Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ฟุ้งซ่าน , then ฟงซาน, ฟุ้งซ่าน .

Eng-Thai Lexitron Dict : ฟุ้งซ่าน, 5 found, display 1-5
  1. woolgathering : (ADJ) ; ฟุ้งซ่าน ; Related:ใจลอย, ฝันกลางวัน ; Syn:absent-minded, daydreamy
  2. muddle up : (PHRV) ; สับสน ; Related:ฟุ้งซ่าน, ไม่รู้เรื่อง ; Syn:jumble up, mix up
  3. amok : (N) ; ภาวะจิตฟุ้งซ่านที่มีการซึมเศร้าก่อนแล้วตามด้วยอารมณ์ที่ต้องการฆ่าคน
  4. fantasy : (N) ; การจินตนาการ ; Related:ความเพ้อฝัน, ความนึกฝัน, ความฟุ้งซ่าน ; Syn:imagination, fancy
  5. muddle : (VI) ; คิดเรื่อยเปื่อย ; Related:คิดฟุ้งซ่าน, คิดไร้สาระ, มั่ว ; Syn:confuse

Thai-Eng Lexitron Dict : ฟุ้งซ่าน, 5 found, display 1-5
  1. ฟุ้งซ่าน : (V) ; muddle ; Related:be distracted ; Syn:เพ้อเจ้อ ; Def:คิดวุ่นวายสับสนไปมาอย่างไม่มีจุดหมาย ; Samp:้หากจิตฟุ้งซ่านให้ใช้วิธีการนั่งสมาธิช่วย จะก่อให้เกิดความสุขกายสบายใจ
  2. อุทธัจ : (N) ; fantasy ; Syn:อุธัจ, ความฟุ้งซ่าน
  3. อุธัจ : (N) ; fantasy ; Syn:อุทธัจ, ความฟุ้งซ่าน
  4. สมถะ : (N) ; tranquility (of the mind) ; Related:contentment, unambitiousness, peace of mind, peacefulness, calmness, serenity ; Syn:ความสงบจิต ; Ant:ความฟุ้งซ่าน ; Samp:ท่านเป็นคนมีสมถะในการครองตน ไม่เข้าไปวุ่นวายกับสังคมมาก
  5. ระงับใจ : (V) ; restrain ; Related:curb, repress, check, suppress, hold back, control ; Syn:ข่มใจ, หักห้ามใจ ; Samp:ผมพยายามระงับใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน

Royal Institute Thai-Thai Dict : ฟุ้งซ่าน, 8 found, display 1-8
  1. ฟุ้งซ่าน : ก. ไม่สงบ, พล่านไป, ส่ายไป, (ใช้แก่จิต).
  2. เฟ้อ : ก. ฟุ้ง, ฟุ้งซ่าน, เหลิง; อืดขึ้น, พองขึ้น. ว. มากเกินควร, มากเกินไป, เช่น คะแนนเฟ้อ; เรียกอาการที่ลมในกระเพาะตีขึ้นเพราะอาหารไม่ย่อย และเป็นพิษว่า ท้องเฟ้อ; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียน ในประเทศมากเกินไป ทำให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า ว่า เงินเฟ้อ.
  3. นิวรณ์ : น. สิ่งห้ามกันจิตไว้มิให้บรรลุความดี มี ๕ ประการ คือ ความพอใจ รักใคร่ ๑ ความพยาบาท ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความฟุ้งซ่าน รําคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. (ป.).
  4. บาดทะจิต : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง มักกําเริบขึ้นเป็นครั้งคราว มีอาการหงุดหงิด จิตฟุ้งซ่าน.
  5. ฝันเฟื่อง : ก. คิดฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์.
  6. สติอารมณ์ : น. ความคิดที่ฟุ้งซ่าน เช่น สงบสติอารมณ์เสียบ้าง อย่าคิดมากไปเลย. (ป.).
  7. อุทธัจ : [อุดทัด] น. ความฟุ้งซ่าน; ความประหม่า, ความขวยเขิน; อุธัจ ก็ว่า. (ป. อุทฺธจฺจ ว่า ความฟุ้งซ่าน; ส. เอาทฺธตฺย).
  8. อุธัจ : น. ความฟุ้งซ่าน; ความประหม่า, ความขวยเขิน; อุทธัจ ก็ว่า. (ป. อุทฺธจฺจ ว่า ความฟุ้งซ่าน; ส. เอาทฺธตฺย).

