ยก ๒ : น. มาตราวัดไม้ คือ หน้ากว้าง ๑ ศอก ยาว ๑๖ วา หนา ๑ นิ้ว เป็น ๑ ยก ตามอัตราไม้นิ้ว; กําหนดเวลาระยะหนึ่ง ๆ หรือจํานวนหนึ่ง เช่น มวย ยกหนึ่งกำหนด ๒๓ นาที เฆี่ยนยกหนึ่งกำหนด ๓๐ ที; กระดาษ แผ่น หนึ่งขนาด ๓๑ x ๔๒ นิ้ว ถ้าพิมพ์ได้ ๔ หน้า เรียกว่า ขนาด ๔ หน้ายก ถ้าพิมพ์ได้ ๘ หน้า ๑๖ หน้า หรือ ๓๒ หน้า เรียกว่า ขนาด ๘ หน้ายก ๑๖ หน้ายก หรือ ๓๒ หน้ายก; กําหนดเวลาที่พระรูปหนึ่ง ๆ เทศน์ ๓ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เรียกว่า ยกหนึ่ง เป็นต้น.
ยก ๑ : ก. เอาขึ้นให้สูงจากที่เดิมทั้งโดยตรงและโดยปริยาย; เคลื่อนไป, พากันไป, เช่น ยกทัพ ยกพวก; งดเว้น, เพิกถอน, เช่น ยกโทษ ยกภาษี ยกคําสั่ง; มอบ เช่น ยกลูกสาวให้ ยกสมบัติให้; อ้าง เช่น ยกตัวอย่าง. น. เรียกผ้าไหม ชนิดหนึ่งที่ทอยกเป็นดอกให้เป็นลาย เด่นขึ้นว่า ผ้ายก.
ยกนะ : [ยะกะนะ] น. ตับ. (ป.; ส. ยกนฺ, ยกฺฤต).
สัมมา : ว. ชอบ, ดี, (มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส) เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาชีพ. (ป.; ส. สมฺยกฺ).
ยกบัตร : [ยกกะบัด] (โบ) น. ตำแหน่งเจ้าพนักงานเกี่ยวกับอรรถคดี ตรง กับ พนักงานอัยการ หรือ อัยการ ในปัจจุบัน, ยกกระบัตร หรือ พนักงาน รักษาพระอัยการ ก็เรียก, เขียนเป็น ยกบัตร์ ก็มี.
Royal Institute Thai-Thai Dict : ยกฺ, more results...
ยกฺขาธิป : (ปุ.) ยักขาธิป ชื่อท้าวโลกบาลผู้เป็นใหญ่ในทิศเหนือ เป็นอธิบดีของยักษ์มีชื่อเรียก ๒ ชื่อ คือ ท้าวกูเวร ๑ ท้าวเวสสุวัณ ๑. วิ. ยกขานํ อธิโป ยกฺขาธิโป.
เสสเทวยกฺขาทิ : (ปุ.) เทวดาผู้เหลือและอมนุษย์ มียักษ์เป็นต้น.
สิสฺส : (ปุ.) นักเรียน, ศิษย์. วิ. โสตุ ํ อิจฺฉตีติ สิสฺโส (ผู้ปรารถนา ผู้ต้องการเพื่ออันฟัง). สิสฺ อิจฺยํ, โส. ใน วิ. ใช้ อิสฺ ธาตุแทน. สุณาตีติ วา สิสฺโส. สุ สวเน, อิสฺสปจฺจโย. สาสิตพฺโพติ วา สิสฺโส. สุ สวเน, อิสฺสปจฺจโย. สาสิตพฺโพติ วา สิสฺโส. สาสฺ อนุสิฎฐยํ, โณย. แปลง อา เป็น อิ. สฺย เป็น สฺส หรือแปลง ย เป็น ส โมคฯลง ยกฺ ปัจ. แปลง สาสฺ เป็น สิสฺ ลบ กฺ แปลง ย เป็น ส. ส. ศิษย์.
กุเวร : (ปุ.) กุเวร ท้าวกุเวร ชื่อท้าวจตุโลกบาล องค์ที่ ๔ ประจำทิศอุดร องค์นี้มี ๔ ชื่อ คือ ยกฺขาธิป เวสฺสวณ กุเวร นรวาหน วิ. กุจฺฉิโต เวโร สรีร มสฺสาติ กุเวโร.
มิทฺธ : (นปุ.) ความท้อแท้, ความเฉื่อยชา, ความเชื่อมซึม, ความหาวนอน, ความง่วง, ความง่วงงุน, ความว่วงโงก. สภาวะคร้านกาย ชื่อว่า มิทธะ. มิทฺ การิยกฺขมเน, โต. แปลง ต เป็น ทฺธ ลบที่สุดธาตุ. มิหฺ สติวิหนเน, โต. แปลง ต เป็น ทฺธ ลบ หฺ หรือ มิหฺ อสามตฺถิเย.
ETipitaka Pali-Thai Dict : ยกฺ, more results...