เครื่องหมายคำถาม : น. ปรัศนี.
คะ ๒ : ว. คําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำถามหรือคำแสดงความสงสัยเพื่อ แสดงความสุภาพ เช่น อะไรคะ กระมังคะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อ จากคำ ซิ นะ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ ไปนะคะ.
ใคร ๑ : [ไคฺร] ส. คนไหน, ผู้ใด, ใช้เป็นคำถาม เช่นใครมา เขาไปกับใคร.
จ๊ะ ๑ : ว. คําต่อท้ายคําเชิญชวนหลังคำ ''นะ'' หรือ ''ซิ'' เช่น ไปนะจ๊ะ เชิญซิจ๊ะ หรือต่อท้ายคำถามเป็นต้น เช่น อะไรจ๊ะ.
ประโยค : [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
วัตถุวิสัย : ว. ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือ ความรู้สึก; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความ คิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ ตายตัวว่าการสอบ แบบวัตถุวิสัย, ปรนัย ก็ว่า. (อ. objective).
สะทกสะท้าน : ก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสียจนสะทก สะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่างไม่สะทกสะท้าน.
ไหน ๑ : ว. ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความสงสัยหรือคำถาม เช่น คนไหน อันไหน ที่ไหน, ถ้ามีคำ ก็ได้ ต่อท้าย แสดงถึงความไม่เจาะจง เช่น คนไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้.
ไหน ๒, ไหนล่ะ, ไหนว่า, ไหนว่าจะ : ว. เป็นคำถามเชิงตัดพ้อต่อว่า ทวงถาม หรือสงสัย เป็นต้น เช่น ไหน พระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย. (อิเหนา), ไหนล่ะ รางวัล ไหนว่าไม่ลืม ไหนว่าจะพาไปเที่ยว.
วิสฺสชฺชก : ค. ผู้สละ, ผู้ตอบ; คำถาม
อนุโยค : (ปุ.) วาทะเครื่องประกอบตาม, วาทะเครื่องตามประกอบ, การซักไซ้, การซักถาม, คำถาม, การถาม, การประกอบความเพียร.ส. อนุโยค.
ปริโยค : ป. ชามแกง
ปญฺห : ป. คำถาม
ปญฺหา : อิต. คำถาม
โก : (อัพ. นิบาต.) ใน...ไหน, ในที่ไหน. ที่อยู่ใน ประโยคคำถามแปลว่า ทำไม. เวสฯ ๖๒๑.
ปฏิปุจฺฉติ : ก. ย้อนถาม, ทวนถาม, ตั้งคำถาม
อถ : (อัพ. นิบาต) ขณะนั้น, ครั้นนั้น, ลำดับนั้น, ถ้าว่า, ผิว่า, หากว่า, อนึ่งโสด, ทีนั้น, ทีหลัง, เมื่อนั้น, ว่าดังนั้น, อย่างนั้น, หรือ, แล, ในกาลนั้น, ในภายหลัง, ในกาลภายหลัง, เออก้อ. อถ ที่เป็น ลักขณวันตะ แปลว่าครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น.เติม กิริยาสนฺเต (มีอยู่). รูปฯ ว่า ใช้ในอรรถแห่งคำถามบ้าง.
อโถ : (อัพ. นิบาต) ลำดับนั้น, ครั้งนั้น, ภายหลังอนึ่ง, อนึ่งโสต, แล.แปลโดยอรรถ ว่าและบ้างรูปฯว่าใช้ในอรรถแห่งคำถามด้วย.
เอว : (อัพ. นิบาต) ฉันนั้น, อย่างนั้น, นี้, อย่างนี้, ด้วยประการนี้, ด้วยประการอย่าง นี้, ด้วยประการนั้นเทียว, เท่านั้น, อย่างนั้น. ที่ใช้เป็นประธาน เอวํ อ. อย่างนั้น, อ. อย่างนี้ ที่ใช้เป็นคำถาม เหน็บคำว่า “หรือ”.