มณฑล : วงรอบ, บริเวณ, แคว้น, ดินแดน, วงการ
อุปจารแห่งสงฆ์ : บริเวณรอบๆ เขตสงฆ์ชุมนุมกัน
ทัณฑกรรม : การลงอาชญา, การลงโทษ; ในที่นี้ หมายถึงการลงโทษสามเณรคล้ายกับการปรับอาบัติภิกษุ ได้แก่กักบริเวณ ห้ามไม่ให้เข้า ห้ามไม่ให้ออกจากอาราม หรือการใช้ตักน้ำ ขนฟืน ขนทราย เป็นต้น
โพธิมณฑะ : ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณ, บริเวณต้นโพธิ์เป็นที่ตรัสรู้
มคธ : 1.ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่าพิมพิสาร ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ถูกโอรสชื่ออชาตศัตรูปลงพระชนม์และขึ้นครองราชย์สืบแทน ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร 2.เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่า ภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมา จนบัดนี้ คือ ภาษามคธ
เมรุ : 1.ชื่อภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บางทีเรียกพระสุเมรุ ตามคติของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นบริเวณที่มีสวรรค์อยู่โดยรอบ เช่น สวรรค์ของพระอินทร์อยู่ทางทิศเหนือ ไวกูณฐ์แดนสถิตของพระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่ทางทิศใต้ ไกลาสที่สถิตของพระศิวะหรืออิศวรก็อยู่ทางทิศใต้เหนือยอดเขาพระสุเมรุนั้น คือ พรหมโลก เป็นที่สถิตของพระพรหม, ภูเขานี้เรียกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สิเนรุ และตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนา ในชั้นอรรถกถา ยอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุ ซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้ง๒นั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่นๆ และโลกมนุษย์ เป็นต้น ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้างต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุนี้ (ในวรรณคดีบาลียุดหลัง เช่น จูฬวงส์ พงศาวดารลังกา เรียก เมรุ และสุเมรุ อย่างสันสกฤตก็มี) 2.ที่เผาศพ หลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ ซึ่งคงได้คติจากภูเขาเมรุนั้น
สุวรรณภูมิ : “แผ่นดินทอง”, “แหลมทอง”, ดินแดนที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโสณะและพระอุตตระ หัวหน้าพระศาสนทูตสายที่ ๘ (ใน ๙ สาย) ไปประกาศพระศาสนา ปราชญ์หลายท่านสันนิษฐานว่าได้แก่ดินแดนบริเวณจังหวัดนครปฐม (พม่าว่าได้แก่เมืองสะเทิมในประเทศพม่า)
หิมพานต์ : มีหิมะ, ปกคลุมด้วยหิมะ, ชื่อภูเขาใหญ่ที่อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย บัดนี้เรียกภูเขาหิมาลัย, ป่าที่อยู่รอบบริเวณภูเขานี้ ก็เรียกกันว่าป่าหิมพานต์, หิมวันต์ ก็เรียก
อินทปัตถ์ : ชื่อนครหลวงของแคว้นกุรุ แคว้นกุรุอยู่ ณ บริเวณลุ่มน้ำยมุนาตอนบน รวมมณฑลปัญจาบลงมา เมืองอินทปัตถ์อยู่ ณ บริเวณเมืองเดลี นครหลวงของอินเดียปัจจุบัน
อุปจาร : เฉียด, จวนเจียน, ที่ใกล้ชิด, ระยะใกล้เคียง, ชาน, บริเวณรอบๆ; ดังตัวอย่างคำว่า อุปจารเรือน อุปจารบ้าน แสดงตามที่ท่านอธิบายในอรรถกถาพระวินัยดังนี้
ปริเวณ : นป. บริเวณ, ขอบเขต; ถิ่นที่อยู่
อวจร : ๑. นป. การท่องเที่ยวไป, ชั้น, แดน, บริเวณ, เขต, วิสัย ;
๒. ค. ซึ่งท่องเที่ยวไป, ซึ่งอยู่อาศัย
กฐินมณฺฑป : ป. บริเวณที่พระภิกษุขึงผ้ากฐินทำให้เป็นจีวร
คพฺภ : (ปุ.) ท้อง ชื่อส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่ลงไปจนถึงบริเวณต้นขา มี สะดืออยู่กลางมีกระเพาะและใส้อยู่ภายใน เรียกได้ทั้งของผู้หญิงและของผู้ชาย, ครรภ์ เรียกเฉพาะของผู้หญิง. คุ สทฺเท, อโภ, อุสฺส อตฺตํ, ทฺวิตฺตํ (แปลง อุ เป็น อ แปลง ภ เป็น พฺภ). ครฺ วา เสจเน, อโภ. แปลง รฺ เป็น พฺ หรือตั้ง คพฺภฺ ธารเณ, อ.
เคฏฐาน : นป. ที่ตั้งบ้าน, บริเวณบ้าน, บริเวณที่อยู่อาศัย
ETipitaka Pali-Thai Dict : ปริเวณ, more results...