ฝืน : ก. ต้องจําใจทําสิ่งที่ไม่อยากจะทํา เช่น ฝืนกิน ฝืนทํา; ขัด, ไม่ทําตาม, เช่น ฝืนระเบียบ; ขืน, ขืนไว้, เหนี่ยวรั้ง, เช่น ฝืนใจ.
ฝืนท้อง : ก. อาการที่หมอตําแยโกยลูกที่อยู่ในท้องซึ่งเลื่อนลงไป ข้างล่างให้กลับมาอยู่ที่เดิม, โกยท้อง.
ฟืน : น. ไม้สําหรับใช้เป็นเชื้อไฟ, ลักษณนามเรียกตามลักษณะ เช่น ดุ้น อัน ท่อน ชิ้น.
แค่น : ก. ฝืน เช่น แค่นกิน, คะยั้นคะยอ เช่น แค่นให้กิน, ทําไม่เป็นหรือ ไม่สันทัดแล้วยังอวดดีขืนทํา เช่น แค่นทำ, สะเออะ เช่น ไม่มีเงิน ยังแค่นแต่งตัวโก้.
ฝน ๑ : น. นํ้าที่ตกลงมาจากเมฆเป็นเม็ด ๆ; ลักษณนามใช้นับอายุ หมายความว่า รอบปี, ขวบปี, เช่นควาย ๓ ฝน คือ ควายที่มีอายุ ๓ ปี เขาผ่านร้อน ผ่านหนาวมา ๑๘ ฝน.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ฝืน, more results...
ปฏิสสวะ : การฝืนคำรับ, รับแล้วไม่ทำตามรับ เช่น รับนิมนต์ว่าจะไปแล้วหาไปไม่ (พจนานุกรม เขียน ปฏิสวะ)
สันโดษ : ความยินดี, ความพอใจ, ยินดีด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่งผ้าห่ม อาหารที่นอนที่นั่ง และยา ตามมีตามได้, ยินดีของของตน, การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ด้วยความเพียรพยายามอันชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร; สันโดษ ๓ คือ ๑.ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน ก็พอใจด้วยสิ่งนั้น ไม่เดือดร้อนเพราะของที่ไม่ได้ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่นไม่ริษยาเขา ๒.ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง คือพอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกายสุขภาพและขอบเขตการใช้สอยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดายไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน ๓.ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร คือ พอใจตามที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนว ทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่นภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะกับสมณภาวะ หรือได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับตนแต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็นำไปมอบให้แก่เขา เป็นต้น; สันโดษ ๓ นี้เป็นไปในปัจจัย ๔ แต่ละอย่าง จึงรวมเรียกว่า สันโดษ ๑๒
ผ้าอาบน้ำฝน : ผ้าสำหรับอธิษฐานไว้ใช้นุ่งอาบนำฝนตลอด ๔ เดือนแห่งฤดูฝน ซึ่งพระภิกษุจะแสวงหาได้ในระยะเวลา ๑ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๗ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ และให้ทำนุ่งได้ในเวลากึ่งเดือน ตั้งแต่ขึ้น ๑ ถึง ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ปัจจุบันมีประเพณีทายกทายิกาทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนตามวัดต่างๆ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘; เรียกเป็นคำศัพท์ว่า วัสสิกสาฏิกา หรือ วัสสิกสาฏก; คำถวายผ้าอาบน้ำฝนเหมือนคำถวายผ้าป่า เปลี่ยนแต่ ปํสุกูลจีวรานิ เป็น วสฺสิกสาฏิกานิ และผ้าบังสุกุลจีวร เป็นผ้าอาบน้ำฝน
กาลทาน : ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา เช่น การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้
จำพรรษา : อยู่ประจำวัด ๓ เดือนในฤดูฝน คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (อย่างนี้เรียกปุริมพรรษา แปลว่า พรรษาต้น) หรือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ (อย่างนี้เรียก ปัจฉิมพรรษา แปลว่า พรรษาหลัง); วันเข้าพรรษาต้น คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ เรียกว่า ปุริมิกา วัสสูปนายิกา, วันเข้าพรรษาหลัง คือ แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ เรียกว่า ปัจฉิมิกา วัสสูปนายิกา ; คำอธิษฐานพรรษา ว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ; ทุติยมฺปี อิมสฺมึ....; ตติยมฺปิ อิมสฺมึ....แปลว่า ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในวัดนี้ (วิหาเร จะเปลี่ยนเป็น อาวาเส ก็ได้) ; อานิสงส์การจำพรรษามี ๕ อย่าง คือ ๑.เที่ยวไปไม่ต้องบอกลา ๒.จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบสำรับ ๓.ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ ๔.เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา ๕.จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอ อานิสงส์ทั้ง ๕ นี้ได้ชั่วเวลาเดือนหนึ่ง นับแต่ออกพรรษาแล้ว คือ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ นอกจากนั้นยังได้สิทธิที่จะกรานกฐิน และได้รับอานิสงส์ ๕ นั้น ต่อออกไปอีก ๔ เดือน (ภิกษุผู้เข้าพรรษาแล้วหลัง ไม่ได้อานิสงส์หรือสิทธิพิเศษเหล่านี้)
Budhism Thai-Thai Dict : ฝืน, more results...
กฏฐ : ๑. นป. เศษไม้, ฟืน, ความลำบากกาย, ป่าทึบ, หมู่ไม้
๒. เลว, ไร้ประโยชน์;
๓. กิต. ไถแล้ว
กฏฐขณฺฑ : ป. ท่อนไม้, ชิ้นไม้, ฟืน
ทารุก : นป., ค. ท่อนไม้, ฟืน; ทำด้วยไม้
กฏฺฐ : (นปุ.) ไม้, ตัวไม้, ฟืน. วิ. กาสเต อคฺคินา ทิปฺปเตติ กฏฺฐํ. กาสฺ ทิตฺติยํ, โต, สสฺส โฏ, รสฺโส, ตสฺส โฐ, ตสฺส ฎฺโฐ วา. ถ้าใช้นัย หลังคือ แปลง ต เป็น ฏฺฐ ก็ลบที่สุดธาตุคือ สุ. กสติ ยาติ วินาสตีติ วา กฏฺฐํ. กสฺ คติยํ, โต. กัจฯ ๖๗๒ วิ. กฏิตพฺพํ มทฺทิตพฺพนฺติ กฏฺฐํ. กฏฺ มทฺทเน, โฐ.
กรุณาชล : นป. น้ำแห่งความกรุณา, สาย (ฝน) แห่งความเอ็นดู
ETipitaka Pali-Thai Dict : ฝืน, more results...