เยี่ยม ๆ มอง ๆ : ก. โผล่มองบ่อย ๆ (เพื่อให้เห็น หรือเพื่อให้รู้ว่ามีใครหรือ อะไรอยู่ข้างใน). ว. อาการที่ด้อมแอบดูบ่อย ๆ เช่น มีคนแปลกหน้ามา เยี่ยม ๆ มอง ๆ.
เยี่ยม ๑ : ก. ไปถามข่าวทุกข์สุข, ไปหา, เช่น ไปเยี่ยมญาติ มาเยี่ยมบ้าน; ชะโงก หน้าออกไป เช่น เยี่ยมหน้าต่าง; โผล่ออก เช่น พระจันทร์เยี่ยมขอบฟ้า.
เยี่ยม ๒ : ว. ยิ่ง, เด่น, เลิศ, เช่น ดีเยี่ยม เขาเยี่ยมทางคำนวณ.
ตอบ : ก. ทําหรือพูดโต้ในทํานองเดียวกับที่มีผู้ทําหรือพูดมา เช่น ชกตอบ ตีตอบ ด่าตอบ เยี่ยม ตอบ, กล่าวแก้ เช่น ตอบปัญหา, กล่าวเมื่อมีผู้ถาม เช่น ตอบคําถาม, แจ้ง กลับไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง รู้ เช่น ตอบจดหมาย. ว. เรียกแก้มที่มีลักษณะยุบลึกเข้าไป undefined
เยียน : ก. ไปมาหาสู่, มักใช้ควบกับคํา เยี่ยม เป็น เยี่ยมเยียน, เยือน ก็ว่า.
เยือน : ก. เยี่ยม เช่น ลมหนาวมาเยือน ไปเยือนยุโรป.
หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
จุฬ จูฬ : (วิ.) น้อย, ฯลฯ, ยอด, เยี่ยม, ยอดเยี่ยม, เลิศ.
ติลก : (วิ.) ตกกระ, เฉลิม, ยอด, เยี่ยม, เลิศ. ส. ติลก.
เสจน : (วิ.) เยี่ยม, ยอด, ยอดเยี่ยม, สูงสุด, ประเสริฐ, ประเสริฐสุด, ประเสริฐที่สุด. วิ. สพฺเพ อิเม ปสตฺถา, อยมิเมสํ วิเสเสน ปสตฺโถติ เสฏโฐ. ปสตฺถ+อิฎฺฐ ปัจ. แปลง ปสตฺถ เป็น ส รูปฯ. ๓๗๖ และอภิฯ.
อนฺวาวิสติ : ก.เข้าไปอาศัย, สิง, ครอบครอง, เยี่ยม
อนุตฺตร : (วิ.) ผู้ประเสริฐกว่าหามิได้, ไม่มีผู้ประเสริฐกว่า, ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งกว่า, ไม่มีบุญเขตอื่นจะยิ่งกว่า, ดีเลิศ, ยิ่ง, อย่างยิ่ง, เยี่ยม, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, ประเสริฐสุด, สูงสุด. วิ. นตฺถิอุตฺตโรยสฺมาโสอนุตฺต-โร.นตฺถิตสฺสอนุตฺตโรติวาอนุตฺตโรส.อนุตฺตร.
อุตฺตม : (วิ.) ดีที่สุด, เด่นที่สุด, ยิ่ง, เยี่ยม, ยอดเยี่ยม, เลิศ, ประเสริฐ, ประเสริฐสุด, สูงสุด, มากมาย, บริบูรณ์, อุดม. วิ. อพฺภุโต อพฺภูโต วา อตฺยตฺถํ อุตฺตโม. อุคฺคตตมตฺตา วา อุตฺตโม. อุศัพท์ ตม ปัจ. ซ้อน ตฺ บางคัมภีร์เป็น อุพฺภโต อพฺยตฺถํ อุตฺตโม. อุพฺภโต อตฺยตฺโถ อุตฺตโม. มติ ผู้เขียน. ส อุตฺตม.
อุตฺตาล : ๑. ป. ลิง;
๒. ค. ว่องไว, สูง, เยี่ยม
เอก : (วิ.) หนึ่ง, อย่างหนึ่ง, เดียว, ผู้เดียว, คนเดียว, ไม่มีเพื่อน, โดดเดียว, โดดเดี่ยว, วังเวง, เยี่ยม, ยอด, ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, สูงสุด, นอกนี้, ต่างหาก, เดียวกัน, เช่น เดียวกัน, แนวเดียวกัน, เป็นหนึ่ง, อื่น (คือ อีกคนหนึ่ง อีกพวกหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่ง). อิ คมเน, ณฺวุ, อิสฺเส. วิ. เอติ ปวตฺตตีติ เอโก. เอกศัพท์นี้เป็นปกติสังขยาและวิเสสนสัพพ นามที่เป็นสังขยา (การนับ) เป็นเอกวจนะ อย่างเดียวที่เป็นวิเสสนสัพพนาม เป็น เอก. และ พหุ. เมื่อต้องการเป็นพหุ. พึงใช้ เป็นวิเสสนสัพพนาม และแปลว่าคนหนึ่ง, คนเดียว คนเดียวกัน พวกหนึ่ง ฯลฯ พึงยัก เยื้องให้เหมาะสมกับนามนาม. เอกศัพท์ ใช้เป็นวิเสสนะของนามนามใด เวลาแปล พึงเหน็บลักษณนามของนามนั้นลงไปด้วย เช่น เอกา ธมฺมเทสนา อ. ธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์. คำว่าไม้เอก (วรรณยุกต์ที่ ๑) มา จากเอกศัพท์นี้. เอกศัพท์ที่นำมาใช้ใน ภาษาไทยมีความหมายว่า ตัวคนเดียว ลำพังตัว โดดเดี่ยว เปลี่ยว เฉพาะ เด่น ดีเลิศ ยิ่งใหญ่ สำคัญ ที่หนึ่ง (ไม่มีสอง). ส. เอก.
เอกายน : (วิ.) อันเป็นไปที่ไปอันเยี่ยม, อันเป็น เครื่องดำเนินอันเยี่ยม, อันเป็นที่ไปอันยอด เยี่ยม, อันเป็นที่ไปอันประเสริฐ. ส. เอกายน ตั้งใจจริง มีใจเพ่งเฉพาะ.