Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บริกรรม , then บริกรรม, ปริกมฺม, ปริกรรม .

Eng-Thai Lexitron Dict : บริกรรม, 1 found, display 1-1
  1. incantation : (N) ; การปลุกเสก ; Related:การบริกรรมคาถา, การท่องมนตร์ ; Syn:abracadabra, hocus-pocus

Thai-Eng Lexitron Dict : บริกรรม, 10 found, display 1-10
  1. ปลุกพระ : (V) ; recite incantations to test the Buddhist image's sacret effectiveness ; Related:perform magic spell on a Buddhist image ; Def:บริกรรมคาถาเสกพระเครื่องเพื่อให้เกิดความขลัง ; Samp:เขานิมนต์หลวงพ่อชื่อดังมาปลุกพระเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว
  2. ปลุกเสก : (V) ; recite incantations over something ; Related:consecrate, make sacred or potent by some magic or incantations ; Def:บริกรรมคาถาให้สิ่งของขลัง ; Samp:ถ้าจะปลุกผีหรือปลุกเสกอะไรก็มักจะใช้วันที่กล้าแข็งเป็นวันประกอบพิธีกรรม
  3. ร่าย 2 : (V) ; recite or utter magic formula ; Def:บริกรรมเวทมนตร์คาถาเพื่อทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ; Samp:ก่อนประพรมน้ำมนต์ พระท่านต้องร่ายเวทมนตร์คาถาก่อน เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์
  4. ประคำ : (N) ; rosary ; Related:string of beads ; Syn:ลูกประคำ ; Def:ลูกกลมๆ ที่ร้อยเป็นพวงสำหรับเป็นเครื่องหมายการนับในเวลาบริกรรมภาวนาหรือสำหรับใช้เป็นเครื่องราง, เรียกเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำเป็นต้นมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ; Samp:บาทหลวงนับลูกประคำในเวลาสวดมนต์ ; Unit:เม็ด
  5. ปลุกผี : (V) ; recite incantations to wake up the body ; Related:perform magic spell to make a ghost arise ; Def:นั่งเข้าสมาธิบริกรรมคาถาจนกระทั่งผีลุกขึ้น เพื่อไปทำประโยชน์ตามที่ตนปรารถนา หรือลนเอาน้ำมันสำหรับใช้ให้หญิงหลงรัก การปลุกผีนี้มักทำแก่ผีตายทั้งกลม ; Samp:คนโบราณเชื่อว่าถ้าปลุกผีขึ้นมาเพื่อลนเอาน้ำมันไปแต้มผู้หญิงคนที่ตนหลงรัก แล้วจะประสบความสำเร็จ
  6. เมฆฉาย : (N) ; diagnosing the nature of the disease by incantations ; Related:magic prayer of making figure in the sky for disease prognostication ; Def:การอธิษฐานโดยบริกรรมด้วยมนตร์ เชื่อกันว่าจะทำให้เงาของคนเจ็บลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วพิจารณาดูว่าคนเจ็บนั้นเป็นโรคอะไร
  7. เวท : (N) ; incantation ; Related:magic, sorcery, spell ; Syn:เวทมนตร์, คาถา, พระเวท ; Def:ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดีหรือป้องกันอันตรายต่างๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ ; Samp:ในละครของเรามียักษ์มาร่ายเวทด้วย
  8. เวทมนตร์ : (N) ; magic ; Related:sorcery, incantation, spell ; Syn:เวทมนตร์คาถา, คาถา, มนตร์ ; Def:คำศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมแล้วให้สำเร็จความประสงค์ ; Samp:เขาท่องเวทมนตร์ที่เคยร่ำเรียนมาเพื่อป้องกันตัว
  9. เวทย์มนตร์ : (N) ; magic ; Related:black art, witchcraft, necromancy, wizardry, sorcery, incantation, spell, charm ; Syn:อาคม, คาถา, คาถาอาคม ; Def:คำศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมแล้วให้สำเร็จความประสงค์ ; Samp:เขาเกิดความกลัวขึ้นจึงได้ท่องเวทมนตร์ที่เคยร่ำเรียนมาเพื่อป้องกันตัว
  10. คาถา : (N) ; spell ; Related:incantation, magic ; Syn:คาถาอาคม, มนต์, คำเสก, คำสาป ; Def:คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ; Samp:หมอผีจุดธูปกำโตบริกรรมคาถา

