ฝึกฝน : ก. เพียรฝึก, พยายามฝึก, เช่นฝึกฝนตนเองให้ชำนาญในการ เย็บปักถักร้อย.
หัด ๒ : ก. ฝึก, ฝึกฝน, ทําให้ชํานาญ.
ค่ายอาสาพัฒนา : น. ค่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายเพื่อ ส่งเสริมหรือฝึกฝนให้เยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกันบําเพ็ญประโยชน์ ต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน.
เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
เรื้อ : ก. ขาดการฝึกฝนเสียนาน เช่น ไม่ได้พูดภาษาฝรั่งเศสมานานเลยเรื้อไป, ห่างไปนาน เช่น เรื้อเวที เรื้อสังเวียน. น. เรียกข้าวเปลือกที่ตกอยู่แล้ว งอกขึ้นจนออกรวงอีกว่า ข้าวเรื้อ, บางทีก็เรียกว่า ข้าวเรื้อร้าง, ใช้เรียก พืชผลบางชนิดที่เกิดขึ้นในทํานองนี้ เช่น แตงโม ว่า แตงโมเรื้อ. เรื้อรัง ว. ยืดเยื้อ, นานหาย, (ใช้แก่โรค) เช่น วัณโรคเรื้อรัง แผลเรื้อรัง.
ลับสมอง : ก. ฝึกฝนใช้สติปัญญา.
วิชา : น. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
อ่อนหัด : ว. ที่ฝึกฝนมาน้อย, ไม่ชํานาญ.
ฆราวาสธรรม : หลักธรรมสำหรับการครองเรือน, ธรรมของผู้ครองเรือน มี ๔ อย่างคือ ๑.สัจจะ ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน ๒.ทมะ ความฝึกฝน ปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเองปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมให้ได้ดี ๓.ขันติ ความอดทน ๔.จาคะ ความเสียสละ เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ
ทมะ : การฝึก, การฝึกฝนปรับปรุงตน, การรู้จักข่มจิตข่มใจ บังคับควบคุมตนเองได้ ไม่พูดไม่ทำเพียงตามที่อยาก แต่พูดและทำตามเหตุผลที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าดีงามสมควรเป็นประโยชน์ รู้จักปรับตัวปรับใจ และแก้ไขปรับปรุงตนด้วยปัญญาไตร่ตรองให้งอกงามดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ (ข้อ ๒ ใน ฆราวาสธรรม ๔)
ธรรมไพบูลย์ : ความไพบูลย์แห่งธรรม, ความพรั่งพร้อมเต็มเปี่ยมแห่งธรรม ด้วยการฝึกฝนอบรมให้มีในตนจนบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหลาย ดู ไพบูลย์ เวปุลละ
วินัย : ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม, ประมวลบทบัญญัติข้อบังคับสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติ; วินัย มี ๒ อย่างคือ ๑.อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือวินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ ปาริสุทธิศีล ๔ ๒.อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือ กุศลกรรมบท ๑๐
ศีลพรต : ศีลและวัตร, ศีลและพรต, ข้อที่จะต้องสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล ข้อที่พึงถือปฏิบัติชื่อว่า วัตร, หลักความประพฤติทั่วไป อันจะต้องรักษาเสมอกัน ชื่อว่า ศีล ข้อปฏิบัติพิเศษเพื่อฝึกฝนตนให้ยิ่งขึ้นไป ชื่อว่า วัตร
Budhism Thai-Thai Dict : ฝึกฝน, more results...
กตพุทฺธิ : ค. ผู้มีใจอันฝึกฝนแล้ว, ผู้ฉลาด
โครณ : นป. ความพยายาม, การฝึกฝน
ทนฺตตา : อิต. ความเป็นผู้มีตนอันฝึกฝนแล้ว, ภาวะที่ได้รับการฝึกหัดอบรมแล้ว
ทนฺตภาว : ป. ความเป็นผู้มีตนอันฝึกฝนแล้ว, ภาวะที่ได้รับการฝึกหัดอบรมแล้ว
ทนฺตภูมิ : อิต. ภูมิแห่งบุคคลผู้มีตนอันฝึกฝนแล้ว, ระดับจิตของท่านผู้ฝึกฝนอบรมตนแล้ว, พระนิพพาน
ทนฺติ : (อิต.) การทรมาน, การฝึก, การฝึกหัด, การฝึกฝน, ความทรมาน, ฯลฯ. ทมฺ ทมเน, ติ. แปลง มฺ เป็น นฺ หรือแปลง ติ เป็น นฺติ แล้วลบที่สุดธาตุ.
ทม : (ปุ.) การทรมาน, การฝึก, การฝึกหัด, การฝึกฝน, การฝึกสอน, การข่ม, การข่มขี่, การข่มใจ, การปราบ, การอดทน, ความทรมาน, ฯ ลฯ , อาชญา, การปรับไหม, ความรอบรู้, ปัญญา. วิ. ทมนํ ทโม. ทมฺ ทมเน, อ. ส. ทม.
อตฺตทนฺต : ค. ผู้ฝึกฝนตนเองแล้ว