ปรตยักษ์ : [ปฺรดตะยัก] (กลอน) ก. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
ปฏิ- : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
ประติทิน : น. ปฏิทิน. (ส. ปฺรติ + ทิน; ป. ปฏิ + ทิน).
ปรีดิ, ปรีดิ์, ปรีดี : [ปฺรี-, ปฺรี] น. ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ, ความยินดี. (ส. ปฺรีติ; ป. ปีติ).
ปีติ : น. ความปลาบปลื้มใจ, ความอิ่มใจ. (ป.; ส. ปฺรีติ).
เปต : [เปตะ, เปดตะ] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์; ผู้ตายไปแล้ว, เปรต ก็ว่า. (ป.; ส. เปฺรต).
ภยูปรต : (วิ.) ผู้มีความกลัวยังไม่สิ้น, ผู้ยังมีความกลัว. ภย+อุปรต.
ปรโต : (อัพ. นิบาต) ข้างอื่น, ข้างหน้า.
ปริต : (ปุ.) ความแผ่ไป, ความขยาย, ความกว้าง. ปริปุพฺโพ, ตนุ วิตฺถาเร, โร. กัจฯ ๖๓๙ วิ. ปริ ตโนตีติ ปริโต. กฺวิ ปัจ.
ปริโต : (อัพ. นิบาต) โดย...ทั้งปวง, แต่...ทั้ง ปวง, ใน...ทั้งปวง, โดยรอบ. ปริ+โต ปัจ. รูปฯ ๒๘๒ ว่า โต ปัจ. ลงในอรรถ ตติยา ปัญจมี และ สัตตมี.
ปเรต : ค. ไปแล้วในเบื้องหน้า, ตายแล้ว, เดือดร้อน
ปุรโต : (อัพ. นิบาต) ข้างหน้า, ในเบื้องหน้า, ก่อน.
ปูเรติ : ก. เต็ม, บริบูรณ์
รตฺตูปรต : ค. ซึ่งงดเว้นจากการกินในเวลากลางคืน
อภยูปรต : (ปุ.) พระขีณาสพผู้อันความกลัวไม่เข้าไปย้อมแล้ว, พระขีณาสพผู้อันความกลัวไม่ย้อมแล้ว, พระขีณาสพผู้มีความกลัวอันสิ้นแล้ว.ดูภยูดปรตด้วย.
อุปรต : กิต. งดแล้ว, ละแล้ว