ภูษา : น. เครื่องนุ่งห่ม, ผ้าทรง. (ส.; ป. ภูสา ว่า เครื่องประดับ).
ภูษาโยง : น. แถบผ้าที่โยงจากปากโกศหรือหีบศพสําหรับคลี่ทอดไปยัง พระสงฆ์เมื่อทําพิธีกรรม เช่น บังสุกุล หรือโยงจากราชรถประดิษฐาน พระโกศไปยังรถนําหน้าพระศพ.
พนาด : น. เบาะสําหรับปูหลังช้างเพื่อออกป่า เช่น พรายพัสตร์พนาดพร้อม ภูษา. (ยวนพ่าย), ใช้ว่า พระนาด ก็มี.
เจ้าพนักงานภูษามาลา : น. ข้าราชการในราชสํานัก มีหน้าที่ถวายทรง พระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพ พระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวง เรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงานพระมาลา.
เชิงกรวย : (กลอน) น. กรวยเชิง เช่น ภูษาเชิงกรวยรูจี. (อิเหนา).
บังสุกุล : น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบน ด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปําสุกูล).
ภูษามาลา : น. ข้าราชการในราชสํานักมีหน้าที่ถวายทรงพระเครื่องใหญ่ ถวายพระกลด ถวายสุกํา ทําสุกํา เปลื้องเครื่องสุกําศพพระบรมศพ พระศพ และเปลื้องเครื่องสุกําศพที่ได้รับพระราชทานโกศ เป็นต้น เรียกว่า เจ้าพนักงานภูษามาลา, โบราณมีหน้าที่ถวายเครื่องต้นด้วย, ในกฎหมายตราสามดวงเรียกแยกเป็น พนักงานพระภูษา พนักงาน พระมาลา.
ภูสา : (อิต.) เครื่องประดับ, เครื่องแต่งตัว, เครื่องอาภรณ์, เครื่องนุ่งห่ม, ผ้านุ่ง, ผ้าห่ม, ผ้าทรง. ภูสฺ อลงฺกาเร, อ, อิตฺถิยํ อา.
ภูส : (นปุ.) ข้าวลีบ, เปลือกข้าว, แกลบ.
กรภูสา : (อิต.) เครื่องประดับของแขน, กำไล มือ. วิ. กรสฺส ภูสา กรภูสา.
ภุส : (วิ.) กล้า, มีกำลัง, ล้ำ (ยิ่ง), ดี, ดียิ่ง, ใหญ่ยิ่ง, นักหนา, หนักหนา, เลิศ, ประเสริฐ. ภสฺ วิปุลเน, อ, อสฺสุ. เป็น ภูส. บ้าง.
กณฺฐ ภูสา : (อิต.) เครื่องประดับคอ, สร้อยคอ, ประคำคอ. ส. กณฺฐภูษา.
อปฺปอปฺปก : (วิ.) น้อย, เล็ก, เล็กน้อย, นิดหน่อย, เบาบาง, ทราม, อ่อน.วิ.อเปสิอิสกมตฺตมคมาสีติอปฺปํ.อปฺปาปุณเน, โป.อลฺภูสเนวา, โป. ศัพทฺหลังกสกัด.ส.อลฺปก.
อลการอลงฺการ : (ปุ.) การประดับ, วิ. อลํ วิภูส-ณํกรียเตติอลํกาโร.อลงฺกาโรวา.ณ ปัจ.ส. อลงฺการ.