ร้ายกาจ : ว. ร้ายมาก, ร้ายยิ่ง, เช่น เด็กคนนี้ความประพฤติร้ายกาจ ขยะ ส่งกลิ่นเหม็นร้ายกาจ.
ดุ : ก. ว่ากล่าวหรือทักท้วงด้วยความโกรธหรือไม่พอใจเพราะมีความผิดหรือ ไม่อยู่ในโอวาทเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า มีอันตรายมาก, มีคนเสีย ชีวิตมาก, เช่น นํ้าปีนี้ดุ ที่ตรงนี้ดุ. ว. มีลักษณะทําให้ดูน่ากลัวหรือน่า เกรงขาม เช่น หน้าดุ ตาดุ; ร้าย, ร้ายกาจ, เหี้ยมโหด, เช่น หมาดุ เสือดุ.
ทมิฬ : [ทะมิน] น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดีย แถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. ว. ดุร้าย, ร้ายกาจ, เช่น ใจทมิฬ ยุคทมิฬ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ. (ป.).
ทารุณ, ทารุณ- : [ทารุนนะ-] ว. ดุร้าย, โหดร้าย, ร้ายกาจ. (ป., ส.).
โหดร้าย : ว. ร้ายกาจ.
โกกเกก : ก. คดโกง, เกะกะระราน, เกกมะเหรก, เช่น มีกิริยาโกกเกกร้ายกาจ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ).
ใจทมิฬ : ว. มีใจดุร้าย, มีใจร้ายกาจ, บางทีก็ใช้คู่กับคำ หินชาติ เป็น ใจทมิฬหินชาติ.
ถอดเขี้ยวถอดเล็บ : (สํา) ก. ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิก แสดงฤทธิ์แสดงอํานาจอีกต่อไป.
สัตถันดร, สัตถันดรกัป : [สัดถันดอน, สัดถันดะระกับ] น. ชื่อกัปหรือกัลป์หนึ่ง ซึ่งถือว่าคน เสื่อมจากศีลธรรมอย่างที่สุด มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่รู้จักญาติพี่น้อง เช่น ห้าขวบมีฆราวาส ใจร้ายกาจโกลี กัลปนั้นมีนามกร ชื่อสัตถันดร พึงมี. (มาลัยคําหลวง). (ป. สตฺถ + อนฺตร).
อัคนิรุทร : [รุด] น. ไฟร้ายกาจ, เพลิงกาฬ.
โฆร : (วิ.) น่ากลัว, น่าสะพรึงกลัว, พิลึก, ไปเร็ว, ร้าย, ร้ายกาจ, ร้ายแรง, กึกก้อง, กล้า ( มาก แข็ง ), ร้อง, กล่าว. ฆรฺ ภิมตฺตสทฺเทสุ, โณ.
จณฺฑ จณฺฑาล : (วิ.) หยาบช้า, เกรี้ยวกราด, ร้ายกาจ, ดุ, ร้าย, ดุร้าย, ขึ้งเคียด, ขึ้ง เคียดนัก, จัด, ฉุนเฉียว, โหด, เหี้ยม, โหดเหี้ยม, จฑิ จณฺฑนโกเปสุ. ศัพท์แรก อ ปัจ. กัจฯ และรูปฯ ลง ก ปัจ. ลบ ก ศัพท์หลังลง อล ปัจ.
พาฬ : (วิ.) กักขละ, กักขฬะ, แข็ง, สาหัส, หยาบช้า, หยาบคาย, ร้าย, ร้ายกาจ, ทารุณ. วิ. อา ปุพฺโพ, ลา อาทาเน, อ, ลสฺส ฬตฺตํ. วา คมเน วา, อโฬ.
อารพฺภติ, อารภติ : ก. ทำ, ปรารภ, เริ่มต้น; พยายาม ; ร้ายกาจ, ประหาร, ต้องโทษ
หลาหล : (วิ.) กล้าและกล้า, แข็งเท่าแข็., ร้ายเท่าร้าย, ร้ายกาจ. หนฺ หึสายํ, อ, นสฺส โล. หล+หล ทีฆะในท่ามกลาง.