เกสา : ผม
ปุริสสัพพนาม : คำทางไวยากรณ์ หมายถึงคำแทนชื่อเพื่อกันความซ้ำซาก ในภาษาบาลีหมายถึง ต, ตุมฺห, อมฺห, ศัพท์ในภาษาไทย เช่น ฉัน, ผม, ท่าน, เธอ, เขา, มัน เป็นต้น
ตจปัญจกกัมมัฏฐาน : กัมมัฏฐานมีหนังเป็นที่คำรบ ๕, กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กัมมัฏฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของปฏิกูล หรือโดยความเป็นสภาวะอย่างหนึ่งๆ ตามที่มันเป็นของมัน ไม่เอาใจเข้าไปผูกพันแล้วคิดวาดภาพใฝ่ฝันตามอำนาจกิเลส พจนานุกรมเขียน ตจปัญจกกรรมฐาน เรียกอีกอย่างว่า มูลกัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานเบื้องต้น)
ทวัตติงสาการ : อาการ ๓๒, ส่วนประกอบที่มีลักษณะต่างๆ กัน ๓๒ อย่าง ในร่างกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (อุจจาระ) มันสมอง ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ปัสสาวะ); ในขุททกปาฐะ (ฉบับสยามรัฐ) เรียงลำดับมันสมองไว้เป็นข้อสุดท้าย; ทวัตดึงสาการ หรือ ทวดึงสาการ ก็เขียน
ปฐวีธาตุ : ธาตุดิน คือธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า; อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงปฐวีธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และที่จะให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน แต่ในทางพระอภิธรรม ปฐวีธาตุเป็นสภาวะพื้นฐานที่มีอยู่ในรูปธรรมทุกอย่าง แม้แต่ในน้ำและในลมที่เรียกกันสามัญ ซึ่งรู้สึกถูกต้องได้ด้วยกายสัมผัส
Budhism Thai-Thai Dict : ผม, more results...
ก. : ๑. ป. พระพรหม ; ลม; ไฟ ; ใจ;
๒. นป. หัว, ผม; น้ำ;
๓. ส. ใคร? อะไร? สิ่งไหน?
ชฏา : (อิต.) ผมเกล้า, ผมที่เกล้า, เกล้าผม, มวยผม (ผมที่เกล้าเป็นมวยสูงขึ้น), ผม เกล้าของดาบส, เทริด ชื่อเครื่องประดับ ศรีษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า, เชิง คือตีน ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่ง บางอย่าง ชายหรือปลายของบางสิ่ง บางอย่าง, ความยุ่ง, ความรุงรัง, ความรก, ชัฏ ( ป่ารก ป่าทึบ เชิง ), ชฎา ชื่อเครื่อง สวมศรีษะ คล้ายมงกุฎ. ชฏฺ ชฏเน สงฺฆาเต วา, อ. ส. ชฎา.
กายคตาสติ : (อิต.) สติอันไปแล้วในกาย, สติอันไปในกาย, กายคตาสติ คือการใช้ สติควบคุมจิตพิจารณาร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ เป็นต้น ให้เห็นว่าไม่งาม.
เกส : (ปุ.) ผม วิ. เก สีเส เสนฺตีติ เกสา. กปุพฺโพ, สิ วุฑฺฒิยํ, อ. เก มตฺถเก เสติ ติฏฺฐตีติ เกโส. ก ปุพฺโพ, สี สเย, อ. ส.เกศ
ตจปญฺจกกมฺมฏฺฐาน : (นปุ.) กัมมัฎฐานมี ประชุมแห่งอาการห้ามีหนังเป็นที่สุดเป็น อารมณ์ มี วิ. ดังนี้ :- ๑ กณฺ ปัจ. สมุหตัท. ปญฺจนฺนํ อาการานํ สมุโห ปญฺจกํ ฉ.ตุล. ตโจ ปริยนฺโต ยสฺส ตํ ตจ ปริยนฺตํ วิเสสนบุพ.กัม ตจปริยนฺตญฺจ ตํ ปญฺจ- กญฺจาติ ตจปญฺจกํ. ฉ. ตุล ตจปญฺจกํ อารมฺมณํ ยสฺส ตํ ตจฺปญฺจการมฺมณํ. วิเสสนบุพ.กัม. ตจปญฺจการมฺมณญฺจ ตํ กมฺมฏฺฐานญฺจาติ ตจปญฺจกกมฺมฏฐานํ. นอกจากนี้ยังมีสำนวน แปลอย่างอื่นอีก คือกัมมัฏฐานมีหมวด แห่งส่วนห้าแห่งอาการมีหนังเป็นที่สุด เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานอันบัณฑิตกำหนด ด้วยอาการมีหนังเป็นที่ห้าด้วยอารมณ์, พึง ตั้ง วิ. ตามสำนวนแปล. กัมมัฏฐานนี้เป็น กัมมัฏฐานแรก ซึ่งพระอุปัชฌาย์สอนนาค ก่อนที่จะบรรพชาอุปสมบท สำหรับใช้ ภาวนาจึงเรียกว่า มูลกัมมัฏฐาน เป็น สมถกัมมัฏฐานก็ได้เป็นวิปัสสนากัมมัฏ- ฐานก็ได้ แล้วแต่การภาวนาว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา ทขา โลมา เกสา ไม่ได้พิจารณาว่า ผม ฯลฯ ไม่งาม ฯลฯ ก็เป็นสมถกัมมัฏฐาน ถ้าพิ – จารณาผม ฯลฯ แยกให้เห็นเป็น สามัญ – ลักษณะ ก็เป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน.
ETipitaka Pali-Thai Dict : ผม, more results...