Royal Institute Thai-Thai Dict : บริกรรม, more than 5 found, display 1-5
  1. บริกรรม : [บอริกํา] ก. สํารวมใจสวดมนต์ภาวนา, สํารวมใจร่ายมนตร์หรือเสก คาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
  2. ปริกรรม, ปริกรรม- : [ปะริกํา, ปะริกำมะ-] น. บริกรรม. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
  3. ปริกรรมนิมิต : [ปะริกำมะนิมิด] น. ''อารมณ์ในบริกรรม'' คือ สิ่ง ที่ใช้เพ่งหรือนึกเป็นอารมณ์ในเวลาบริกรรม. (ป. ปริกมฺมนิมิตฺต; ส. ปริกรฺม + นิมิตฺต).
  4. คาบ ๑ : น. ครั้ง, หน, ระยะเวลาเวียนรอบ, ช่วงเวลา. ก. กลั้นใจบริกรรม เวทมนตร์ครั้งหนึ่ง ๆ.
  5. ชักยันต์ : ก. ลากเส้นและลงอักขระเป็นรูปยันต์ต่าง ๆ พร้อมทั้ง บริกรรมคาถา; ขี่ม้าแปรขบวนเป็นรูปคล้ายยันต์.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : บริกรรม, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : บริกรรม, 9 found, display 1-9
  1. บริกรรม : 1.(ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้นมีบริกรรมสำเร็จด้วยดี”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว 2.สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มนำลาย หรือนั่งพิง 3.การนวดฟั้นประคบ หรือถูตัว 4.การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ 5.เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า
  2. บริกรรมภาวนา : ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ
  3. ปรินิพพานบริกรรม : การกระทำขั้นต้นก่อนที่จะปรินิพพาน, การเตรียมปรินิพพาน ในพุทธประวัติ ได้แก่ การทรงเข้าอนุปุพพวิหารสมาบัติก่อนแล้วเสด็จปรินิพพาน
  4. ปริกัมม : ดู บริกรรม
  5. ปริกรรมนิมิต : นิมิตแห่งบริกรรม, นิมิตขั้นตะเตรียมหรือเริ่มเจริญสมถกรรมฐาน ได้แก่ สิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกว่าอยู่ในใจเป็นต้น(ข้อ ๑ ในนิมิต ๓)
  6. จูฬปันถกะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง ในอสีติมหาสาวก เป็นบุตรของธิดาเศรษฐีกรุงราชคฤห์ และเป็นน้องชายของมหาปันถกะ ออกบวชในพระพุทธศาสนา ปรากฏว่ามีปัญญาทึบอย่างยิ่ง พี่ชายมอบถาคาเพียง ๑ คาถาให้ ท่องตลอดเวลา ๔ เดือน ก็ท่องไม่ได้จึงถูกพี่ชายขับไล่ เสียใจคิดจะสึก พอดีพอพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสปลอบแล้วประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ให้ไปลูบคลำพร้อมทั้งบริกรรมสั้นๆ ว่า “รโชหรณํ ๆๆ” ผ้านั้นหมองเพราะมือคลำอยู่เสมอ ทำให้มองเห็นไตรลักษณ์และได้สำเร็จพระอรหัต ท่านมีความชำนาญ แคล่วคล่อง ในอภิญญา ๖ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดาผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏ์; ชื่อท่านเรียกว่าง่ายๆ ว่าจูฬบันถก, บางแห่งเขียนเป็นจุลลบันถก
  7. นิมิต : 1.เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเข ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ 2.(ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ 3.เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓ คือ ๑.บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น ๓.ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา 4.สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง ดู เทวทูต
  8. ภาวนา : การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ 1.การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง คือ ๑.สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ๒.วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง, อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ ๑.จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ ๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์ 2.การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิ มี ๓ ขั้น คือ ๑.บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ๒.อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือเกิดอุปจารสมาธิ ๓.อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือเกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาน 3.ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆ ให้ขลัง ก็มี
  9. เวทมนตร์ : คำที่เชื่อถือว่าศักดิ์สิทธิ์ บริกรรมแล้วให้สำเร็จความประสงค์

ETipitaka Pali-Thai Dict : บริกรรม, 6 found, display 1-6
  1. ปริกมฺม : (นปุ.) การทำบ่อยๆ, การทำซ้ำๆ, การขัดถู, การบริกรรม, ไทยใช้บริกรรม เป็นกิริยาในความว่า สำรวมใจสวดมนต์ สำรวมใจร่ายมนต์เสกคาถา เสกเป่า ตกแต่ง กำหนดใจ นวดฟั้น ฉาบทา.
  2. ปริกมฺมกต : ก. ทำบริกรรมแล้ว
  3. ปริกมฺมการก : ก. ผู้ทำบริกรรม, ผู้ตระเตรียม
  4. ปาทปริกมฺม : นป. การบริกรรมเท้า, การนวดเท้า
  5. อสุภภาวนา : อิต. การบริกรรมว่าไม่งาม, การพิจารณาว่าร่างกายเป็นของน่าเกลียด
  6. อาโลกกสิณ : (นปุ.) การเพ่งแสงสว่าง, อาโลกกสิณ (การบริกรรมโดยการเพ่ง แสงสว่างเป็นอารมณ์).

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : บริกรรม, not found

(0.1469 sec)