รักใคร่ : ก. รัก เช่น พี่น้องคู่นี้รักใคร่กันดี.
สนิท : [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขา สนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็น เนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้ สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
นิวรณ์ : น. สิ่งห้ามกันจิตไว้มิให้บรรลุความดี มี ๕ ประการ คือ ความพอใจ รักใคร่ ๑ ความพยาบาท ๑ ความง่วงเหงาหาวนอน ๑ ความฟุ้งซ่าน รําคาญ ๑ ความลังเลใจ ๑. (ป.).
พิสมัย : [พิดสะไหฺม] น. ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม. ก. รักใคร่ หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. ว. ควรชม. (ส. วิสฺมย; ป. วิมฺหย ว่า ความแปลกใจ).
ปฏิพัทธ์ : ก. เนื่องกัน, ผูกพัน, รักใคร่. (ป. ปฏิพทฺธ; ส. ปฺรติพทฺธ).
Royal Institute Thai-Thai Dict : รักใคร่, more results...
กนฺต : (วิ.) ดี. งาม, ดีงาม, ดีนัก. พอใจ, รักใคร่, ชอบใจ, เป็นที่พอใจ, เป็นที่ชอบ ใจ. กมุ กนฺติยํ, โต. แปลง ต เป็น นฺต ลบ มุ. ส. กนฺต.
คิทฺธ : (วิ.) กำหนัด, ยินดี, รัก,รักใคร่, ชอบใจ, โลภ. คิธฺ อภิกํขายํ, โต. แปลง ต เป็น ทฺธ ลบที่สุดธาตุ ถ้าตั้ง คิทฺธฺ อภิกํขายํ. ลง อ ปัจ.
รมติ : ก. ยินดี, พอดี, รักใคร่
วจฺฉล : ค. สนิท, รักใคร่; ละเอียด
สินิทฺธ : (วิ.) สิเนหะ, รัก, รักใคร่, มีใจรักใคร่, ละเอียด, เรียบ, กลมเกลียว, เกลี้ยงเกลา, งดงาม, อ่อน, อ่อนโยน, อิ่มใจ, ชอบใจ, อาลัย, สินิท, สนิท, สนิธ. สินิหฺ ปิติยํ, โธ, หสฺส โท.
ETipitaka Pali-Thai Dict : รักใคร่, more results...