Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รองเท้า .

Eng-Thai Lexitron Dict : รองเท้า, more than 7 found, display 1-7
  1. shoe : (N) ; รองเท้า ; Syn:footwear, foot covering
  2. lace : (N) ; เชือกร้อย (รองเท้า) ; Related:เชือกถักรองเท้า ; Syn:cord, string
  3. cobble : (VT) ; ปะหรือซ่อม (เช่น รองเท้า) ; Syn:mend, patch
  4. flat 1 : (ADJ) ; ส้นเตี้ย (รองเท้า) ; Related:ไม่มีส้น ; Ant:high-heeled
  5. tread : (N) ; ดอกยาง (รถยนต์, รองเท้า)
  6. boot : (N) ; รองเท้าบูท ; Related:รองเท้าหุ้มข้อเท้า
  7. gym shoe : (N) ; รองเท้าเล่นกีฬา ; Related:รองเท้าผ้าใบ
  8. Eng-Thai Lexitron Dict : รองเท้า, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : รองเท้า, more than 7 found, display 1-7
  1. เกือก : (N) ; shoes ; Related:footwear ; Syn:รองเท้า ; Samp:ไทยเราถ้าแต่งฝรั่งแล้วถือคติตามฝรั่ง คือ ไม่ยอมถอดเกือกแม้จะเข้าในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ; Unit:ข้าง, คู่
  2. บาทุกา : (N) ; shoes ; Related:slipper, foot wear ; Syn:รองเท้า ; Unit:ข้าง, คู่
  3. รองเท้าหุ้มส้น : (N) ; boots and shoes ; Samp:รองเท้าหุ้มส้นของดวงดอมคู่จ้อย มันดูกระจิริดเมื่อเทียบกับบันไดกว้าง ; Unit:คู่
  4. รองเท้าแตะ : (N) ; sandal ; Related:slippers ; Samp:หล่อนเดินทางมาที่ทะเลฝั่งตะวันออกในชุดยีนสีน้ำทะเล สวมรองเท้าแตะ และสะพายย่าม ; Unit:คู่, ข้าง
  5. รองเท้าแตะฟองน้ำ : (N) ; rubber slippers ; Related:rubber shoes ; Samp:สาวชาวบ้านไม่ใส่รองเท้ากันเลย มีเพียงบางคนใส่รองเท้าแตะฟองน้ำ ซึ่งเก่าจนดูไม่ออกว่า ครั้งหนึ่งเคยเป็นสีอะไร ; Unit:คู่, ข้าง
  6. รองเท้าผ้าใบ : (N) ; canvas shoes ; Samp:ตะวันก้มหยิบรองเท้าผ้าใบสีขาวคู่ชีพขึ้นมาพินิจพิจารณา ; Unit:คู่
  7. รองเท้าส้นสูง : (N) ; high-heeled shoes ; Samp:เวลาเดินทางอย่าใส่รองเท้าส้นสูงไป ให้ใช้รองเท้าแตะแทน ; Unit:คู่
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : รองเท้า, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : รองเท้า, more than 5 found, display 1-5
  1. รองเท้า : น. เกือก.
  2. ส้นรองเท้า : น. ส่วนล่างตอนท้ายของรองเท้าที่รองรับส้น.
  3. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  4. ฉลองพระบาท : (ราชา) น. รองเท้า.
