ราชการ : กิจการงานของประเทศ หรือของพระเจ้าแผ่นดิน, หน้าที่หลั่งความยินดีแก่ประชาชน
กรมการ : เจ้าพนักงานคณะหนึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในระดับหนึ่งๆ เช่น กรมการจังหวัด กรมการอำเภอ เป็นต้น
เจ้ากรม : หัวหน้ากรมในราชการ หรือในเจ้านายที่ทรงกรม
ทูต : ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนทางราชการแผ่นดิน, ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ไปเจรจาแทน
ปักขคณนา : “การนับปักษ์”, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
ปักษคณนา : การนับปักษ์, วิธีคำนวณดิถีตามปักษ์ คือ คำนวณหาวันขึ้นแรมกี่ค่ำๆ ให้แม่นยำ ตรงตามการโคจรของดวงจันทร์อย่างแท้จริง เฉพาะอย่างยิ่งมุ่งให้ได้วันพระจันทร์เต็มดวงหรือวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ) วันพระจันทร์ดับ หรือวันดับ (แรม ๑๔-๑๕ ค่ำ) และวันพระจันทร์กึ่งดวง (ขึ้น ๘ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ) ตรงกับวันที่ดวงจันทร์เป็นอย่างนั้นจริงๆ ซึ่งบางเดือนข้างขึ้นอาจมีเพียง ๑๔ วัน (วันเพ็ญ เมื่อขึ้น ๑๔ ค่ำ) ก็มีข้างแรมอาจมีเต็ม ๑๕ วันติดต่อกัน หลายเดือนก็มี ต้องตรวจดูเป็นปักษ์ๆ ไป จึงใช้คำว่าปักษ์ถ้วน ปักษ์ขาดไม่ใช่เพียงเดือนเต็ม เดือนขาด เป็นวิธีคำนวณที่สลับซับซ้อน ต่างจากปฏิทินหลวง หรือปฏิทินของราชการ ที่ใช้วิธีคำนวณเฉลี่ยให้ข้างขึ้นเต็ม ๑๕ วันเสมอไป ส่วนข้างแรม เดือนคู่มี ๑๕ วัน เดือนคี่เรียกว่าเดือนขาดมี ๑๔ วัน สลับกันไป (แม้จะคำนวณด้วยวิธีที่พิเศษออกไป แต่วันเดือนเพ็ญเดือนดับที่ตรงกันก็มาก ที่คลาดกันก็เพียงวันเดียว); ปักขคณนา นี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงค้นคิดวิธีคำนวณขึ้นใช้ในพระสงฆ์คณะธรรมยุต เพื่อเป็นเครื่องกำหนดวันสำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถ และสำหรับอุบาสกอุบาสิการักษาอุโบสถศีลฟังธรรมเป็นข้อปฏิบัติของคณะธรรมยุตสืบมา
ราชสาสน์ : หนังสือทางราชการของพระราชา
ลูกหมู่ : คนที่ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการเป็นกำลังงานของเจ้านายสมัยโบราณ
เสนามาตย์ : ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน
เทสปาล : (ปุ.) การปกครองของท้องถิ่น, การปกครองท้องถิ่น, การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น, เทศบาล.
เทสมนฺตี : (ปุ.) การปกครองของท้องถิ่น, การปกครองท้องถิ่น, การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น, เทศบาล.
ธุรกิจฺจ : (นปุ.) กิจคือการงาน, กิจการงาน, ธุรกิจ คืองานประจำที่เกี่ยวกับการค้าขาย หรือกิจการอื่นที่สำคัญ ซึ่งมิใช่ราชการ.
มนฺตี : (ปุ.) คนมีปัญญา, คนมีความคิด, มนตรี (ผู้ปรึกษาราชการ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่).
รฏฺฐมนฺตี : (ปุ.) คนมีความคิดของบ้านเมือง, คนมีความรู้ของบ้านเมือง, รัฐมนตรี ชื่อบุคคลผู้รับ ผิดชอบในนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นที่ปรึกษาการบ้านเมือง ผู้เป็นหัวหน้าเป็นใหญ่ในกระทรวง.
สาสน : (นปุ.) คำสั่ง คำบังคับ (อาณา), พระพุทธพจน์(อาคม), การสั่งสอน คำสั่งสอน(อนุสาสน), จดหมาย (เลข), ข่าว ข่าวคราว, สาสน์ คือพระราชหัตถเลขาทางราชการหรือลิขิตของพระสังฆราช, ศาสนา สาสนา (คำสั่งสอนของพระศาสดา). วิ. สาสิยเตติ สาสนํ. สาสฺ อนุสิฎฐยํฐ ยุ. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งการสั่งสอน (อบรม) สัตวโลก (มนุษย์) พร้อมทั้งเทวดาและพรหม วิ. สเทวกํ โลกํ สาสติ เอตฺถาติ สาสนํ. คำสั่งสอนอันเบียดเบียนกิเลส, คำสั่งสอนอันกำจัดกิเลส. วิ. กิเลเส สาลตีติ สาสนํ สสุ หึสายํ, ยุ. ทีฆะตันธาตุ. ส. ศาสน.
สุงฺก : (ปุ. นปุ.) ภาษี, อากร คือค่าธรรมเนียมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากสิ่งที่เกิดจากธรรมชาติหรือสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อการค้า, ส่วย คือของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวีเรียกเก็บภาษีอากรสมัยโบราณ หรือเงินช่วยเหลือราชการที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎร สมัยก่อนชายที่ไม่ได้เป็นทหารจะต้องเสียส่วยให้รัฐบาลปีละ ๖ บาท. วิ. สํกติ เยน ตํ สุงฺกํ. สํก คมเน, อ.
องฺคมนฺตี : (ปุ.) องคมนตรี ชื่อท่านผู้ป็นที่ปรึกษาข้อราชการขององค์พระมหากษัตริย์. ส. องฺคมนฺตรินฺ.
อายุตฺตก : (ปุ.) บุคคลผู้เรียกเก็บซึ่งส่วย, นายส่วย( ส่วยคือของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงอีกอย่างหนึ่งคือ เงินที่เก็บจากชายซึ่งมิได้รับราชการเป็นทหารเงินรัชชูป-การก็เรียกปัจจุบันเลิกเก็บแล้ว ), เสมียน, เจ้าพนักงาน, เจ้าหน้าที่.อาปุพฺโพ, อุจฺสมวาเย, โต.แปลงจฺเป็นตฺ กสกัดคำแปลหลังอายุตฺตลงกสกัด.ส. อายุกฺตก.
อุปราช : (ปุ.) พระราชารอง (รองจากพระเจ้าแผ่นดิน), อุปราช คือผู้สำเร็จราชการแทนพระเจ้าแผ่นดิน ในส่วนหนึ่ง ๆ ของ พระราชอาณาจักร.