ลำไส้ : น. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับ ทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย ดูดซึม อาหารและน้ำ พักและขับถ่ายกากอาหาร, ไส้ ก็เรียก.
คลื่นไส้ : [คฺลื่น-] ก. ปั่นป่วนในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ชวนให้อาเจียน, โดย ปริยายหมายความว่า น่ารังเกียจ, น่าสะอิดสะเอียน.
ปากขอ : น. ชื่อพยาธิตัวกลมขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Ancylostomatidae มีส่วนหัวโค้งงอคล้ายตาขอ ในช่องปากมีฟันแหลมหรือเป็นแผ่น ใช้เกาะเกี่ยวผนังลำไส้ อาศัยดูดกินเลือดมนุษย์และสัตว์ ขนาดเล็ก ที่สุดยาวประมาณ ๕ มิลลิเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวประมาณ ๓๐ มิลลิเมตร เช่น ชนิด Necator americanus, Ancylostoma duodenale อยู่ในลำไส้เล็กของมนุษย์ ชนิด A. braziliense, A. ceylanicum อยู่ในลำไส้เล็กของสุนัขและแมว.
มันเปลว : น. มันที่ติดอยู่ที่พุงและลำไส้.
ลำไส้เล็ก : น. ลำไส้ที่ส่วนต้นต่อกับกระเพาะอาหารส่วนปลายต่อ กับลำไส้ใหญ่ โดยธรรมดามีขนาดเล็กกว่าลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ย่อย และดูดซึมอาหาร.
ลำไส้ใหญ่ : น. ลำไส้ส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็กและไปสุดสิ้นที่ทวารหนัก มีหน้าที่ดูดซึมน้ำจากกากอาหารที่ย่อยและดูดซึมจากลำไส้เล็กแล้ว ซึ่งทำให้กากอาหารงวดเป็นอุจจาระ.
โกฏฐ : ๑. ป., นป. กระเพาะ, ลำไส้, ท้อง; ยุ้ง, ฉาง, ห้องเก็บของ, กุฏิพระ; ช่อง, โพรง, ห้อง;
๒. นป. ต้นโกฐ;
๓. ป. นกเปล้า
โกฏฐพฺภนฺตร : นป. ภายในแห่งท้อง, ลำไส้
กุจฺฉิวิการ : ป. ความพิการแห่งท้อง, ลำไส้พิการ
กุจฺฉิวิตฺถมฺภน : นป. การค้ำจุนท้อง, การช่วยเหลือให้ลำไส้ปฏิบัติงานได้ตามปกติ (การย่อยอาหาร)
โกฏฺฐาสยวาย : (ปุ.) ลมที่อยู่ในไส้, ลมในลำไส้. แปลว่า ลมในไส้ใหญ่ก็ได้.
เสมฺห : (ปุ. นปุ.) ไศลษม์ เสลด เสมหะ ชื่อเมือกที่ออกจากลำคอหรือลำไส้ วิ. สิลิสฺสเต อเ ตฺรติ เสมฺห. สิลิสฺ สิเลสเน, โม, ลิสสฺส โห, วณฺณปริยาโย จ. ส. ศฺลษฺมก. เศลษฺมนฺ.
อนฺตคณฺฐิ : อิต. ปม, ขอดลำไส้, ไส้ทบ