พบปะ : ก. พบด้วยความสนิทสนมคุ้นเคย.
บรรจวบ : [บัน-] ก. ประจวบ, ประสบ, พบปะ, สบเหมาะ, บังเอิญพบ.
ประสบ : ก. พบ, พบปะ, พบเห็น.
พะพาน : ก. พ้องพาน เช่น อย่าให้ความชั่วมาพะพาน, พบปะ เช่น ไม่ได้ พบปะพะพานมานาน, เกี่ยวพัน เช่น กิ่งไม้ยื่นมาระพะพาน.
พาน ๕ : ก. พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคํา พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ, เช่น ไม่ได้พบพานเสียนาน; ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง, เช่น เอาเชือกมา พานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง, กั้นไว้ เช่น พานคนข้างหลังไว้, ระให้หมดไป เช่น เอาไม้กวาดพานหยากไย่.
นัด ๑ : ก. ตกลงกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะกําหนด. น. การกําหนด ตกลงว่าจะพบปะกันเป็นต้น เช่น มีนัด ผิดนัด; ลักษณนามเรียกการ กําหนดประชุมครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ขาดประชุม ๓ นัด.
พ่อสื่อ : น. ชายที่ทำหน้าที่ชักนําชายหญิงให้พบรู้จักรักใคร่และ แต่งงานกัน, ชายผู้ช่วยเหลือให้คู่รักได้ติดต่อหรือพบปะกัน.
สังคม, สังคม : [คมมะ] น. คนจํานวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการ หรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับ การพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).
สังสรรค์ : ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงาน สังสรรค์กันในหมู่พนักงาน เพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันในงาน ชุมนุมศิษย์เก่า. ว. ที่พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความ สนิทสนม เช่น งานสังสรรค์. (ส. สํสรฺค).
สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).