มหาวิทยาลัย : [มะหาวิดทะยาไล] น. สถาบันอุดมศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลายสาขาวิชา หรือหลายกลุ่มสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญา และประกาศนียบัตรบัณฑิตแก่ ผู้สําเร็จการศึกษา รวมทั้งดําเนินการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ.
ระหว่าง : น. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะ เวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียน หนังสืออยู่, เวลาที่กําลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คําที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือ สถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่าง มหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.
อนุศาสก : น. อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนในหอพักของวิทยาลัยหรือ มหาวิทยาลัย. (ส.; ป. อนุสาสก).
คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
คณบดี : [คะนะบอดี] น. หัวหน้าคณะในมหาวิทยาลัยหรือในสถาบัน ที่เทียบเท่า. (ป., ส. คณ + ปติ).
Royal Institute Thai-Thai Dict : มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, more results...
มหาวิชฺชาลย มหาวิทฺยาลย : (ปุ.) สถานที่สำหรับเข้าไปศึกษาความรู้ชั้นสูง, มหาวิทยาลัย ชื่อสถานศึกษาความรู้ชั้นอุดม.
คณ : (ปุ.) การนับ, การคำนวณ, หมวด, หมู่, ฝูง, พวก, ปนะชุม, หมู่แห่งภิกษุ, คณะ (กลุ่มชนกลุ่มหนึ่งๆ หรือแผนกหนึ่งๆของ มหาวิทยาลัย). วิ. คณียติ อวยเวน สหาติ คโณ. คณฺ สํขฺยาเณ, อ.
ปริญฺญา : (อิต.) ธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนดรู้, ปัญญาเป็นเครื่องกำหนดรู้, ความกำหนดรู้, ความรู้รอบ, ความรอบรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบคอบ. ปริ+ญา+อ ปัจ. ซ้อน ญฺ อา อิต. ไทย ปริญญา หมายถึงชั้นความรู้ ที่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย ซึ่งมีกฎหมาย กำหนดให้ให้ปริญญาได้ ประสาทให้แก่ผู้ที่ สอบความรู้ได้ตามที่กำหนดไว้. ส. ปรีชฺญา.
อธิการ : (ปุ.) คุณอันบุคคลพึงกระทำยิ่ง, คุณวิ-เศษเครื่องทำยิ่ง. ภาระ, หน้าที่, การปกครอง, การบังคับบัญชา, เรียกเจ้าอาวาสซึ่งมิได้เป็นเจ้าคณะว่าพระอธิการเรียก ผู้อำนวยการวิทยาลัยว่าอธิการถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเรียกว่าอธิการบดี.ส. อธิการ.
อธิการปกติ : (ปุ.) บุคคลผู้เป็นใหญ่ในหน้าที่, บุคคลผู้เป็นใหญ่ในการปกครอง, อธิการบดี(ผู้เป็นใหญ่ในการปกครองมหาวิทยาลัย).