Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พระหัตถ์ .

Eng-Thai Lexitron Dict : พระหัตถ์, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : พระหัตถ์, 13 found, display 1-13
  1. ลายพระหัตถ์ : (N) ; majesties' handwriting ; Related:handwriting ; Syn:ลายมือ ; Samp:เอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ ลายพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีไปถึงหม่อมเจ้าประภากร ลงวันที่ 23 กันยายน ร.ศ. 115
  2. หัตถ์ : (N) ; hand ; Syn:มือ, พระหัตถ์ ; Samp:ภาพนี้เป็นภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  3. ถุงมือ : (N) ; glove ; Syn:ถุงสวมมือ, ถุงพระหัตถ์ ; Ant:ถุงเท้า ; Def:เครื่องสวมมือทำจากวัสดุต่างๆ เช่น ไหม ผ้า หนังสัตว์ เป็นต้น สำหรับสวมมือโดยมีช่องเล็กให้นิ้วแต่ละนิ้วสอดลงไปได้ ใช้เพื่อป้องกันความหนาวเย็น หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่น ; Samp:อากาศหนาวจัด เราจึงต้องสวมถุงมือ ; Unit:ข้าง, คู่
  4. ทุกรกิริยา : (N) ; name of a Buddha posture ; Def:ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง 2 ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์)
  5. มารวิชัย : (N) ; Lord Buddha ; Syn:มารวิชิต, มารชิ, มารวิชิต, พระพุทธเจ้า ; Def:พระพุทธรูปปางนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ ในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางสะดุ้งมาร หรือ พระปางมารสะดุ้ง ก็เรียก ; Samp:พระพุทธชินสีห์เป็นพระเนื้อโลหะปางมารวิชัยหน้าตัก 5 ศอกคืบ 4 นิ้ว
  6. มารวิชัย : (N) ; Lord Buddha ; Syn:มารวิชิต, มารชิ, มารวิชิต, พระพุทธเจ้า ; Def:พระพุทธรูปปางนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ ในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางสะดุ้งมาร หรือ พระปางมารสะดุ้ง ก็เรียก ; Samp:พระพุทธชินสีห์เป็นพระเนื้อโลหะปางมารวิชัยหน้าตัก 5 ศอกคืบ 4 นิ้ว
  7. ห้ามญาติ : (N) ; style of Buddha image ; Syn:ปางห้ามญาติ ; Def:พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ขวาแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม ; Samp:พระปางห้ามญาติมีอยู่แทบทุกวัด
  8. ห้ามสมุทร : (N) ; style of Buddha image ; Syn:ปางห้ามสมุทร ; Def:พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้ง 2 แบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม ; Samp:พระปางห้ามสมุทรก็พอหาดูได้
  9. พระบรมศาสดา : (N) ; Lord Buddha ; Syn:พระพุทธเจ้า ; Samp:พระพุทธรูปปางรำพึง แสดงถึงรูปลักษณ์ของพระบรมศาสดา ในอิริยาบถประทับพระหัตถ์ทั้งสองประสานพระอุระ ; Unit:พระองค์
  10. มีเกียรติ : (V) ; be honorable ; Related:be honored, be respected, be respectable ; Syn:เป็นเกียรติ ; Samp:นิสิตเรียนดีรู้สึกมีเกียรติมากเมื่อได้รับพระราชทานรางวัลจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  11. สมุดเยี่ยม : (N) ; visitor's book ; Samp:เมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ เจ้าของภัตตาคารทูลขอพระราชทานลายพระหัตถ์ลงในสมุดเยี่ยม ; Unit:เล่ม
  12. สามง่าม : (N) ; trident ; Def:เรียกอาวุธที่มีปลายแหลมเป็น 3 แฉกเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน ด้ามยาว ; Samp:ในพระหัตถ์ของพระอิศวรประกอบด้วยจักรกับสามง่าม ; Unit:เล่ม
  13. หัตถ์ : (N) ; hand ; Syn:มือ ; Samp:ภาพนี้เป็นภาพฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

