บรรเทา : [บัน-] ก. ทุเลาหรือทําให้ทุเลา, ผ่อนคลายหรือทําให้ผ่อนคลายลง, เบาบางหรือทําให้เบาบางลง, สงบหรือทําให้สงบ, เช่น บรรเทาทุกข์ อาการโรคบรรเทาลง, ประเทา ก็ใช้.
เบาบาง : ว. น้อยลง เช่น ผลไม้เบาบางลง, ทุเลาลง, บางเบา ก็ว่า.
ประเทา : ก. บรรเทา, ทุเลา, คลาย, เบาลง, ให้สงบ, ทําให้เบาบางลง.
บางเบา : ว. น้อยลง, ทุเลาลง, เบาบาง ก็ว่า.
ดนุ, ดนู : (แบบ) (กลอน) ส. ฉัน, ข้าพเจ้า. (ป., ส. ตนุ ว่า ตัวตน; เล็กน้อย, เบาบาง).
Royal Institute Thai-Thai Dict : บรรเทาเบาบาง, more results...
บรรเทา : ทำให้สงบ, คลาย, เบาลง, ทำให้เบาลง, ทุเลา
กรรม ๑๒ : กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่ ๑.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้ ๒.อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า ๓.อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป ๔.อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่ ๕.ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด ๖.อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม ๗.อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า ๘.อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่ ๙.ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน ๑๐.พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา ๑๑.อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น ๑๒.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล
ธรรมปฏิสันถาร : การต้อนรับด้วยธรรม คือกล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศคือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอยู่อย่างบริบูรณ์ คือการต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก่ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือนร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง เทียบ อามิสปฏิสันถาร
สกทาคามิผล : ผลที่ได้รับจากการละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง ซึ่งสืบเนื่องมาแต่สกทาคามิมรรค, สกิทาคามิผล ก็เขียน
สกทาคามิมรรค : ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระสกทาคามี, ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง, สกิทาคามิมรรค ก็เขียน
สังโยชน์ : กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
อปัสเสนธรรม : ธรรมเป็นที่พึ่งที่พำนักดุจพนักพิง มี ๔ คือ ๑) ของอย่างหนึ่งพิจารณาแล้วเสพ เช่น ปัจจัยสี่ ๒) ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น ได้แก่ อนิฏฐารมณ์แล้วเว้นเสีย เช่น สุราเมรัย การพนัน คนพาล ๔) ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้ว บรรเทาเสีย เช่น อกุศลวิตกต่างๆ
อปฺปอปฺปก : (วิ.) น้อย, เล็ก, เล็กน้อย, นิดหน่อย, เบาบาง, ทราม, อ่อน.วิ.อเปสิอิสกมตฺตมคมาสีติอปฺปํ.อปฺปาปุณเน, โป.อลฺภูสเนวา, โป. ศัพทฺหลังกสกัด.ส.อลฺปก.
อปฺป อปฺปก : (วิ.) น้อย, เล็ก, เล็กน้อย, นิด หน่อย, เบาบาง, ทราม, อ่อน. วิ. อเปสิ อิสกมตฺต มคมาสีติ อปฺปํ. อปฺ ปาปุณเน, โป. อลฺ ภูสเน วา, โป. ศัพทฺหลัง ก สกัด. ส. อลฺปก.
วิโนเทติ : ก. บรรเทา
อปฺปโพธติ (อปโพเธติ) : ก. บรรเทา (ความหลับ), ตื่นอยู่, ขจัด
โกธวินย : ป. การบรรเทาความโกรธ, การกำจัดความโกรธ
ETipitaka Pali-Thai Dict : บรรเทาเบาบาง, more results...