Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: รัตนตรัย .

Eng-Thai Lexitron Dict : รัตนตรัย, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : รัตนตรัย, 7 found, display 1-7
  1. ตรัย : (N) ; three ; Syn:ไตร, สาม ; Def:จำนวนสาม, หมวดที่สาม ใช้ในคำสมาสเช่น รัตนตรัย ; Samp:บทสวดนี้เริ่มต้นด้วยบทไหว้พระตรัย
  2. ไตรสรณคมน์ : (N) ; Threefold Guides (Buddha, Precepts, Monks) ; Syn:ไตรสรณาคมน์ ; Def:การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ; Samp:ฝีมือช่างในระดับนี้จะต้องเป็นผู้ที่เข้าถึงในพระไตรสรณคมน์อย่างสุกงอมแล้ว
  3. สาธุการ : (N) ; Thai music for inviting good spirits ; Syn:เพลงสาธุการ ; Def:ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่สำคัญยิ่ง ใช้บรรเลงในพิธีกรรมเมื่อบูชาหรืออัญเชิญพระรัตนตรัย เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และใช้เพื่อแสดงกิริยาน้อมไหว้ เป็นเพลงอันดับแรกของชุดโหมโรงเช้า โหมโรงเย็น ; Samp:อาจารย์ที่สอนระนาดเอกท่านได้ต่อทางเพลงสาธุการให้ก่อน
  4. ทำวัตรค่ำ : (V) ; pray in the evening ; Syn:ทำวัตรเย็น ; Ant:ทำวัตรเช้า ; Def:ไหว้พระสวดมนต์ในตอนเย็นหรือค่ำ ; Samp:ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรค่ำแล้วสวดธรรมจักกัปปสูตร
  5. พระพุทธ : (N) ; Buddha ; Related:Lord Buddha, image of Buddha ; Def:พระผู้ตรัสรู้, ผู้ตื่นแล้ว, ผู้เบิกบานแล้ว (ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า) ; Samp:พระรัตนตรัยประกอบด้วย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ; Unit:องค์
  6. สวัสดี : (N) ; prosperity ; Related:goodness, progress, virtue ; Syn:ความดีงาม, ความเจริญรุ่งเรือง, ความเจริญ ; Samp:ผู้กระทำพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย สวดชุมนุมเทวดา เพื่อความสวัสดี
  7. อาราธนา : (V) ; ask ; Related:request, beg, entreat ; Syn:ขอ ; Samp:หลังจากเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแล้ว พิธีกรจึงนำไหว้พระ และอาราธนาศีล

