อาวุโส : ผู้มีอายุ” เป็นคำเรียก หรือทักทาย ที่ภิกษุผู้แก่พรรษาใช้ร้องเรียกภิกษุผู้อ่อนพรรษากว่า (ภิกษุผู้ใหญ่ร้องเรียกภิกษุผู้น้อย) หรือภิกษุร้องเรียกคฤหัสถ์ คู่กับคำ ภนฺเต ซึ่งภิกษุผู้อ่อนกว่าใช้ร้องเรียกภิกษุผู้แก่กว่าหรือคฤหัสถ์ร้องเรียกภิกษุ; ในภาษาไทย มักใช้เพี้ยนไปในทางตรงข้าม หมายถึง เก่ากว่า หรือแก่กว่าในวงงาน กิจการ หรือความเป็นสมาชิก
กตัญญูกตเวที : ผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน แยกออกเป็น ๒ คือ กตัญญู รู้คุณท่าน กตเวที ตอบแทนหรือสนองคุณท่าน; ความกตัญญูกตเวทีว่าโดยขอบเขต แยกได้เป็น ๒ ระดับ คือ กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้มีคุณความดีหรืออุปการะต่อตนเป็นส่วนตัว อย่างหนึ่ง กตัญญูกตเวทีต่อบุคคลผู้ได้บำเพ็ญคุณประโยชน์หรือมีคุณความดีเกื้อกูลแก่ส่วนรวม เช่นที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้าโดยฐานที่ได้ทรงประกาศธรรมยังหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในกุศลกัลยาณธรรม เป็นต้น อย่างหนึ่ง (ข้อ ๒ ในบุคคลหาได้ยาก ๒) - one who is thankful for benefits received and reciprocates them.
ท่านผู้มีอายุ : เป็นคำสำหรับพระผู้ใหญ่ ใช้เรียกพระผู้น้อย คือ พระที่มีพรรษาอ่อนกว่า (บาลีว่า อาวุโส)
ปวารณา : 1. ยอมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ข้อ 2.ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน, ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่าวันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือน ได้ดังนี้ “สงฺฆมฺภนฺเต ปวาเรมิ, ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา; วทนฺตุ มํ, อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย; ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,..... ตติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,.......” แปลวว่า “ข้าพเจ้าขอปวารณกะสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ยินก็ตาม ด้วยน่าระแวงสงสัยก็ตาม, ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงว่ากล่าวกะข้าพเจ้าด้วยอาศัยความหวังดี, เอ็นดู, เมื่อข้าพเจ้ามองเห็น จักแก้ไขแม้ครั้งที่สอง.........แม้ครั้งที่สาม.......” (ภิกษุผู้มีพรรษาสูงสุดในที่ประชุมว่า อาวุโส แทน ภนฺเต)
อามะ : คำรับในภาษาบาลี ตรงกับ ถูกแล้ว, ใช่, ครับ, ค่ะ, จ้ะ, เออ ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้น้อยกว่าหรือมีพรรษาน้อยกว่าหรือเป็นคฤหัสถ์พูดกับพระสงฆ์กล่าวต่อว่า ภันเต เป็น อามะ ภันเต ถ้าผู้กล่าวรับเป็นผู้ใหญ่กว่าหรือมีพรรษามากว่า หรือเป็นพระสงฆ์พูดกับคฤหัสถ์ กล่าวตอบว่า อาวุโส เป็น อามะ อาวุโส (เขียนตามรูปบาลี เป็น อาม ภนฺเต, อาม อาวุโส)
Budhism Thai-Thai Dict : ระดับอาวุโส, more results...
อาวุโส : (อัพ. นิบาต) แน่ะท่านผู้มีอายุ, แน่ะ ผู้มีอายุ, ดูกรท่านผู้มีอายุ, ดูก่อนท่านผู้มี อายุ, ท่านผู้มีอายุ, คุณ. เป็นคำสำหรับ นักบวชเรียกนักบวช ผู้มีพรรษาอ่อนกว่า หรือสำหรับนักบวชพูดกับชาวบ้านก็ได้ แปลว่า จ๊ะ เจริญพร ขอเจริญพร. แปลว่า ขอรับ. ก็ได้. พูดกับผู้ชายแปลว่า พ่อ พูดกับผู้หญิง แปลว่า แม่. ส. อายุษมตฺ.
อุณหภูมิ : (อิต.) ชั้นแห่งความร้อน, ระดับ แห่งความร้อน, อุณฺหภูมิ (ระดับแห่ง ความร้อนเย็นของอากาศ).
ทนฺตภูมิ : อิต. ภูมิแห่งบุคคลผู้มีตนอันฝึกฝนแล้ว, ระดับจิตของท่านผู้ฝึกฝนอบรมตนแล้ว, พระนิพพาน
ทสฺสนภูมิ : อิต. ภูมิแห่งการเห็น (ด้วยปัญญา), ระดับแห่งความรู้ความเห็น
ปนฺนภูมิ : อิต. ระดับแห่งความเจริญของคนที่ถึงขั้นหมดความห่วงใย, เป็นปุริสภูมิที่ ๘ ในลัทธิมักขลิโคสาล
ปริญฺญาปตฺต : (นปุ.) แผ่นแสดงความรอบรู้, ปริญญาบัตร คือ บัตรที่แสดงวิทยฐานะ ของผู้สำเร็จการศึกษา มีศักดิ์และสิทธิ์ ระดับปริญญา.
พลาธิการ : (ปุ.) บุคคลผู้ทำยิ่งในเสนา, พลาธิการชื่อกรมๆ หนึ่ง มีหน้าที่ควบคุมจัดหา ที่พัก เสบียงอาหาร ฯลฯ ในกองทัพ ถ้าระดับต่ำกว่ากองทัพ ก็เป็นชื่อของ กอง และเป็นชื่อของผู้ทำหน้าที่ในกรมกองนั้น.
มธุมุตฺต : (นปุ.) เบาหวาน ชื่อโรคชนิดหนึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าปกติ.
อาเวส : (ปุ.) ความไว้ตัว, ความคลุ้มคลั่ง. วิ. อาเวสนํ อาเวโส. อาปุพฺโพ, วิสฺ ปเวสเน, อ.