  5. บราทุกรา : [บะราทุกฺรา] (โบ; กลอน) น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : รองเท้า, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : รองเท้า, 8 found, display 1-8
  1. รองเท้า : ในพระวินัยกล่าวถึงรองเท้าไว้ ๒ ชนิด คือ ๑.ปาทุกา แปลกันว่าเขียงเท้า (รองเท้าไม้หรือเกี๊ยะ) ซึ่งรวมไปถึงรองเท้าโลหะ รองเท้าแก้ว หรือรองเท้าประดับแก้วต่างๆ ตลอดจนรองเท้าสาน รองเท้าถักหรือปักต่างๆ สำหรับพระภิกษุห้ามใช้ปาทุกาทุกอย่าง ยกเว้นปาทุกาไม้ที่ตรึงอยู่กับที่สำหรับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะและเป็นที่ชำระ ขึ้นเหยียบได้ ๒.อุปาหนา รองเท้าสามัญ สำหรับพระภิกษุทรงอนุญาตรองเท้าหนังสามัญ (ถ้าชั้นเดียว หรือมากชั้นแต่เป็นของเก่าใช้ได้ทั่วไป ถ้ามากชั้นเป็นของใหม่ ใช้ได้เฉพาะแต่ในปัจจันตชนบท) มีสายรัด หรือใช้คีบด้วยนิ้ว ไม่ปกหลังเท้า ไม่ปกส้น ไม่ปกแข็ง นอกจากนั้น ตัวรองเท้าก็ตาม หูหรือสายรัดก็ตาม จะต้องไม่มีสีที่ต้องห้าม (คือ สีขาบ เหลือง แดง บานเย็น แสด ชมพู ดำ) ไม่ขลิบด้วยหนังสัตว์ที่ต้องห้าม (คือ หนังราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง ชะมด นาค แมว ค่าง นกเค้า) ไม่ยัดนุ่น ไม่ตรึงหรือประดับด้วยขนนกกระทาขนนกยูง ไม่มีหูเป็นช่อดังเขาแกะเขาแพะหรือง่ามแมลงป่อง
  2. ฉลองพระบาท : รองเท้า
  3. ปาทุกา : รองเท้าประเภทหนึ่ง แปลกันมาว่า เขียงเท้า เป็นรองเท้าที่ต้องห้ามทางพระวินัย อันภิกษุไม่พึงใช้ ดู รองเท้า
  4. อุปาหนา : ดู รองเท้า
  5. จัมมขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๕ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเครื่องหนังต่างๆ มีรองเท้าและเครื่องลาดเป็นต้น
  6. มหาวรรค : ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดที่ ๓ ใน ๕ หมวด แห่งพระวินัยปิฎก คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร, มหาวรรค มี ๑๐ ขันธกะ (หมวด ตอน หรือบท) คือ ๑.มหาขันธกะ (ว่าด้วยการบรรพชาอปสมบท เริ่มแต่เหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ และการประดิษฐานพระศาสนา) ๒.อุโปสถขันธกะ (ว่าด้วยอุโบสถและสีมา) ๓.วัสสูปนายิกขันธกะ (ว่าด้วยการเข้าพรรษา) ๔.ปวารณาขันธกะ (ว่าด้วยปวาณา) ๕.จัมมขันธกะ (ว่าด้วยเครื่องหนัง เช่น รองเท้าและเครื่องลาด) ๖.เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะ อกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔) ๗.กฐินขันธกะ (ว่าด้วยกฐิน) ๘.จีวรขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องจีวร) ๙.จัมเปยยขันธกะ (ว่าด้วยข้อควรทราบบางอย่างเกี่ยวกับนิคคหกรรมต่างๆ) ๑๐.โกสัมพิกขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี วิวาทกันและสังฆสามัคคี) ดู ไตรปิฎก
  7. โสณกุฏิกัณณะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรของอุบาสิกาชื่อกาฬี ซึ่งเป็นพระโสดาบัน เกิดที่บ้านเดิมของมารดาในเมืองราชคฤห์ แล้วกลับไปอยู่ในตระกูลบิดาที่แคว้นอวันตี ทักขิณาบถ พระมหากัจจายนะให้บรรพชาเป็นสามเณรแล้วรอต่อมาอีก ๓ ปี เมื่อท่านหาภิกษุได้ครบ ๑๐ รูปแล้วจึงให้อุปสมบทเป็นภิกษุ บวชแล้วไม่นานก็สำเร็จพระอรหัต ต่อมาท่านได้เดินทางมาเฝ้าพระศาสดาที่เมืองสาวัตถี พร้อมทั้งนำความที่พระอุปัชฌาย์สั่งมากราบทูลขอพระพุทธานุญาตพิเศษสำหรับปัจจันตชนบท เช่น ให้สงฆ์มีภิกษุ ๕ รูปให้อุปสมบทได้ ให้ใช้รองเท้าหนาหลายชั้นได้ ให้อาบน้ำได้ตลอดทุกเวลา เป็นต้น ท่านแสดงธรรมมีเสียงไพเราะแจ่มใสชัดเจนจึงได้รับย่องย่องจากพระศาสดาว่า เป็นเอตทัคคะในทางกล่าวกัลยาณพจน์
