ชฎิล : นักบวชประเภทหนึ่ง เกล้าผมมุ่นเป็นมวยสูงขึ้น มักถือลัทธิบูชาไฟ บางครั้งจัดเข้าในพวกฤษี
เมาลี : จอม, ยอด, ผมที่มุ่นเป็นจอม
โมลี : จอม, ยอด, ผมที่มุ่นเป็นจอม
ปฏิญาณ : การให้คำมนโดยสุจริตใจ, การยืนยัน
พาหุสัจจะ :
ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ ๑.พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก ๒.ธตา ทรงจำไว้ได้ ๓.วจสา ปริจิตา คล่องปาก ๔.มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ ๕.ทิฏฺยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี ดู พหูสูต
วุฏฐานคามินี : 1.วิปัสสนาที่ให้ถึงมรรค, วิปัสสนาที่เจริญแก่กล้าถึงจุดสุดยอด ทำให้เข้าถึงมรรค (มรรคชื่อว่าวุฏฐานะ โดยความหมายว่าเป็นที่ออกไปได้จากสิ่งที่ยึดติดถือมน หรืออกไปพ้นจากสังขาร), วิปัสสนาที่เชื่อมต่อให้ถึงมรรค 2.“อาบัติที่ให้ถึงวุฏฐานวิธี” คือ อาบัติที่จะพ้นได้ด้วยอยู่กรรม หมายถึงอาบัติสังฆาทิเสส, คู่กับเทสนาคามินี คืออาบัติที่พ้นได้ด้วยการแสดง (ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา)
อนิยต : ไม่แน่, ไม่แน่นอน เป็นชื่ออาบัติที่ยังไม่แน่ ระหว่างปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้องวินิจฉัย
มน : (ปุ. นปุ.) สภาพผู้รู้, ธรรมชาตรู้, ใจ. วิ. เอกาย นาฬิกา เอกาย ตุลาย มิณมาโณวิย อารมฺมณํ มินาติ ปริจฺฉินฺทตีติ มโน (นับกำหนดอารมณ์). มนติ ชานาตีติ วา มโน (รู้ ทราบอารมณ์).
จูฬา : (อิต.) หงอน, หงอนนกยูง, มวยผม, จุก, ผมจุก, ปิ่น ( เครื่องประดับสำหรับปักผมที่ มุ่นเป็นจุก ), จอม, ยอด, มกุฎ, มงกุฎ, หัว. จูฬฺ สญฺโจทนภาวกรเณสุ, อ.
ชฏิล : (ปุ.) คนผู้มีมวยผม, คนผู้มีผมมุ่นเป็น ชฎา ( มุ่นคือขมวด), ฤษี, ฤาษี, ชฏิล. วิ. ชฏา อสฺส อตฺถีติ ชฏิโล. อถวา, ชฏา อสฺส อตฺถิ โส ชฏิโล. อิล ปัจ.
ปรกฺกม, - มน : ป., นป. ความบากบั่น, ความมุ่งมั่น, ความพากเพียร
มนการ มนกฺการ : (ปุ.) อันกระทำไว้ในใจ, การกระ ทำไว้ในใจ, การตั้งใจ, ความตั้งใจ. วิ. ภวงฺคมนโต วิสทิสํ มนํ กโรตีติ มนการโร. มนสฺมึ วา กาโร มนกาโร ศัพท์หลังซ้อน กฺ.
ETipitaka Pali-Thai Dict : มุ่น, more results...