ชั่ว, เดือดร้อน, ไม่ สบาย, ทุกข์. ทุกฺข ตกฺกิริยายํ, อ.
ทกฺขี : ค. ผู้เห็น, ผู้สังเกตเห็น
ทุกฺขี : ค. ผู้มีทุกข์, ผู้เป็นทุกข์
นิทฺทุกข : (วิ.) มีทุกข์ออกแล้ว นิกฺขนฺต+ทฺข, ออกแล้วจากทุกข์ ทุกฺข+นิกฺขนฺต ลบ กฺขนฺต แล้วกลับบท เอาไปไว้หน้า, ไม่มี ทุกข์, ปราศจากทุกข์, นิรทุกข์.
ETipitaka Pali-Thai Dict : ทุกขะ, more results...