Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยินร้าย .

Eng-Thai Lexitron Dict : ยินร้าย, 2 found, display 1-2
  1. insensible : (ADJ) ; ซึ่งไม่มีความรู้สึก ; Related:เฉย, ตายด้าน, หน้าหนา, ไม่ยินดียินร้าย ; Syn:impervious, unfeeling
  2. unfeeling : (ADJ) ; ซึ่งปราศจากความเห็นอกเห็นใจ ; Related:ซึ่งเย็นชา, ซึ่งไม่ยินดียินร้าย ; Syn:insensible, insensate, numb, hardhearted ; Ant:sensible, sympathetic

Thai-Eng Lexitron Dict : ยินร้าย, 3 found, display 1-3
  1. ไม่ยินดียินร้าย : (V) ; appear indifferent ; Related:look unmoved, seem unconcerned ; Syn:เฉยชา ; Ant:ยินดียินร้าย ; Def:ไม่แสดงความรู้สึกอะไรออกมา ; Samp:ร้านรวงยังคงปิดประตูสนิทราวกับไม่ยินดียินร้ายที่จะค้าขายในวันนี้
  2. เฉยชา : (ADJ) ; indifferent ; Related:cold, still, ignorant, unconcerned, detached ; Syn:เย็นชา, เฉยเมย, ไม่ยินดียินร้าย ; Def:ที่มีอาการนิ่งอยู่ ไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งรอบตัว ; Samp:สามีหล่อนมองหล่อนด้วยท่าทีเฉยชา
  3. เฉยเมย : (V) ; be indifferent ; Related:disregard, remain inactive, sit by, be unconcerned, be passive ; Syn:ละเลย, เพิกเฉย ; Ant:ใส่ใจ, สนใจ ; Samp:เขายังคงเฉยเมย ไม่ยินดียินร้ายต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ

Royal Institute Thai-Thai Dict : ยินร้าย, 6 found, display 1-6
  1. ยินร้าย : ก. ไม่พอใจ, ไม่ชอบใจ.
  2. พระอิฐพระปูน : (สํา) ว. นิ่งเฉย, วางเฉย ไม่เดือดร้อน, ไม่รู้สึกยินดี ยินร้าย.
  3. จระกล้าย : [จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  4. เฉย ๆ : ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคําอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทําอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ ทํามาหากินอะไร; ไม่ยินดียินร้ายเช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่.
  5. หน้าเฉย : ว. มีสีหน้าแสดงความไม่รู้สึกยินดียินร้าย หรือไม่สนใจใยดีต่อสิ่ง หรือเหตุการณ์ใด ๆ.
  6. อินทรียสังวร : น. ความสํารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).

Budhism Thai-Thai Dict : ยินร้าย, 4 found, display 1-4
  1. ยินร้าย : ไม่พอใจ, ไม่ชอบใจ
  2. สติปัฏฐาน : ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา, ๓.จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔.ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้น ๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม
  3. อินทรียสังวร : สำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, ระวังไม่ให้กิเลสครอบงำใจในเวลารับรู้อารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง ๖ (ข้อ ๑ ในอปัณณกปฏิปทา ๓, ข้อ ๒ ในปาริสุทธิศีล ๔, ข้อ ๒ ในองค์แห่งภิกษุใหม่ ๕)
  4. อุเบกขา : 1) ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง(ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐) 2) ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่าอุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข)

ETipitaka Pali-Thai Dict : ยินร้าย, 2 found, display 1-2
  1. ทุมน ทุมฺมน : (วิ.) มีใจอันโทษประทุษร้าย แล้ว วิ. ทุฏฺโฐ มโน ยสฺส โส ทุมโน ทุมฺมโน วา. มีใจชั่ว, มีใจชั่วร้าย วิ. ทุ ทฏฺโฐ มโน อสฺสาติ ทุมโน. เสียใจ ยินร้าย วิ. ทุฏฺฐุ ทุกฺขิตํ วา มโน ยสฺส โส ทุมโน. ศัพท์ หลังซ้อน มฺ.
  2. อวิโรธ : ป. ความไม่ยินร้าย, ความไม่โกรธ, ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความสุภาพ

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ยินร้าย, not found

(0.0220 sec)