  8. อารัญญกวัตร : ข้อปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้อยู่ป่า, ธรรมเนียมที่ภิกษุผู้อยู่ป่าพึงถือปฏิบัติ ตามพุทธบัญญัติที่มาในวัตตขันธกะ จัดเป็นหัวข้อได้ดังนี้ ก) ๑) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เอาถุงบาตรสวมบาตรแล้วคล้องบ่าไว้ พาดจีวรบนไหล่ สวมรองเท้า เก็บงำเครื่องไม้เครื่องดิน ปิดประตูหน้าต่าง แล้วลงจากเสนาสนะ (ที่พักอาศัย) ไป ๒) ทราบว่า “บัดนี้จักเข้าหมู่บ้าน” พึงถอดรองเท้า เคาะต่ำๆ แล้วใส่ถุงคล้องบ่าไว้ นุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประคดเอว ห่มสังฆาฏิซ้อนเป็น ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ชำระบาตรแล้วถือเข้าหมู่บ้านโดยเรียบร้อยไม่รีบร้อน ไปในละแวกบ้านพึงปกปิกกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง เมื่อจะเจ้านิเวศน์ พึงกำหนดว่า เรากจักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ ไม่พึงรีบร้อนเข้าไป ไม่พึงรีบร้อนออกมา พึงยืนไม่ไกลเกิดไป ไม่ใกล้เกินไป ไม่นานเกินไป ไม่กลับออกเร็วเกินไป เมื่อยืนอยู่ พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษาหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกสังฆาฏิด้วยมือซ้าย น้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา ใช้มือทั้ง ๒ ประคองบาตรรับภิกษา ไม่พึงมองดูหน้าสตรีผู้ถวาย พึงกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายแกงหรือไม่ ฯลฯ เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยสังฆาฏิแล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่รีบร้อน เดินไปในละแวกบ้าน พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี ไม่เดินกระโหย่ง ๓) ออกจากบ้านแล้ว (หลังจากฉันและล้างบาตรแล้ว) เอาบาตรใส่ถุง คล้องบ่า พับจีวร วางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป ข) ภิกษุผู้อยู่ป่า พึงจัดเตรียมน้ำดื่มไว้ พึงจัดเตรียมน้ำใช้ไว้ พึงติดไฟเตรียมไว้ พึงจัดเตรียมไม้สีไฟไว้ พึงจัดเตรียมไม้เท้าไว้ ค) พึงเรียนทางนักษัตรไว้ (ดูดาวเป็น) ทั้งหมดหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ

ETipitaka Pali-Thai Dict : รองเท้า, more than 5 found, display 1-5
  1. โกสี : อิต. ป. ต้นมะม่วง; รองเท้า
  2. ปาทุ : อิต. เกือก, รองเท้า
  3. ปาทุกา : อิต. เขียงเท้า, รองเท้า
  4. ธุวฏฺฐานิย : ค. (รองเท้า) อันมีฐานะยั่งยืน, อันทนได้นาน
  5. อุปาหน : (ปุ. นปุ.) เกือก, รองเท้า. วิ. ตํ ตํ ฐานํ  อุปหนฺติ เอเตนาติ อุปาหโน. ตโต ตโต จ อุปหนฺติ เอเตนาติ วา อุปาหโน. อุปปุพฺโพ, หนฺ คติยํ, อ. อุปนยฺหเตติ วา อุปาหโน. อุปปุพฺโพ, นหฺ พนฺธเน, อ. ทีฆะและเปลี่ยนอักษร.
  6. ETipitaka Pali-Thai Dict : รองเท้า, more results...

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : รองเท้า, 3 found, display 1-3
  1. รองเท้า : อุปาหนํ, อุปาหโน, ปาทุ, ปาทุกา
  2. เกือก, รองเท้า : อุปาหต [กิ.]
  3. สวมรองเท้า : อุปาหนํ อารุยฺห, ปาทุกํ อารุยฺห, สอุปาหโน

(0.0565 sec)