ทุติย- : [ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).
คุณ ๑, คุณ- : [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษขึ้นไป; (ไว) คําแต่งชื่อ. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
คุณหญิง : น. คํานําหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า; (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นเอกภรรยาของพระยา; (ปาก) คำที่ใช้เรียก หม่อมราชวงศ์ที่เป็นหญิง.
ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
ญัตติ : น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
ท่านผู้หญิง : น. เดิมใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของ เจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง, ปัจจุบันใช้เป็นคำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ.
พระยาพานทอง : น. ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยา และได้รับพระราชทานพานทอง เป็นเครื่องสำหรับยศ, ผู้ที่ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าชั้น ทุติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป มีบรรดาศักดิ์เสมอตำแหน่งที่ได้รับพานทอง.
รูปฌาน : [รูบปะชาน] น. ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน.
อนิจกรรม : น. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือ ทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.
ทุติยา : (อิต.) ภรรยา, ภริยา, เมีย, ความเป็น เพื่อน.
ทุติย : (วิ.) (ชน) เป็นที่เต็มแห่งชน ท. สอง, สอง ที่สอง, เป็นเพื่อน. วิ. ทฺวินฺนํ ปูรโณ ทุติโย (ชโน). ทฺวินฺนํ ปูรณี ทุติยา (ติถิ). ทฺวินฺนํ ปูรณํ ทุติยํ (กุลํ). ทฺวิ+ติย ปัจ. ปูรณตัท แปลง ทฺวิ เป็น ทุ รูปฯ ๓๙๔.
กถ : (อัพ. นิบาต) อย่างไร, อย่างไรสิ, อย่างไร ได้, มิใช่หรือ, บ้างหรือหนอ, อะไร, อะไร สิ, ไฉนเล่า, ไฉนหนอ, ทำไม, ประการไร, ซึ่งประการไร, ด้วยประการไร. วิ. โก ปกาโร กถํ. ฯลฯ. กัจฯ ๓๙๙ ว่าตั้ง วิ. ตามวิภัตตินามได้ทั้ง ๗. รูปฯ ๔๐๖ ตั้ง วิ. ไว้ ๓ คือ ปฐมา ทุติยา และตติยา. กึ ศัพท์ ถํ ปัจ. รูปฯ ว่า ลบ นิคคหิต แล้ว แปลง กิ เป็น ก บาลีไวยากรณ์ว่าแปลง กึ เป็น ก. ส. กถมฺ.
ทิวา : (อัพ. นิบาต) วัน, กลางวัน, ในกลางวัน. อภิฯ ลงใน ปฐมาทุติยา และ สัตตมี. รูปฯ ลงใน ปฐมา ทุติยา และกาลสัตตมี.
ภิยฺโย : (อัพ. นิบาต) ยิ่ง, ยิ่งขึ้น, ยิ่งขึ้นไป, โดยยิ่ง, อีก, เกิน, มาก, เศษ (สิ่งที่เกิน), นัก, หนักเข้า. รูปฯ ว่าลงใน ปฐมา ทุติยา ด้วย.
ETipitaka Pali-Thai Dict : ทุติยา, more results...