Budhism Thai-Thai Dict : ฟุ้งซ่าน, 10 found, display 1-10
  1. จริต : ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลายที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ ๑.ราคจริต ผู้มีจาคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ) ๒.โทสจริต ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อนขี้หงุดหงิด) ๓.โมหจริต ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซึม งมงาย) ๔.สัทธาจริต ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ) ๕.พุทธิจริต ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา) ๖.วิตกจริต ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)
  2. จิตตะ : เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ, ความคิดฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย (ข้อ ๓ ในอิทธิบาท ๔)
  3. นิวรณ์ : ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ ๑.กามฉันท์ พอใจในกามคุณ ๒.พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ๓.ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
  4. นิวรณธรรม : ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ ๑.กามฉันท์ พอใจในกามคุณ ๒.พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ๓.ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
  5. วิตกจริต : พื้นนิสัยหนักในทางตรึก, มีวิตกเป็นปกติ, มีปกตินึกพล่านหรือคิดจับจดฟุ้งซ่าน, ผู้มีจริตชนิดนี้พึงแก้ด้วย เพ่งกสิณ หรือเจริญอานาปานสติ
  6. สมาธิ : ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ มักใช้เป็นคำเรียกง่าย ๆ สำหรับอธิจิตตสิกขา; ดู เอกัคคตา, อธิจิตตสิกขา
  7. สังโยชน์ : กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่ ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน ๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต ๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ ๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่ ๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม ๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่ ๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้, พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย, พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา
  8. อินทรีย์ : ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น 1) อินทรีย์ ๖ ได้แก่ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 2) อินทรีย์ ๕ ตรงกับ พละ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ธรรม ๕ อย่างชุดเดียวกันนี้ เรียกชื่อต่างกันไป ๒ อย่าง ตามหน้าที่ที่ทำ คือ เรียกชื่อว่า พละ โดยความหมายว่า เป็นกำลังทำให้เกิดความเข้มแข็งมั่นคง ซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ เรียกชื่อว่า อินทรีย์ โดยความหมายว่าเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งธรรมที่ตรงข้ามแต่ละอย่างคือความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงงมงาย ตามลำดับ
  9. อุทธัจจกุกกุจจะ : ความฟุ้งซ่านและรำคาญ, ความฟุ้งซ่านและความเดือดร้อนใจ (ข้อ ๔ ในนิวรณ์ ๕)
  10. อุทธัจจะ : ความฟุ้งซ่าน, จิตส่าย, ใจวอกแวก (พจนานุกรมเขียน อุทธัจ)

ETipitaka Pali-Thai Dict : ฟุ้งซ่าน, more than 5 found, display 1-5
  1. วฺยาสตฺต : ค. ข้องอยู่, ติดอยู่, ฟุ้งซ่าน
  2. วิกฺขิตฺต : กิต. ซัดไปแล้ว, ฟุ้งซ่าน, รบกวน, ยุ่งยาก
  3. อาลุเฬติ : ก. สับสน, ฟุ้งซ่าน, วุ่นวาย; ให้สับสน, ให้วุ่นวาย
  4. อาลุลติ : ก. ฟุ้งซ่าน, ขุ่นมัว, หมองหม่น
  5. ขิตฺตจิตฺต : (วิ.) ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน, ผู้ไม่สำรวมจิต.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : ฟุ้งซ่าน, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ฟุ้งซ่าน, not found

(0.1475 sec)