พิราบ : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา รูปร่าง คล้ายกันแต่ขนาดใหญ่กว่า ส่วนใหญ่ลําตัวสีเทาอมฟ้า หากินบน พื้นดิน กินเมล็ดพืช ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Columba livia. (ส. วิราว, พิราว, พิราพ ว่า เสียงร้อง).
เขา ๓ :
น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกลุมพูและนกพิราบ ขนสีนํ้าตาล บางชนิดออกสีนํ้าตาลแดง ลําตัวมีลาย มักอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง หากินเมล็ดพืชบนพื้นดิน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เขาใหญ่ หรือ เขาหลวง (Streptopelia chinensis) เขาไฟ (S. tranquebarica) เขาชวา (Geopelia striata). เขาเปล้า ดู เปล้า๒.
คู ๒ : ก. กิริยาที่นกบางชนิดเช่นนกเขาหรือนกพิราบขันหรือร้อง, โดยปริยาย หมายความว่า พูดแทะโลมกัน เช่น ข้อยคูดนูแนบนิทรา. (สรรพสิทธิ์).
ตะกั่วตัด : ว. สีนกพิราบหรือสีเทาอมฟ้า.
เปล้า ๒ : [เปฺล้า] น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา และนกพิราบ ลําตัวสีเขียวเห็นได้ชัด แต่ละชนิดแตกต่างกันตรงสี ที่หน้าอกและไหล่ซึ่งอาจมีสีม่วงหรือนํ้าตาล กินผลไม้ หากินเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น ชนิด Treron curvirostra ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เปล้าขาเหลือง (T. phoenicoptera) เปล้าคอสีม่วง (T. vernans) เปล้าใหญ่ปักษ์ใต้ (T. capellei), เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า.
แพน ๑ : ก. แผ่ออก, กระจายออกไป, เช่น นกยูงแพนหาง นกพิราบแพนหาง. น. หางนกบางชนิดที่แผ่ออกไปเป็นแผ่น เช่น แพนหางนกยูง แพน หางนกพิราบ, สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แพนสําหรับคัดท้ายแพซุง.
ลุมพู : น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ขนาดใหญ่กว่านกพิราบ อาศัยตาม ป่าสูง กินผลไม้ มีหลายชนิด เช่นชนิด Ducula aenea ลุมพูขาว (D. bicolor), กระลุมพู ก็เรียก.