ธรรม ๑, ธรรม, ธรรมะ : [ทํา, ทํามะ] น. คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม; คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า; หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม; ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม; ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม; กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ; กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ; สิ่งทั้งหลาย, สิ่งของ, เช่น เครื่องไทยธรรม. (ส. ธรฺม; ป. ธมฺม).
ธรรมบิฐ : น. ธรรมาสน์. (ป. ธมฺม + ปี?).
โลกุตรธรรม : [โลกุดตะระทํา] น. ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก มี ๙ คือ มรรค ๔ (คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค) ผล ๔ (คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล) และนิพพาน ๑. (ส.; ป. โลก + อุตฺตร + ธมฺม).
ทิฐธรรม : (แบบ) น. ภพนี้, ชาตินี้. (ป. ทิฏฺ?ธมฺม).
ไทยธรรม : [ไทยะทํา] น. ของทําบุญต่าง ๆ, ของถวายพระ. (ป. เทยฺยธมฺม).
Royal Institute Thai-Thai Dict : ธมฺมา, more results...
ธมฺม : (วิ.) หนักแน่น อุ. ทฬฺหธมฺม แม่นยำ และหนักแน่น
มโนปุพฺพงฺคม : (วิ.) มีใจเป็นสภาพถึงก่อน, มีใจเป็นธรรมถึงก่อน, มีใจเป็นหัวหน้า, มีใจเป็นประธาน. วิ. อุปฺปาทปฺปจฺจยตฺเถนมโน ปุพฺพงฺคโม เอเตสนฺติ มโนปุพฺพงฺคมา (ธมฺมา). คำว่า ธรรม ท. ได้แก่ เวทนขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์.
มโนมย : (วิ.) สำเร็จแล้วด้วยใจ, มโนมัย. วิ. มนโต นิปฺผนฺนา มโนมยา (ธมฺมา). มย ปัจ. ปกติตัท.
ทสฺสน : (นปุ.) การเห็น, การดู, การแลดู, การเฝ้า (ราชาศัพท์), ความเห็น, ฯลฯ. วิ. ทสฺสียเตติ ทสฺสนํ. ทิส. เปกฺขเณ. ยุ. แปลง ทิส เป็น ทสฺส. และยังแปลว่า โสตาปัตติ-มรรคด้วย อุ. ทสฺสเนน ปาหตพฺพา ธมฺมา. ธรรมท. อันพระโสดาปัตติมรรคพึงประหาณ. ส. ทรฺศน.
ธมฺมตา : (อิต.) ความเป็นแห่งธรรม, ความเป็นแห่งปัจจัย, ความเป็นเอง, จารีต, ธรรมเนียม, ประเพณี, สิ่งอันเป็นเอง, ธรรมดา คืออาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ หรือการเสื่อมสลาย คือเสื่อม สลาย. ธมฺม+ตา ปัจ. สกัด. ส. ธรฺมตา.
ETipitaka Pali-Thai Dict : ธมฺมา, more results...