ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
ยวะ, ยวา : [ยะวะ, ยะวา] น. ข้าว, ข้าวเหนียว. (ป., ส. ยว ว่า ข้าวบาร์เลย์ เมล็ดคล้าย ลูกเดือย).
เกรี้ยว, เกรี้ยว ๆ : [เกฺรี้ยว] ว. อาการที่แสดงความเดือดดาลหรือโกรธมาก เช่น อนิจจามาร้องอยู่เกรี้ยว ๆ. (มโนห์รา).
เกลี่ยวดำ : [เกฺลี่ยว-] น. โรคเปลี่ยวดํา.
จรุง, จรูง : [จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนินสู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
เปรี้ยว : [เปฺรี้ยว] ว. มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น, มีกลิ่นหรือรส ออย่างาหารบูดหรืออาหารเสีย; (ปาก) มีลักษณะปราดเปรียว ทันสมัย อิสระ มั่นใจ ชอบการคบหาสมาคม (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้เปรี้ยว, เรียกลักษณะการแต่งกายของผู้หญิงที่แต่งตัว สีฉูดฉาด รัดรูป เป็นต้นว่า แต่งตัวเปรี้ยว.
เปลี่ยว ๑ : [เปฺลี่ยว] น. เรียกเนื้อที่นูนขึ้นที่คอวัวควายและสัตว์มีกีบเมื่อ เวลาหนุ่ม, ความหนุ่มของวัวควาย. ว. หนุ่ม (ใช้แก่วัวควาย).
ยวน ๒ : ก. ยั่ว, ล่อ, ชวนให้เพลิน, ชวนให้ยินดี, เช่น ยวนตา ยวนใจ; ก่อกวนให้ เกิดกิเลสหรือโทสะ.
หน่วงเหนี่ยว : [หฺน่วงเหฺนี่ยว] ก. รั้งตัวไว้, ดึงถ่วงไว้, กักไว้, เช่น เจ้าหน้าที่ หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้ต้องหา.