Royal Institute Thai-Thai Dict : รัตนตรัย, more than 5 found, display 1-5
  1. รัตนตรัย : น. แก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์. (ส.).
  2. ตรัย : [ไตฺร] ว. สาม, หมวด ๓, ใช้ในคําสมาส เช่น ตรัยตรึงศ์ รัตนตรัย. (ส.).
  3. แก้ว ๑ : น. หินแข็งใส แลลอดเข้าไปข้างในได้ ได้แก่จําพวกเพชรพลอย, ของที่ทําเทียมให้มีลักษณะเช่นนั้น, ของที่ได้จากการใช้ทรายขาว เป็นส่วนประกอบสําคัญมาหลอมกับสารที่มีสมบัติเป็นด่างเช่น ออกไซด์ของโซเดียม ออกไซด์ของแคลเซียม แล้วมีลักษณะเช่นนั้น; เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้วสําหรับใส่น้ำกินเป็นต้นว่า ถ้วยแก้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แก้ว, เรียกภาชนะที่ทําด้วยแก้ว เช่น ชามแก้ว; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่เคารพนับถือยิ่ง ในคําว่า แก้ว ทั้ง ๓ อันหมายถึง พระรัตนตรัย, หรือใช้ประกอบคํานามให้หมายความว่าสิ่งนั้นมีค่ามาก เป็นที่รัก หรือดีเยี่ยม เช่น นางแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว ลูกแก้ว, หรือใช้เรียกของใสบางชนิด เช่น กระดาษแก้ว ผ้าแก้ว ข้าวเหนียวแก้ว.
  4. เครื่องทองทิศ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรง ใช้บูชาพระรัตนตรัยในพระราชพิธีใหญ่ มีเตียงทองตั้งซ้อนกัน ๒ เตียง เชิงเทียนแถวหนึ่ง ๕ เชิง เชิงธูปแถวหนึ่ง ๕ เชิง พานข้าวตอกแถวหนึ่ง ๕ พาน พานดอกไม้แถวหนึ่ง ๕ พาน เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองทิศ.
  5. ที่พึ่ง : น. ผู้คุ้มครองช่วยเหลือ เช่น พ่อแม่เป็นที่พึ่งของลูก, สิ่งที่อาศัย ยึดเป็นหลัก เช่น ได้ตําราเป็นที่พึ่ง, เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ เช่น ยึด พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : รัตนตรัย, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : รัตนตรัย, more than 5 found, display 1-5
  1. รัตนตรัย : แก้ว ๓ ดวง, สิ่งมีค่าและเคารพบูชาสูงสุดของพุทธศาสนิกชน ๓ อย่าง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
  2. พระรัตนตรัย : ดู รัตนตรัย
  3. สรณคมน์ : การถึงสรณะ, การยึดเอาเป็นที่พึ่ง, การยึดเอาเป็นที่ระลึก ดู ไตรสรณคมน์, รัตนตรัย
  4. คุณของพระรัตนตรัย : คุณของรัตนะ ๓ คือ ๑.พระพุทธเจ้า รู้ดีรู้ชอบด้วยพระองค์เองก่อนแล้วทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตามด้วย ๒.พระธรรม เป็นหลักแห่งความจริงและความดีงาม ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ๓.พระสงฆ์ ปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว สอนผู้อื่นให้กระทำตามด้วย
  5. สรณตรัย : ที่พึ่งทั้ง ๓ คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ดู รัตนตรัย
  6. Budhism Thai-Thai Dict : รัตนตรัย, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : รัตนตรัย, 10 found, display 1-10
  1. รตนตฺตย : (นปุ.) หมวดสามแห่งรตนะ, รัตนตรัย, พระรัตนตรัย.
  2. ติรตน : (นปุ.) รตนสาม, พระไตรรัตน์, พระ รัตนตรัย. วิ. ตีณิ รตนานิ ติรตนํ.
  3. ติสรณ : (นปุ.)ที่พึ่งสาม,สรณะสาม,ไตรสรณะ. ไตรสรณะคือ พระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งสูงสุดของพุทธ ศาสนิกชน ๆ จะนับถือสิ่งอื่นสูงกว่าหรือ เทียบเท่าพระรัตนตรัยไม่ได้ ถือว่าขาด จากพระรัตนตรัย. ส. ไตรสรณ.
  4. รตนตฺตยคุณ : (ปุ.) คุณแห่งพระรัตนตรัย.
  5. สรณคมน : (นปุ.) การถึงซึ่งที่พึ่ง, การถึงสรณะ, การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง, การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ, สรณคมน์ คือการรับเอาพระรัตนตรัยได้แก่พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกเป็นการปฏิญญาณตนว่าเป็นอุบาสก อุบาสิกานับถือพระพุทธศาสนา.
  6. สรณงฺคต : (วิ.) ผู้ถึงซึ่งพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ วิ. สรณํ คจฺฉติ คจฺฉิ คจฺฉิสฺสตีติ วา สรณงฺคโต. ตปัจ. ลงในภาวะ, กัจฯ ๕๕๗.
  7. อาสาฬฺหปูชา : (อิต.) การบูชาในเดือนแปด วิ. อาสาฬฺหสฺมึ ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาในวันกลางเดือนแปด วิ. อาสาฬฺห- ปุณฺณมาย ปูชา อาสาฬฺหปูชา. การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุพิเศษ (สำคัญ) ของ พระพุทธศาสนาอันเกิดขึ้นในวันกลาง เดือนแปด. วิ. อาสาฬฺหปุณฺณมาย อุปฺปนฺนสฺส พุทฺธสาสนวิเสสการณสฺส อนุสฺสรณสฺส ปูชา อาสาฬฺหปูชา. วัน อาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญของชาวพุทธ มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์และเวียน เทียน เดินปทักษิณปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน สามรอบ ตรงกับวันกลางเดือน ๘ ถ้าปีใด มีอธิกามาส ก็ตรงกับวันกลางเดือน ๘ หลัง มีความสำคัญคือ เป็นวันที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงปฐมเทศนา คือธัมมจักกัปป- วัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิป ตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี นับ แต่ตรัสรู้แล้วได้ ๖๐ วัน เป็นวันที่จักร (ล้อ) คือธรรมได้หมุนไปในโลก เป็นวันที่ พระอริยสงฆ์เกิดขึ้นเป็นองค์แรกเป็นวันที่ รัตนะมีครบ ๓ เป็นพระรัตนตรัย.
  8. อุปาสก : (ปุ.) ชนผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, ชน ผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ, อุบาสก (คนผู้ชายผู้นับถือพระพุทธศาสนา). วิ. รตนตฺตยํ อุปาสตีติ อุปาสโก. อุปปุพฺโพ, อาสฺ อุปเวสเน, ณฺวุ. ส. อุปาสก.
  9. อุปาสิกา : (อิต.) หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, หญิงผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ, อุบาสิกา (หญิงผู้นับถือพระพุทธศาสนา). ส. อุปาสิกา.
  10. โอสารณา : (อิต.) โอสารณา ชื่อของวินัยกรรม อันสงฆ์ทำคือ : การเรียก (รับ) สามเณรผู้กล่าวติเตียนพระรัตนตรัย ถูกสงฆ์นาสนะผู้กลับ ประพฤติเรียบร้อยดีแล้ว ให้เข้าหมู่ได้ โอสารณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีอปโลกนกรรม. การเรียกอุปสัมปทาเปกขะ ซึ่งได้รับการไล่เรียง (ซักซ้อม) อันตรายิกธรรม ที่นอกเขตประชุมสงฆ์ (ห่างจากสงฆ์) ๑๒ ศอกแล้ว ให้เข้าหมู่สงฆ์ได้โอสาร- ณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัตติกรรม. การหงายบาตรแก่คฤหัสถ์ผู้ประพฤติให้ร้ายแก่พระศาสดา (ศาสนา)ถูกสงฆ์คว่ำบาตรคือไม่คบ ไม่รับกิจนิมนต์ ไม่รับบิณฑบาต ภายหลังรู้สึกตนกลับ ประพฤติเรียบร้อยดีแล้ว โอสารณานี้ สงฆ์ทำด้วยวิธีญัตติทุติยกรรม. ๔. การยกโทษแก่ภิกษุผู้ประพฤติมิชอบ ซึ่งถูกสงฆ์ลงโทษด้วยตัชชนียกรรมผู้ กลับประพฤติดีแล้ว โอสารณานี้สงฆ์ ทำด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรม.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : รัตนตรัย, not found

(0.0281 sec)