ปริตยาค : [ปะริดตะยาก] (แบบ) ก. บริจาค. (ส. ปริตฺยาค; ป. ปริจฺจาค).
ยาคะ : น. ยัญพิธี. (ป., ส.).
จาคะ : น. การสละ, การให้ปัน. (ป.; ส. ตฺยาค).
ปรตยาค : [ปฺรดตะยาก] (กลอน) ก. ประจาค, บริจาค. (ส. ปฺรตฺยาค; ป. ปริจฺจาค).
ประจาค : ก. สละ, ให้. (ป. ปริจฺจาค; ส. ปฺรตฺยาค).
ประตยาค : [ปฺระตะยาก] ก. ประจาค. (ส. ปฺรตฺยาค).
สะเดา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. siamensis Valeton ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และใช้ทํายาได้. สะเดาอินเดีย น. ชื่อไม้ต้นชนิด Azadirachta indica Juss. var. indica Juss. ในวงศ์ Meliaceae ใบมีรสขม ใบอ่อนและช่อดอกกินได้และ ใช้ทํายาได้, ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นชนิดเดียวกับต้นซิงโคนาที่ใช้เปลือก สกัดเป็นยาควินิน.
ย่ำ : ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้ง เพื่อบอกเวลาสําหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทําในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทําในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.).
ยาค : (ปุ.) การบูชา, การบูชายัญ, การเซ่น, การเซ่นสรวง, การบวงสรวง. วิ. ยชนํ ยาโค. ณ ปัจ.
มหายาค : (ปุ.) การบูชาใหญ่, มหายัญ.
ยาคุ : (ปุ.) ข้าวต้ม, ข้าวยาคู ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยข้าวอ่อน คือ เกี่ยวเอารวงข้าวที่ยังเป็นน้ำนม คั้นเอาแต่น้ำนมใส่ภาชนะตั้งไฟเคี่ยว ใส่น้ำตาล เคี่ยวพอข้นเหนียวจึงยกลง มีกลิ่นหอม รับประทานอร่อย. ยา ปุณเน, คุ. มิสฺสเน วา, คุ, อุสฺสา.
ยาคู : (ปุ.) ยาคู ชื่อตำแหน่งสมณศักดิ์พื้นบ้านของภาคอีสาน ชาวอีสานมีประเพณีแต่งตั้งภิกษุที่เป็นกำลังของศาสนาด้วยการสรงน้ำ สรงครั้งแรกได้รับสมญาว่า ยาซา สรงครั้งที่สองได้รับสมญาว่า ยาคู. ยชฺ เทวปูชายํ, อู. แปลง ช เป็น ค ทีฆะต้นธาตุ.
จาค : (ปุ.) การสละ, การให้, การให้ปัน, การบริจาค, ความสละ, ฯลฯ. จชนํ จาโค. จชฺ หานิมฺหิ (สละ), โณ. แปลง ช เป็น ค หรือตั้งหา ธาตุในความสละ วาง ปล่อย ณ ปัจ. เทว๎ภาวะ หา แปลง หา เป็น จา แปลง ห ตัวธาตุเป็น ค. ส. ตฺยาค.
ปริจาค ปริจฺจาค : (ปุ.) การสละ, การให้, การให้ปัน, การสละให้, การเสียสละ. ปริปุพฺโพ, หา จาเค, โณ, เท๎วภาวะ หา รัสสะเป็น ห แปลง ห,ห เป็น จ,ค หรือ ตั้ง จชฺ จาเค ศัพท์หลังซ้อน จฺ โมคฯ ลง ฆณฺ ปัจ. ส. ปริตฺยาค.