นิรยบาล : ผู้คุมนรก, ผู้ลงโทษสัตว์นรก
นิรยะ :
นรก, ภูมิที่เสวยทุกข์ของคนผู้ทำบาปตายแล้วไปเกิด เป็นอบายอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ ปิตติวิสัย อสุรกาย ดู นรก
ปัญจพิธพันธนะ : เครื่องตรึง ๕ อย่าง คือ ตรึงเหล็กอันร้อนที่มือทั้ง ๒ ข้างที่เท้าทั้ง ๒ ข้าง และที่กลางอก ซึ่งเป็นการลงโทษที่นายนิรยบาลกระทำต่อสัตว์นรก
นรก :
เหวแห่งความทุกข์, ที่อันไม่มีความสุขความเจริญ, ภาวะเร่าร้อน กระวนกระวาย, ที่ไปเกิดและเสวยความทุกข์ของสัตว์ผู้ทำบาป เป็นอบายอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง คือ นรก ดิรัจฉาน เปรต และอสุรกาย ดู นิรยะ
อบาย : ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑) นิรยะ นรก ๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓) ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต ๔) อสุรกาย พวกอสุรกาย
อบายภูมิ : ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ ๑) นิรยะ นรก ๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓) ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต ๔) อสุรกาย พวกอสุรกาย
คติ : 1.การไป, ทางไป, ความเป็นไป, ทางดำเนิน, วิธี, แนวทาง, แบบอย่าง 2.ที่ไปเกิดของสัตว์, ภพที่สัตว์ไปเกิด, แบบการดำเนินชีวิต มี ๕ คือ ๑.นิรยะ นรก ๒.ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน ๓.เปตติวิสัย แดนเปรต ๔.มนุษย์ สัตว์มีใจสูงรู้คิดเหตุผล ๕.เทพ ชาวสวรรค์ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงอกนิฏฐพรหม (ท่านว่าในที่นี้ จัดอสูรเข้าในเปตตวิสัยด้วย) ๓ คติแรกเป็น ทุคติ (ที่ไปเกิดอันชั่วหรือแบบดำเนินชีวิตที่ไม่ดี) ๒ คติหลังเป็นสุคติ (ที่ไปเกิดอันดี หรือแบบดำเนินชีวิตที่ดี)
นิรย : (ปุ.) ประเทศมีความเจริญออกแล้ว, ประเทศมีความเจริญไปปราศแล้ว, ประเทศไม่มีความเจริญ, ประเทศปราศ จากความเจริญ, ภพไม่มีความเจริญ, ภพไม่มีความสุข, โลกไม่มีความเจริญ, โลกไม่มีความสุข. วิ. อโย อิฏฐผลํ, โส นิคฺคโต อสฺมสติ นิรโย. ร. อาคม. นินฺทิโต รโย คมน เมตฺถาติ วา นิรโย. อภิฯ. นิคฺคโต อโย อสฺมสติ นิรโย. นิคฺคโต อโย ยสฺมาโส นิรโย. นตฺถิ อโย เอตฺถาติ วา นิรโย. รูปฯ ส. นิรย.
คูถนรก, - นิรย : นป. คูถนรก, นรกที่เต็มไปด้วยคูถ
นิรยคามี : ค. ผู้ไปนรก
นิรยทุกฺข : นป. ทุกข์ในนรก
นิรยป นิรยปาล : (ปุ.) นายนิรยบาล (ผู้ รักษาสัตว์นรก ผู้ปกครองสัตว์นรก). วิ. นิรยสตฺเต ปาติ ปาลติ วาติ นิรยโป นิรยปาโล วา. ปา รกฺขเณ, กฺวิ. ปาล รกฺขเณ, อ. ส. นิรยปาล.
นิรยป, นิรยปาล : ป. นายนิรยบาล, ผู้เฝ้ารักษานรก
นิริย : (ปุ.) ประเทศมีความเจริญออกแล้ว, ฯลฯ. นิ+อย รฺ และ อิ อาคม ดู นิรย ประกอบ.
อารจยารจย : ป. นายนิรยบาล, ผู้ลงโทษ