มัจฉะ, มัจฉา : น. ปลา. (ป. มจฺฉ; ส. มตฺสฺย).
ชลชาติ : น. นํ้า เช่น ประพรมพระเจ้าด้วยชลชาติ. (ม. คําหลวง มัทรี); สัตว์นํ้า เช่น ลงดําสํ่ามัจฉา ชลชาติ. (โลกนิติ).
มัศยา : [มัดสะหฺยา] น. ปลา. (ส. มตฺสฺย, มตฺสฺยา; ป. มจฺฉ, มจฺฉา).
มฤจฉา : [มะริดฉา] ว. มิจฉา, ผิด. (ป. มิจฺฉา; ส. มิถฺยา).
มิจฉา : [มิดฉา] ว. ผิด, แผลงใช้ว่า มฤจฉา ก็มี. (ป. มิจฺฉา; ส. มถฺยา).
มิจฉาจาร : น. การประพฤติผิด. (ป. มิจฺฉา + อาจาร).
มิจฉาชีพ : น. การหาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, อาชีพที่ผิดกฎหมาย, เช่น เขาประกอบมิจฉาชีพ. ว. ที่หาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, ที่ประกอบอาชีพ ผิดกฎหมาย, เช่น พวกมิจฉาชีพ. (ป. มิจฺฉา + อาชีว).
มิถยา : [มิดถะหฺยา] ว. มิจฉา. (ส. มิถฺยา; ป. มิจฺฉา).
มจฺฉา : (ปุ.) ปลา วิ. มสติ ชลนฺติ มจฺโฉ (สัตว์ผู้ลูบคลำ คือว่ายในน้ำ). มสฺ อามสเน, โฉ. แปลง สฺ เป็น จฺ หรือตั้ง มรฺ ปาณ-จาเค, โฉ แปลง ฉ เป็น จฺฉ ลบ รฺ.
มจฺฉาทิพนฺธน : (นปุ.) อวน, แห.
มิจฺฉา : (อัพ. นิบาต) เหลาะแหละ, พราง, วิปริต, ผิด, ไม่จริง, เท็จ.
มุจฺฉา : (อิต.) ความวิงเวียน, ความสยบ (ฟุบลง) , ความสลบ (แน่นิ่ง หมดความรู้สึก), การวิงเวียน, การเป็นลม. มุจฺฉฺ โมหสมุสฺสเยสุ, อ, อิตฺถิยํ อา.
เกวฏฺฏ เกวตฺต : (ปุ.) คนผู้วนไปในน้ำเพื่ออัน จับซึ่งปลาเป็นต้น, ชาวประมง. วิ. เก อุทเก วฏฺฏนฺติ วตฺตนฺติ วา มจฺฉาทิคฺคหณตฺถํ อุมฺมุชฺชนนิมุชฺชนวเสน ปวตฺตนฺตีติ เกวฏฺฏา เกวตฺตา วา. เก อุทเก มจฺฉาทีนํ คหณตฺถาย วฏฺฏติ วตฺตติ วาติ เกวฏฺโฏ เกวตฺโต วา. กปุพฺโพ, วฏฺฏฺ วตฺตฺ วา วตฺตเน, อ. ไม่ลบ วิภัติบทหน้า.
มิจฺฉาจาร : (ปุ.) ความประพฤติผิด. วิ. มิจฺฉาจรณํ มิจฺฉาจาโร. มิจฺฉา วา จาโร มิจฺฉาจาโร.
สมาธิ : (ปุ.) ความตั้งมั่น, ความตั้งใจมั่น, ความตั้งมั่นด้วยดีแห่งจิต, ความตั้งมั่นด้วยดีในจิตในอารมณ์เดียว, ความไม่ส่ายไปแห่งจิต, ความสำรวมใจให้แน่วแน่, การตั้งจิตไว้ด้วยดีในอารมณ์เดียว, สมาธิ คือ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ความที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ ความที่จิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเฉพาะ ความที่จิตเพ่งอยู่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ. วิ. เอกาลมฺพเน สํ สุฏฐุ อาธานํ สมาธิ. สํปุพฺโพ, ธา ธารเณ, อิ. รูปฯ ๕๘๒ วิ. สมฺมา สมํ วา จิตฺตํ อาทธาตีติ สมาธิ. สมาธิใช้เป็นกุศลธรรมเป็นส่วนมากแต่ในที่บางแห่งท่านต้องการให้ชัดจึงเติมศัพท์ที่บ่งชัดไว้ข้างหน้าฝ่ายดี ท่านเติม สมฺมา เป็น สมฺมาสมาธิ ฝ่ายชั่ว ท่านเติม มิจฺฉา เป็นมิจฺฉาสมาธิ ดูคำ สติ ประกอบ. ส. สมาธิ.