ท่า ๑ : น. ฝั่งนํ้าสําหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สําหรับขึ้นลง ริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลําคลองว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน.
ท่า ๒ : น. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกําหนดเป็น วิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารํา; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.
ท่า ๓ : ก. รอคอย เช่น เหตุไฉนรีบมาไม่ท่ากัน. (อิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับ คอย หรือ รอ เป็น คอยท่า รอท่า.
ท่าเดียว : (ปาก) ว. อย่างเดียว, ประการเดียว, ถ่ายเดียว, เช่น จะกินท่าเดียว.
ท่านั้นท่านี้ : (สํา) ว. อย่างนั้นอย่างนี้, โยกโย้, เช่น พูดท่านั้นท่านี้.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ท่า, more results...
ตฏี : (อิต.) ฝั่ง, ตลิ่ง, ตลิ่งชัน, ท่า, ริม, เหว, ริมเหว, ปากเหว, เขาขาด. ตฏฺ อุสฺสเย อ. ศัพท์หลังลง อี อิต.
อวตาร : (ปุ.) การลง, การหยั่งลง, การข้าม, การข้ามลง, ท่า, ท่าน้ำ, รู, ช่อง, โพรง, ละแวก.อวปุพฺโพ, ตรฺตรเณ, โณ.ส. อวตาร.
ติตฺถ : (นปุ.) ท่า, ท่าน้ำ, ท่าเป็นที่ข้าม, ท่า ข้าม, ทิฏฐิ คือความเห็นนอกพุทธศาสนา, ลัทธิ ( นอกพุทธศาสนา), อุบาย ( เหตุ ), น้ำศักดิ์สิทธิ์. ตรฺ ปฺลวนตรเณสุ, โถ, อสฺส อิตฺตํ, ทฺวิตฺตํ ( แปลง ถ เป็น ตฺถ), รโลโป. หรือแปลง รฺ เป็น ตฺ ก็ไม่ต้องแปลง ถ เป็น ตฺถ. ส. ตีรถ.
ปฏฺฏน : นป. ท่า, เมืองท่า, เมืองใกล้เมืองท่า
ปติตฺถ : นป. ท่า, ท่าน้ำ, ฝั่งน้ำ
ETipitaka Pali-Thai Dict : ท่า, more results...