ธมฺมธาตุ : (ปุ.) ชนผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม, พระ ธรรมธาดา หมายเอาพระบรมศาสดา.
มหาธาตุ : (ปุ. อิต.) ธาตุใหญ่, ทองคำ, มหาธาตุ เป็นคำเรียกสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และเป็นคำเรียกวัด ซึ่งมีสถูปหรือสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เช่น วัดมหาธาตุ วัดพระศรีรัตน มหาธาตุ วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นต้น.
อนุสย : (ปุ.) ความเดือดร้อนในภายหลัง(ปจฺฉาตาป), ความเดือดร้อนใจ (วิปฺปฏิสาร)ความติดตาม (อนุพนฺธ), ความเป็นไปบ่อยๆ, ความเป็นไปเสมอ (ปุนปฺปุนํ ปวตฺตนํ), ธรรมเป็นที่นอนตาม, อนุสัย.วิ.สนฺตาเนอนุเสนฺตีติอนุสยา.อนุรูปํการณํลภิตฺวาเสนฺติอุปฺปชฺชนฺตีติวาอนุสยา.อนุเสตีติวาอนุสโย.สิสีวาสเย, อ.อนุสัยเป็นชื่อของกิเลสอย่างละเอียดมี ๗ คือกามราคะปฏิฆะทิฏฐิวิจิกิจฉามานะภวราคะและอวิชชาซึ่งนอนเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นเชื้อนอนนิ่งอยู่เมื่อไม่มีอารมณ์มากระทบอายตนะภายในก็ดูเหมือนเป็นคนไม่มีกิเลสแต่ความจริงอนุสัยทั้ง ๗ มีอยู่ จะเรียกคนอย่างนี้ว่านิพพานชั่วขณะไม่ได้ คำนิพพานที่ใช้ในพระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาตรัสเรียกเฉพาะผู้ที่ละกิเลสอย่างละเอียดทั้ง ๗ นี้ได้สิ้นเชิงเป็นสมุจเฉทฉะนั้น จะเรียกคนที่มีกายวาจาและใจดูเรียบร้อย แต่ใจยังมีอนุสัย ๗ อยู่ แม้ผู้นั้นจะได้ฌานชั้นใดชั้นหนึ่งหรือทั้ง ๘ ชั้นก็ตามว่านิพพานชั่วขณะไม่ได้.อนุสัย ๗ นี้ละได้ด้วยปัญญา (วิปัสสนา) อย่างเดียว.ส.อนุศย.
อนูปวาท : (ปุ.) การไม่เข้าไปกล่าว, การไม่กล่าวโทษ, การไม่กล่าวร้าย, การไม่ว่าร้ายอนูปวาทะ (การไม่เบียดเบียนด้วยวาจาคือการไม่พูดดูถูกเขาดูหมิ่นเขาข้อนขอด-เขา).อนูปฺฆาตะ และ อนูปวาทะเป็นคุณสมบัติของผู้เผยแพร่ (เผยแผ่) พระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาตรัสไว้ในโอวาท-ปาติโมกข์.