อายตนะภายใน : เครื่องต่อภายใน, เครื่องรับรู้มี ๖ คือ ๑) จักขุ ตา ๒) โสต หู ๓) ฆาน จมูก ๔) ชิวหา ลิ้น ๕) กาย กาย ๖) มโน ใจ; อินทรีย์ ๖ ก็เรียก
กาลทาน : ทานที่ให้ตามกาล, ทานที่ให้ได้เป็นครั้งคราวภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ให้ได้ตลอดเวลา เช่น การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น ซึ่งทายกจะถวายได้ตามกำหนดเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเท่านั้น ก่อนหรือเลยเขตกำหนดไปทำไม่ได้
กาลิก : เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ ๑.ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ ๒.ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๓.สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน ได้แก่เภสัชทั้ง ๕ ๔.ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น (ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)
เทวรูปนาคปรก : เทวรูปลักษณะคล้ายพระพุทธรูปนาคปรก แต่ภายในนาคปรกนั้นเป็นเทวรูป ไม่ใช่พระพุทธรูป ที่เทวสถานเมืองลพบุรีมีมาก เป็นของลัทธิพราหมณ์
บิณฑจาริกวัตร : วัตรของผู้เที่ยวบิณฑบาต, ธรรมเนียมหรือข้อควรปฏิบัติสำหรับภิกษุที่จะไปรับบิณฑบาต เช่น นุ่งห่มให้เรียบร้อย สำรวมกิริยาอาการ ถือบาตรภายในจีวรเอาออกเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาต กำหนดทางเข้าออกแห่งบ้านและอาการของชาวบ้านที่จะให้ภิกขาหรือไม่ รับบิณฑบาตด้วยอาการสำรวม รูปที่กลับมาก่อน จัดที่ฉัน รูปที่มาทีหลัง ฉันแล้วเก็บกวาด
Budhism Thai-Thai Dict : ภายใน, more results...