Royal Institute Thai-Thai Dict : พระหัตถ์, more than 5 found, display 1-5
  1. ฉลองพระหัตถ์ : (ราชา) น. ช้อนส้อม, ตะเกียบ, มีดสำหรับโต๊ะอาหาร, ใช้ว่า ฉลองพระหัตถ์ช้อนส้อม ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ ฉลองพระหัตถ์มีด.
  2. ลายพระหัตถ์ : (ราชา) น. ลายมือ; จดหมาย.
  3. ทุกรกิริยา : น. การกระทํากิจที่ทําได้โดยยาก ได้แก่ การทําความเพียร เพื่อบรรลุธรรมวิเศษ; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ ทั้ง ๒ ประสานพระอุระ. (พุทธเจดีย์). (ป. ทุกฺกรกิริยา).
  4. นาคาวโลก : [คาวะ] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวา ห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติเอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไป ข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่าง ไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.
  5. มารวิชัย : [มาระ-, มาน-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระ อิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่ พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. (ป.).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : พระหัตถ์, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : พระหัตถ์, 1 found, display 1-1
  1. อนุพยัญชนะ : ลักษณะน้อยๆ, พระลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ (นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒) อีก ๘๐ ประการ คือ ๑) มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม, ๒) นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไป โดยลำดับแต่ต้นจนปลาย, ๓) นิ้วพระหัตถ์ แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี, ๔) พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง, ๕) พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง, ๖) พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลม สนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๗) ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก, ๘) พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา, ๙) พระดำเนินงานดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ, ๑๐) พระดำเนินงามดุจสีหราช, ๑๑) พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์, ๑๒) พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน, ๑๓) ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน, ๑๔) พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก, ๑๕) มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖) พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง, ๑๗) พระอุทรมีสัณฐานอันลึก, ๑๘) ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏ, ๑๙) ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี, ๒๐) ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี, ๒๑) พระอังคาพยใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้, ๒๒) พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งประสรีรกาย, ๒๓) พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔) พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง, ๒๕) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง, ๒๖) พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง, ๒๗) ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ, ๒๘) มีพระนาสิกอันสูง, ๒๙) สัณฐานนาสิกงามแฉล้ม ๓๐) มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก, ๓๑) พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน, ๓๒) พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์, ๓๓) พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย, ๓๔) พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น, ๓๕) พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์, ๓๖) ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗) พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน, ๓๘) ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก, ๓๙) ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐) ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑) ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง, ๔๒) รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ ๔๓) กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔) กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕) ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖) ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗) พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘) พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้างมีพรรณอันแดงเข้ม ๔๙) พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐) ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑) ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง ๕๒) แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓) พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔) ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕) พระนลาฏมีสัณฐานอันงาม ๕๖) พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗) พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘) เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙) พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐) พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑) ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒) พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓) พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔) พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕) พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖) กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗) พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘) พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙) ลมอัสสาสะและปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐) พระโอษฐมีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑) กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒) พระเกสาดำเป็นแสง ๗๓) กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔) พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕) พระเกสามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖) พระเกสาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗) พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘) เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙) เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏฏทุกๆ เส้น ๘๐) วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ฯ นิยมเรียกว่า อสีตยานุพยัญชนะ; ดู มหาบุรุษลักษณะ

ETipitaka Pali-Thai Dict : พระหัตถ์, 2 found, display 1-2
  1. จกฺกปาณิ : (ปุ.) พระจักกปาณิ (ผู้มีจักรใน พระหัตถ์) ชื่อพระนารายณ์ ชื่อ ๑ ใน ๕ ชื่ออีก๕ ชื่อถือ วาสุเทว หริ กณฺห เกสว. พระนารายณ์หรือพระวิษณุ เป็นชื่อของพระเจ้า องค์เดียวกัน เป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู.
  2. มารวิชย : (ปุ.) การชนะวิเศษซึ่งมาร, การชนะมาร, ความชนะมาร, มารวิชัย (ผู้ชนะมาร). เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้า. คำ มารวิชัย นี้ไทยใช้เรียก พระพุทธรูปปางชนะมาร คือ ประทับนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาพาดพระชานุ (เข่า).

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : พระหัตถ์, not found

(0.0397 sec)