มิสสกสโมธาน : การประมวลครุกาบัติระคนกัน, เป็นชื่อปริวาสสำหรับภิกษุผู้ปวารณาจะออกจากอาบัติสังฆาทิเสสต่างวัตถุกัน หมายความว่าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัวต่างสิกขาบทกัน ซึ่งมีวันปิดเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสเหล่านั้น ขอปริวาสจากสงฆ์เพื่ออยู่กรรม ชดใช้ทั้งหมด
วินิปาติกะ : ท่านว่าได้แก่พวกเวมานิกเปรต คือ พวกเปรตมีวิมานอยู่ได้เสวยสุขและต้องทุกข์ทรมานเป็นช่วงๆ สลับกันไป มีสุขบ้างทุกข์บางคละระคน
สีมันตริก : เขตคั่นระหว่างมหาสีมากับขัณฑสีมา เพื่อมิให้ระคนกัน เช่นเดียวกับชานที่กั้นเขตของกันและกันในระหว่าง
อนริยปริเยสนา : การแสวงหาที่ไม่เป็นอริยะ คือ แสวงหาสิ่งที่ยังตกอยู่ในชาติ ชรามรณะ หรือสิ่งที่ระคนอยู่ด้วยทุกข์ กล่าวคือ แสวงหาสิ่งอันทำให้ติดอยู่ในโลก, สำหรับชาวบ้านท่านว่า หมายถึงการแสวงหาในทางมิจฉาชีพ (ข้อ ๑ ในปริเยสนา ๒)
อาทีนวานุปัสสนาญาณ : ญาณอันคำนึงเห็นโทษ, ปรีชาคำนึงเห็นโทษของสังขารว่ามีข้อบกพร่องระคนด้วยทุกข์ เช่น เห็นสังขารปรากฏเหมือนเรือนถูกไฟไหม้ (ข้อ ๔ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
อุปธิ : สิ่งนุงนัง, สภาวะกลั้วกิเลส, สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส 1) ร่างกาย 2) สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร
มถิต : (วิ.) คน, กวน, ระคน, เขย่า, ให้ปั่นป่วน. มถฺ วิโลลเน, โต อิอาคโม.
มิสฺส มิสฺสก : (วิ.) แซม, เจือ, ปน, เจือปน, ปนกัน, คละ, คละกัน, ระคน, ระคนกัน, คลุกเคล้า. มิสฺ สมฺมิสฺเส, โส. ศัพท์หลัง ก สกัด.
สมฺมิสฺส : (วิ.) เจือปน, ปนกัน, คละ, คละกัน, รวมกัน, ผสม, ผสมกัน, ระคน, คลุกเคล้า. สํปุพฺโพ, มิสฺ มิสฺเส, อ. แปลง ส เป็น สฺส.
อาโลเลติ : ก. กวน, ระคน, วุ่นวาย
เกวล : (วิ.) เดียว, อย่างเดียว, ทั้งปวง, ทั้งมวล ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, สิ้นเชิง, มาก, ส่วนมาก, จำนวนมาก,ไม่ระคน, ล้วน, ล้วนๆ, แข็งแรง ,มั่นคง, โดยมาก, ไกวัล. เกวฺ ชนเน, อโล.
ETipitaka Pali-Thai Dict : ระคน, more results...